จานิสซารี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จานิสซารี
Agha of the Janissaries and a Bölük of the Janissaries โดย Lambert Wyts, ค.ศ. 1573
ประจำการค.ศ. 1363–1826 (ค.ศ. 1830 ในแอลเจียร์)
ขึ้นต่อ จักรวรรดิออตโตมัน
รูปแบบทหารราบ
บทบาททหารประจำการอาชีพ
กำลังรบ1,000–1,400 นาย[1]
7,841 นาย (1484),[2]
13,599 นาย (1574)[2]
37,627 นาย (1609)[2]
ขึ้นกับกองทัพออตโตมัน
กองทหารรักษาการณ์อาเดรียโนเปิล (เอดีร์แน)
คอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล)
สีหน่วยน้ำเงิน, แดง และเขียว
ยุทธภัณฑ์หลายแบบ
ปฏิบัติการสำคัญยุทธการที่คอซอวอ, ยุทธการที่ครีวาปาลันกา, ยุทธการที่นิโคโปลิส, ยุทธการที่อังการา, ยุทธการที่วาร์นา, ยุทธการที่ชอลโดรอน, ยุทธการที่โมฮาช, การล้อมเวียนนา, การล้อมมอลตา และอื่น ๆ
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการอากาแห่งจานิสซารี

จานิสซารี (อังกฤษ: Janissary; ตุรกีออตโตมัน: يڭيچرى, อักษรโรมัน: yeŋiçeri, [jeniˈtʃeɾi], แปลว่า ทหารใหม่) เป็นสมาชิกหน่วยทหารราบชั้นสูงที่อยู่ในกองทหารรักษาพระองค์ของราชวงศ์ออตโตมัน และเป็นกองทัพประจำการสมัยใหม่หน่วยแรกในยุโรป[3][4][5] กองกำลังน่าจะก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยสุลต่านออร์ฮานที่ 1 (ค.ศ. 1324–1362)[3] ในสมัยแกรนด์วิเซียร์อาลาเอดดีน

จานิสซารีเริ่มต้นขึ้นในฐานะกองกำลังชั้นยอดที่ผ่านการคัดเลือกตามระบบเดฟชีร์แม (devşirme) ของการเกณฑ์เด็ก ซึ่งชาวแอลเบเนีย, อาร์มีเนีย, บอสเนีย, บัลแกเรีย, โครเอเชีย, กรีก และเซิร์บถูกนำตัวไป, เรียกเกณฑ์, บังคับขริบหนังหุ้มปลาย และเข้ารับอิสลาม แล้วจดทะเบียนเข้ากับกองทัพออตโตมัน[6] พวกเขามีชื่อเสียงจากความสามัคคีที่ประสานด้วยระเบียบวินัยที่เข้มงวด พวกเขาได้รับเงินเดือน ซึ่งต่างจากทาสทั่วไป ห้ามแต่งงานก่อนอายุ 40 ปีหรือมีส่วนร่วมในการค้าขาย และคาดหวังให้จงรักภักดีต่อสุลต่านอย่างเต็มที่[7] ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องจากการขยายตัวอย่างมากของกองทัพประจำการออตโตมัน ทำให้มีการผ่อนคลายนโยบายการเกณฑ์ของกองทัพในขั้นต้นที่เข้มงวด พลเมืองเข้าร่วมในนี้เพื่อได้รับผลประโยชน์จากสถานะทางเศรษฐกิจสังคม ทำให้ในภายหลัง กองทัพนี้ค่อย ๆ สูญเสียความเป็นทหาร ภายใต้กระบวนการที่มีชื่อเรียกว่า 'การทำให้เป็นพลเมือง' (civilianization)[8]

ในช่วงแรก จานิสซารีเป็นทหารที่น่าเกรงขาม แต่ในขณะที่ยุโรปตะวันตกพัฒนาเทคโนโลยีองค์กรทหารให้ทันสมัย จานิสซารีกลายเป็นกองกำลังโต้ตอบที่ต้านศัตรูในทุกรูปแบบ อำนาจทางทหารของออตโตมันเริ่มล้าสมัยไปเรื่อย ๆ แต่เมื่อจานิสซารีรู้สึกว่าสิทธิพิเศษของตนถูกคุกคาม หรือกลุ่มคนภายนอกต้องการที่จะทำให้ตนทันสมัย หรืออาจถูกกีดกันโดยกองทหารม้า พวกเขาก็จะก่อกบฏ ในเวลาที่จานิสซารีถูกปราบปราม ก็สายเกินไปแล้วที่กองทัพออตโตมันจะเดินหน้าตามทันพวกตะวันตก[9] กองกำลังนี้ถูกยุบในรัชสมัยสุลต่านมาห์มุดที่ 2 ใน ค.ศ. 1826 ในเหตุการณ์ที่เป็นมงคล (Auspicious Incident) ซึ่งทำให้จานิสซารีถูกประหารชีวิต 6,000 นายหรือมากกว่านั้น[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. Nicolle, pp. 9–10.
  2. 2.0 2.1 2.2 Ágoston, Gábor (2014). "Firearms and Military Adaptation: The Ottomans and the European Military Revolution, 1450–1800". Journal of World History. 25: 113. doi:10.1353/jwh.2014.0005. S2CID 143042353.
  3. 3.0 3.1 Ágoston, Gábor (2017). "Janissaries". ใน Fleet, Kate; Krämer, Gudrun; Matringe, Denis; Nawas, John; Rowson, Everett K. (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam, THREE. Vol. 2. Leiden: Brill Publishers. doi:10.1163/1573-3912_ei3_COM_30927. ISBN 978-90-04-33571-4. ISSN 1873-9830.
  4. Balfour & Kinross 1977, p. 52.
  5. Goodwin, Jason (1998). Lords of the Horizons: A History of the Ottoman Empire. New York: H. Holt, 59,179–181. ISBN 0-8050-4081-1.
  6. The New Encyclopedia of Islam, ed. Cyril Glassé, Rowman & Littlefield, 2008, p.129
  7. Cleveland, Bunton, William, Martin (2013). A History of the Modern Middle East. Westview Press. p. 43. ISBN 978-0-8133-4833-9.
  8. Ágoston, Gábor (2014). "Firearms and Military Adaptation: The Ottomans and the European Military Revolution, 1450–1800". Journal of World History. 25: 119–20. doi:10.1353/jwh.2014.0005. S2CID 143042353.
  9. Peter Mansfield, A History of the Middle East (1991) p. 31
  10. Balfour & Kinross 1977, p. 456-457.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Nicolle, David (1983). Armies of the Ottoman Turks 1300-1774. Osprey Publishing.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]