การแข่งม้าในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การแข่งม้าในเชียงใหม่

การแข่งม้าได้เริ่มมีขึ้นในประเทศไทยในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 การพนันม้าแข่งเป็นหนึ่งในการพนันไม่กี่ประเภทที่ถูกกฎหมายในประเทศไทย การแข่งม้าในประเทศไทยได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่ความนิยมได้เริ่มลดน้อยลงหลังจากนั้น

ประวัติ[แก้]

การแข่งม้าครั้งแรกในประเทศไทย (ประเทศสยามในขณะนั้น) มีขึ้นในปี พ.ศ. 2440 หลังจากนั้นไม่นาน ได้มีการสร้างสนามแข่งม้าขึ้นในสโมสรกีฬา เช่น ราชกรีฑาสโมสร (สนามม้าปทุมวัน) ที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2444 และราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนามม้านางเลิ้ง) ที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2459[1]

ในระยะแรก การแข่งม้าได้จำกัดวงอยู่ในหมู่ชาวตะวันตกที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยและชนชั้นสูง การพนันม้าแข่งได้รับการอนุญาต แม้ว่าการพนันในรูปแบบอื่นส่วนใหญ่จะผิดกฎหมายไทย ต่อมา การแข่งม้าได้แพร่หลายเข้าถึงคนทุกชนชั้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 และได้รับความนิยมสูงขึ้นมาก[2] ในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลได้ออกกฎหมายให้มีการแข่งม้าในกรุงเทพมหานครได้ไม่เกินสัปดาห์ละ 1 ครั้ง[3]

ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความนิยมของการแข่งม้าในประเทศไทยได้ลดลงมาก สนามแข่งม้าจำนวนมากในได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง หรือเปลี่ยนเจ้าของ สนามม้านางเลิ้งได้ปิดตัวลงในปี พ.ศ. 2561[4] ปัจจุบัน มีสนามแข่งม้า 6 ใน 8 แห่งในประเทศไทยที่ยังดำเนินการอยู่ นอกจากในกรุงเทพมหานครแล้ว ในต่างจังหวัดยังมีสนามแข่งม้าที่นครราชสีมา อุดรธานี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด และเชียงใหม่ (สนามแข่งม้าที่มหาสารคามได้ปิดไปแล้ว)[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Rattaphong Sornsuphap (2014). การพนันแข่งม้าในประเทศไทย [Gambling on horse racing in Thailand] (PDF). College of Social Innovation, Rangsit University. สืบค้นเมื่อ 8 April 2018.
  2. Warren, James A. (2013). Gambling, the state and society in Thailand, c. 1800-1945. London: Routledge. pp. 81–82. ISBN 9780415536349.
  3. Grossman, Nicholas, บ.ก. (2009). "New directive tightens the reins on horse racing". Chronicle of Thailand : headline news since 1946. Singapore: Editions Didier Millet. p. 42. ISBN 9789814217125.
  4. "With final horse races, Royal Turf Club bids adieu". The Nation. สืบค้นเมื่อ 8 August 2023.