ข้ามไปเนื้อหา

กิจการ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กิจการ 1
สำเนาของ Tischendorf จากปี ค.ศ. 1870 แสดงความในกิจการ 1:1–5 ในภาษาละติน ( สดมภ์ซ้าย) และภาษากรีก (สดมภ์ขวา) ในฉบับลอด (Codex Laudianus) เขียนเมื่อประมาณ ค.ศ. 550
หนังสือกิจการของอัครทูต
หมวดหมู่ประวัติศาสตร์คริสตจักร
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาใหม่
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์5

กิจการ 1 (อังกฤษ: Acts 1) เป็นบทแรกของกิจการของอัครทูตในภาคพันธสัญญาใหม่ของคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ ไม่มีการระบุชื่อผู้เขียนของหนังสือกิจการอัครทูต แต่ธรรมเนียมของศาสนาคริสต์ในยุคต้นยืนยันว่าลูกาเป็นผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เช่นเดียวกับพระวรสารนักบุญลูกา[1] บทแรกของกิจการของอัครทูตทำหน้าที่เป็นส่วนเปลี่ยนผ่านจาก "หนังสือฉบับแรก" (คือพระวรสารนักบุญลูกา) โดยมีบทนำที่เป็นเรื่องเล่า (วรรค 1–5) เล่าซ้ำถึงการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ของพระเยซูคริสต์โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติม (วรรค 6–11) และการประชุมของสาวกของพระเยซู (วรรค 12–26)[2] จนกระทั่งช่วงก่อนเทศกาลเพนเทคอสต์

ต้นฉบับ

[แก้]

ข้อความต้นฉบับเขียนด้วยภาษากรีกคอยนี บทนี้แบ่งออกเป็น 26 วรรค

พยานต้นฉบับ

[แก้]
หน้าต้นของกิจการของอัครทูตใน folio 11 recto ของ Minuscule 223 (Gregory-Aland) จากคริสต์ศตวรรษที่ 14

ต้นฉบับบางส่วนในยุคต้นที่มีเนื้อหาของบทนี้ได้แก่::

การอ้างอิงในพันธสัญญาเดิม

[แก้]

การอ้างอิงในพันธสัญญาใหม่

[แก้]

สถานที่

[แก้]
สถานที่ที่ถูกกล่าวถึงในบทนี้

บทนี้มีการกล่าวถึงสถานที่ดังต่อไปนี้:

คำนำ (1:1–5)

[แก้]

หนังสือกิจการของอัครทูตเริ่มต้นด้วยคำกล่าวเปิดตามประเพณีนิยมที่มีชื่อของผู้รับหนังสือคือเธโอฟีลัส และการย้อนความสั้น ๆ เกี่ยวกับเนื้อหาของ "หนังสือฉบับแรก" (พระวรสารนักบุญลูกา) โดยผู้เขียนเดียวกัน[2]

วรรค 1–3

[แก้]
1ท่านเธโอฟีลัส ในหนังสือฉบับแรกนั้น ข้าพเจ้ากล่าวแล้วถึงทุกสิ่งที่พระเยซูทรงตั้งต้นทำและสั่งสอน 2จนถึงวันที่พระเจ้าทรงรับพระองค์ขึ้นไป หลังจากตรัสสั่งโดยเดชพระวิญญาณบริสุทธิ์กับบรรดาอัครทูตซึ่งพระองค์ทรงเลือกไว้ 3เมื่อพระองค์ทรงทนทุกข์ทรมานแล้ว พระองค์ทรงสำแดงพระองค์กับพวกเขาด้วยหลักฐานหลายอย่าง พิสูจน์ว่าพระองค์ทรงพระชนม์อยู่ ทรงปรากฏแก่เขาทั้งหลายระหว่างสี่สิบวัน และได้ทรงกล่าวถึงเรื่องแผ่นดินของพระเจ้า[5]
  • "หนังสือฉบับแรก" (จากภาษากรีก: πρῶτον λόγον, próton logon[6]) หมายถึงพระวรสารนักบุญลูกา
  • "เธโอฟีลัส" (เขียนด้วยภาษากรีกในรูปคำสัมโพธนาการก): เป็นผู้อ่านที่ผู้เขียนตั้งใจเขียนให้ของหนังสือเล่มนี้ เช่นเดียวกับหนังสือเล่มก่อนหน้า (ลูกา 1:3) อาจเป็น "อุปถัมภก" ผู้ได้รับแจ้งเกี่ยวกับ "เรื่องราวต่างๆ ซึ่งสำเร็จแล้วในท่ามกลางเรา" แต่ยังคงต้องการ "ความมั่นใจ" เพื่อ "รู้ความจริงเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านั้น" (ลูกา 1:1-4).[6]
  • ลูกาบรรยายถึงพระเยูซว่า "ทรงพระชนม์อยู่หลังทรงทนทุกข์ทรมานแล้ว"[7] มีความในภายหลังในกิจการของอัครทูตที่แสดงว่าพระเยซู "ทรงเป็นขึ้นจากตาย" เช่น กิจการ 17:3[8] วิลเลียม กิลสัน ฮัมฟีย์ (William Gilson Humphry) กล่าวถึง "passion" หรือ "พระทรมาน" (กรีก: το παθειν, to pathein) ว่าเป็น "คำศัพท์ศักดิ์สิทธิ์" ที่ใช้ในการแปลวรรคนี้[9] ในขณะที่ E. H. Plumptre ชอบที่จะกล่าวว่า "He had suffered" หรือ "พระองค์ทรงทนทุกข์ทรมาน" เสนอว่าคำแปลที่มีสิทธิอำนาจคือ passion นั้น "เป็นสิ่งที่มุ่งหมายถึงความหมายพิเศษในภายหลัง" ของคำนี้[10]

