การเสียชีวิตของอะบู บักร์ อัลบัฆดาดี

พิกัด: 36°09′57″N 36°37′39″E / 36.1658°N 36.6274°E / 36.1658; 36.6274
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิบัติการเคย์ลา มูเอลเลอร์
ส่วนหนึ่งของ การแทรกแซงทางทหารนานาชาติต่อต้านไอซิล, การแทรกแซงที่นำโดยอเมริกาในสงครามกลางเมืองของซีเรีย (ปฏิบัติการแก้ปัญหาจากต้นกำเนิด), สงครามกลางเมืองซีเรีย และสงครามต่อต้านการก่อการร้ายทั่วโลก

บริเวณที่ซ่อนของบัฆดาดี ก่อนและหลังการตีโฉบฉวยปฏิบัติการพิเศษสหรัฐ วันที่ 26–27 ตุลาคม ค.ศ. 2019
วันที่26–27 ตุลาคม ค.ศ. 2019
สถานที่36°09′57″N 36°37′39″E / 36.1658°N 36.6274°E / 36.1658; 36.6274
ผล

ประสบความสำเร็จในปฏิบัติการ

คู่สงคราม
 สหรัฐ
สนับสนุนโดย:
 อิรัก[1]
 ตุรกี[2][3]
กองกำลังประชาธิปไตยซีเรีย[4]
รัฐอิสลาม
องค์กรพิทักษ์ศาสนา
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหรัฐ ดอนัลด์ ทรัมป์
สหรัฐ มาร์ก เอสเปอร์
สหรัฐ เคนเนธ เอฟ. แมคเคนซี จูเนียร์
สหรัฐ มาร์ก เอ. มิลลีย์
อะบู บักร์ อัลบัฆดาดี 
อะบู มุฮัมมัด อัลฮาลาบี [6][7]
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

กองบัญชาการปฏิบัติการพิเศษร่วม (JSOC)

ไม่ทราบ
กำลัง
ผู้ปฏิบัติการกองบัญชาการปฏิบัติการพิเศษร่วมประมาณ 100 นาย[8]
เฮลิคอปเตอร์ 8 ลำ
สุนัขทำงานและหุ่นยนต์ทหารไม่ทราบจำนวน
ไม่ทราบ
ความสูญเสีย
ทหาร 2 นายและสุนัขทำงานของทหาร 1 ตัวได้รับบาดเจ็บ[9]

เสียชีวิต 16–21 คน

  • สมาชิกไอซิล 6 คนรวมทั้งบัฆดาดี[10]
  • กลุ่มก่อการร้ายที่ไม่ใช่ไอซิล 10–15 คน[10]
ผู้ก่อการร้ายถูกจับกุม 2 คน[11]
ลูก 2 คนเสียชีวิตหลังจากบัฆดาดีจุดชนวนระเบิดเสื้อกั๊กของเขา[12][13]
บอรีชอตั้งอยู่ในประเทศซีเรีย
บอรีชอ
บอรีชอ
ที่ตั้งของบอรีชอ ในประเทศซีเรีย
แม่แบบ:Campaignbox Syrian Civil War

ในวันที่ 26–27 ตุลาคม ค.ศ. 2019 ฝ่ายสหรัฐได้ดำเนินการปฏิบัติการเคย์ลา มูเอลเลอร์ ซึ่งเป็นปฏิบัติการทางทหารที่ตั้งชื่อตามเคย์ลา มูเอลเลอร์[14] ส่งผลให้อะบู บักร์ อัลบัฆดาดี ซึ่งเป็นผู้นำและผู้ประกาศตนเป็นกาหลิบแห่งองค์การก่อการร้ายรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ISIL) ในขณะนั้นเสียชีวิต ปฏิบัติการดังกล่าวเกิดขึ้นในเขตชานหมู่บ้านบอรีชอ เขตผู้ว่าการอิดลิบ ประเทศซีเรีย ตามคำบอกเล่าของนายพล เคนเนธ "แฟรงก์" แมคเคนซี ผู้บัญชาการกองบัญชาการกลางสหรัฐ (CENTCOM) ที่คุมปฏิบัติการ เผยว่าบัฆดาดีฆ่าตัวตายพร้อมกับลูกสองคนเมื่อเขาจุดชนวนระเบิดเข็มขัดพลีชีพขณะพยายามหลบเลี่ยงกองกำลังสหรัฐในระหว่างการตีโฉบฉวย[10]

ปฏิบัติการของสหรัฐนี้ได้รับการตั้งชื่อตามเคย์ลาร์ มูเอลเลอร์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สงเคราะห์ชาวอเมริกันที่ถูกกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) จับตัวและสังหาร

ภูมิหลัง[แก้]

การตีโฉบฉวยดังกล่าวเกิดขึ้นจากความพยายามของหน่วยสืบราชการลับเพื่อค้นหาผู้นำของไอซิลโดยศูนย์กิจกรรมพิเศษของซีไอเอ[15] หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์รายงานว่าจากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่สหรัฐสองคน ซีไอเอได้รับข้อมูลข่าวกรองดั้งเดิมเกี่ยวกับอะบู บักร์ อัลบัฆดาดี หลังจากการจับกุมภรรยาคนหนึ่งและคนส่งข่าว หลังจากนั้นซีไอเอได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ข่าวกรองอิรักและเคิร์ดในอิรักและซีเรีย[16]

อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนได้รายงานว่าเจ้าหน้าที่อิรักกล่าวว่าการหยุดพักดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากผู้ลักลอบ (ซึ่งเคยลักลอบนำเข้าภรรยาของพี่ชายสองคนของบัฆดาดี รวมทั้งลูกของบัฆดาดีในอดีต), ผู้หญิงคนหนึ่งที่คิดว่าเป็นภรรยาของเขา และหลานชายของบัฆดาดีให้ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางและจุดหมายปลายทาง[7]

เจ้าหน้าที่อิรักยังระบุด้วยว่าการจับกุมมุฮัมมัด อะลี ซายิด อัษษาบี น้องเขยของบัฆดาดี ช่วยพวกเขาในการค้นหาอุโมงค์ทะเลทรายที่นำไปสู่ที่ซ่อนสองแห่ง ซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งของใกล้เมืองอัลกออิม ประเทศอิรัก และด้วยเหตุนี้จึงแทรกซึมเข้าวงแหวนลักลอบเพื่อค้นหาบัฆดาดี[17] เจ้าหน้าที่สหรัฐคนหนึ่งโต้แย้งรายงานของอิรักที่อิรักระบุที่ตั้งที่แน่นอนของบัฆดาดี และระบุว่าปฏิบัติการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเขาปรากฏตัวในสถานที่ที่พวกเขาได้สร้างการรวบรวมข่าวกรองแล้ว[18]

ที่ตั้ง[แก้]

สำนักรอยเตอร์สได้รายงานเจ้าหน้าที่ข่าวกรองอิรักที่ระบุว่าการจับกุมผู้นำกลุ่มรัฐอิสลามหลายคนเป็นกุญแจสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการเรียนรู้เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวและที่หลบซ่อนของอัลบัฆดาดี พวกเขากล่าวว่าอิสมาอีล อัลเอธาวี ซึ่งเชื่อว่าเป็นผู้ช่วยระดับสูงของอัลบัฆดาดี ถูกพบและติดตามโดยผู้ให้ข้อมูลในซีเรีย ได้ถูกจับกุมโดยทางการตุรกี และส่งมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ข่าวกรองอิรัก ซึ่งเขาให้ข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 จากนั้น บรรดาชาวอิรักก็ให้ข้อมูลแก่ซีไอเอ ซึ่งคอยเฝ้าระวังตำแหน่งที่ค้นพบผ่านดาวเทียมและโดรน พวกเขายังกล่าวด้วยว่าใน ค.ศ. 2019 หน่วยข่าวกรองสหรัฐ, ตุรกี และอิรักได้ดำเนินการร่วมกันโดยพวกเขาได้จับกุมผู้นำระดับสูงของไอซิลหลายคน รวมถึงชาวอิรักสี่คนและชาวซีเรียหนึ่งคน ซึ่งเป็นผู้จัดหาสถานที่ที่พวกเขาพบกับบัฆดาดีในซีเรียในซีเรีย หลังจากนั้น พวกเขาตัดสินใจประสานงานกับซีไแเอเพื่อปรับใช้แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมในพื้นที่เหล่านี้ โดยเจ้าหน้าที่อิรักคนหนึ่งตั้งข้อสังเกตว่า "ช่วงเวลาสุดท้ายที่จะมีชีวิตอยู่" ของบัฆดาดีคือตอนที่เขาและครอบครัวออกจากสถานที่ที่พวกเขาอยู่เป็นครั้งแรกในรอบห้าเดือน[2]

การตีโฉบฉวย[แก้]

จากซ้าย: ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐ โรเบิร์ต โอไบรเอน, รองประธานาธิบดี ไมก์ เพนซ์, ประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์, รัฐมนตรีกลาโหม มาร์ก เอสเปอร์, ประธานที่ประชุม มาร์ก มิลลีย์ และนายพลจัตวากองทัพบก มาร์คัส อีแวนส์ เข้าร่วมสังเกตการณ์ปฏิบัติการในห้องสถานการณ์ทำเนียบขาว ณ วันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2019