วรรค 4

[แก้]
ขณะพระองค์ทรงพำนักอยู่กับพวกอัครทูต ทรงกำชับพวกเขาว่า "อย่าออกไปจากกรุงเยรูซาเล็ม แต่ให้รอคอยรับตามพระสัญญาของพระบิดา"[11]

สี่สิบวันหลังพระเยซูทรงคืนพระชนม์ พระองค์ทรงบัญชาเหล่าสาวกระหว่างมื้ออาหารให้ยังอยู่ในเยรูซาเล็มและรอคอยการเสด็จมาของพระวิญญาณบริสุทธิ์ วลีในภาษากรีก: συναλιζομενος (sunalizomenos) แปลเป็น "ทรงร่วมรับประทานอาหารกับพวกเขา" ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ไทย ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย[12] บางคำแปลระบุว่าพระเยซู "ทรงชุ​มนุ​มกั​น" หรือ "ทรงพำนักอยู่กับ" พวกอัครทูต เป็นที่ถกเถียงกันมานานว่า "ทรงร่วมรับประทานอาหาร" เป็นการตีความที่ถูกต้องหรือไม่[13]

พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ (1:6–12)

[แก้]

จากนั้นการมีเมฆมาพาพระเยซูขึ้นไปให้พ้นสายตา แล้ะมีชายสองคนสวมเสื้อขาวบอกกับพวกเขา (เหล่าสาวก) ว่าพระองค์จะเสด็จกลับมาอีก "ในลักษณะเดียวกับที่ท่านทั้งหลายได้เห็นพระองค์เสด็จไปยังสวรรค์นั้น"[14]

วรรค 8

[แก้]
แผนที่ของเยรูซาเล็ม, ยูเดีย, สะมาเรียและพื้นที่ใกล้เคียงในคริสต์ศตวรรษแรก
[พระเยูซูตรัสว่า] "แต่พวกท่านจะได้รับพระราชทานฤทธานุภาพ เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จมาเหนือท่าน และท่านทั้งหลายจะเป็นสักขีพยานของเราในกรุงเยรูซาเล็ม ทั่วแคว้นยูเดีย ทั่วแคว้นสะมาเรีย และจนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก"[15]

ก่อนที่พระเยซูจะเสด็จจากไป พระองค์ทรงมอบหมายให้เหล่าสาวกทำหน้าที่เป็น 'สักขีพยาน' ให้พระองค์ ในสถานที่ต่าง ๆ ที่สามารถอ่านในฐานะ 'แผนงานทางภูมิศาสตร์' ของหนังสือกิจการของอัครทูตทั้งเล่ม:

  • 7 บทแรกเกิดขึ้นในเยรูซาเล็ม
  • บทที่ 8—11 บันทึกการเผยแพร่ข่าวประเสริฐไปยังพื้นที่โดยรอบภายในซีเรีย-ปาเลสไตน์ ('ยูเดียและสะมาเรีย')
  • ตั้งแต่บทที่ 13 เป็นต้นไปเป็นเรื่องราวภารกิจของเปาโลไปยังสถานที่ต่าง ๆ ที่อยู่ไกลออกไป[16]

การเลือกมัทธีอัส (1:13–26)

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Alexander 2007, p. 1028.
  2. 2.0 2.1 Alexander 2007, p. 1030.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Biblical concordances of Acts 1 in the 1611 King James Version". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-23. สืบค้นเมื่อ 2023-12-23.
  4. Kirkpatrick, A. F. (1901). The Book of Psalms: with Introduction and Notes. The Cambridge Bible for Schools and Colleges. Vol. Book IV and V: Psalms XC-CL. Cambridge: At the University Press. p. 839. สืบค้นเมื่อ February 28, 2019.
  5. กิจการ 1:1 -3: THSV11
  6. 6.0 6.1 Johnson 1992, p. 24.
  7. กิจการ 1:3 : THSV11
  8. Meyer, H. A. W. (1880), Meyer's NT Commentary on Acts 1 เก็บถาวร 2024-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, translated from the German sixth edition, accessed 19 February 2024
  9. Nicoll, W. R., Expositor's Greek Testament เก็บถาวร 2024-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน on Acts 1, accessed 19 February 2024
  10. Plumptre, E. (1905), Ellicott's Commentary for English Readers เก็บถาวร 2024-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน on Acts 1, accessed 19 February 2024
  11. กิจการ 1:4 : THSV11
  12. กิจการ 1:4 : TNCV
  13. Bowen, C. R. (1912), The Meaning of συναλιζομενος in Acts 1,4, accessed 20 February 2024
  14. Müller 2016, p. 113-114.
  15. กิจการ 1:8 : THSV11
  16. Alexander 2007, p. 1031.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า
ยอห์น 21
บทของคัมภีร์ไบเบิล
กิจการของอัครทูต
ถัดไป
กิจการ 2