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2019 ไม่นานหลังจากประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์ และทีมผู้นำพลเรือน รวมทั้งทหารที่สำคัญกลุ่มเล็ก ๆ ของสหรัฐ ได้รวมตัวกันในห้องสถานการณ์ทำเนียบขาวเวลาประมาณ 17:00 น. ของเวลามาตรฐานตะวันออก (23:00 น. ตามเวลาซีเรีย) ผู้ปฏิบัติการนำโดยชุดปฏิบัติการรบพิเศษ – เดลตา ที่ 1 (ส่งทางอากาศ) ของกองบัญชาการปฏิบัติการพิเศษร่วมแห่งสหรัฐ พร้อมด้วยหน่วยจู่โจมกองทัพบกสหรัฐจากกรมทหารจู่โจมที่ 75 ได้ออกจากสนามบินทหารอัลอะซัดในอิรัก[19][5] ด้วยเฮลิคอปเตอร์ทหารแปดลำของสหรัฐ ได้แก่ โบอิง เอ็มเอช-47 ชีนุก และซิกอร์สกี เอ็มเอช-60แอล/เอ็ม แบล็กฮอว์ก[20][21][22] เพื่อดำเนินการตีโฉบฉวยการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศใน "บริเวณที่ซ่อนที่แยกจากกัน" 300 เมตรนอกหมู่บ้านบอรีชอ—ซึ่งอยู่ห่างจากชายแดนตุรกีไปทางใต้ห้ากิโลเมตร (สามไมล์) ในดินแดนที่เป็นศัตรูกับกลุ่มกบฏในเขตผู้ว่าการอิดลิบของซีเรีย—เพื่อสังหารหรือจับกุมบัฆดาดี โดยมีรายงานว่ากองกำลังจู่โจมได้บินผ่านน่านฟ้าที่ตุรกีควบคุม และสังเกตการณ์โดยรัสเซีย ไปยังเป้าหมายและลงจอดหลังจากผ่านไป 70 นาที[5][21][19]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Iraqi intelligence paved way for Baghdadi raid: intelligence official". Reuters. October 27, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2019. สืบค้นเมื่อ October 27, 2019.
  2. 2.0 2.1 "Exclusive: Baghdadi's aide was key to his capture - Iraqi intelligence sources". Reuters. October 28, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 28, 2019. สืบค้นเมื่อ October 28, 2019. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "aide" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  3. "Turkey says shared information with U.S. before Baghdadi operation". Reuters. October 28, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2019. สืบค้นเมื่อ October 29, 2019.
  4. "Kurdish informant provided key intel in operation that killed ISIS leader Abu Bakr al-Baghdadi" (ภาษาอังกฤษ). NBC News. October 28, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 31, 2019. สืบค้นเมื่อ October 28, 2019.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Visual guide to the raid that killed Isis leader Abu Bakr al-Baghdadi". The Guardian. October 31, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 31, 2019. สืบค้นเมื่อ November 1, 2019.
  6. Johnson, Dominic (October 27, 2019). "IS-Chef Abu Bakr al-Baghdadi ist tot: Gestorben 'wie ein Hund'". Die Tageszeitung: Taz.
  7. 7.0 7.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ guard
  8. "Trump confirms ISIS leader Baghdadi is dead after US raid in Syria — 'He died like a coward'". CNBC. October 27, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 31, 2019. สืบค้นเมื่อ October 27, 2019.
  9. Zeke Miller; Deb Riechmann; Robert Burns (October 28, 2019). "Trump says U.S. forces cornered ISIS leader in dead-end tunnel". Star-Tribune. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2019. สืบค้นเมื่อ October 28, 2019.
  10. 10.0 10.1 10.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ npr2019
  11. "Abu Bakr al-Baghdadi death: US military says two men detained". BBC. October 28, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 31, 2019. สืบค้นเมื่อ October 28, 2019.
  12. "Trump says 3 children killed, 2 women died during operation". CNN. October 27, 2019.
  13. "Abu Bakr al-Baghdadi: US releases first images of raid on compound". BBC News. October 31, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 31, 2019. สืบค้นเมื่อ October 31, 2019.
  14. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ theguardian2019
  15. Jackson, David; Subramanian, Courtney; Collins, Michael. "President Trump says ISIS leader Abu Bakr al-Baghdadi is dead after U.S.-led raid in Syria". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2019. สืบค้นเมื่อ October 27, 2019.
  16. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ nyt-tst
  17. "How Baghdadi was caught after years in hiding, and who in Isis will take over". The Independent. October 28, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2019. สืบค้นเมื่อ October 29, 2019.
  18. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ fp-bis
  19. 19.0 19.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ wapo-isdi
  20. Mizokami, Kyle (October 28, 2019). "The Helicopters That Made the U.S. Army's ISIS Raid Possible". Popular Mechanics. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2019. สืบค้นเมื่อ October 31, 2019.
  21. 21.0 21.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Stripes
  22. "Footage shows moment US troops storm ISIS leader's compound". Evening Standard (ภาษาอังกฤษ). October 30, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 31, 2019. สืบค้นเมื่อ October 31, 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]