ข้ามไปเนื้อหา

การลงประชามติว่าด้วยสมาชิกภาพสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2559

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การลงประชามติว่าด้วยสมาชิกภาพในสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร
สหราชอาณาจักรควรจะยังคงเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปหรือถอนตัวจากสหภาพยุโรป ?[1]
บัตรลงคะแนนในวันออกเสียงประชามติ
ผลลัพธ์
ผล
คะแนน %
ถอนตัว 17,410,742 51.89%
คงอยู่ 16,141,241 48.11%
คะแนนสมบูรณ์ 33,551,983 99.92%
คะแนนไม่สมบูรณ์หรือคะแนนเปล่า 26,033 0.08%
คะแนนทั้งหมด 33,578,016 100.00%
ผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิ/ผู้ออกมาใช้สิทธิ 46,501,241 72.21%

ผลคะแนนแบ่งตามcounty

การลงประชามติว่าด้วยสมาชิกภาพในสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือรู้จักกันในสหราชอาณาจักรว่า การลงประชามติอียู (EU referendum) คือการลงประชามติที่กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559[2][3] โดยมีการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเป็นหัวข้อของแนวคิดในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ประเทศได้เข้าร่วมกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ตั้งแต่ พ.ศ. 2516

ตามที่พรรคอนุรักษนิยมแถลงการณ์การส่งร่างกฎหมายให้คณะกรรมาธิการพิจารณากฎหมายพื้นฐาน สำหรับการลงประชามติซึ่งได้รับการรับรองโดยรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรตามกฎการลงประชามติสหภาพยุโรป พ.ศ. 2558 โดยเป็นครั้งที่สองที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งชาวอังกฤษถูกร้องขอให้ลงคะแนนเสียงในเรื่องการเป็นสมาชิกของบริเตน โดยการลงประชามติครั้งแรกถูกจัดขึ้นในปี พ.ศ. 2518 โดยผลในครั้งนั้นคือมีผลคะแนนให้เป็นสมาชิกต่อไป 67%[4]

การลงคะแนน เขตลงคะแนนและการนับคะแนน

[แก้]
สิบสองพื้นที่ของสหราชอาณาจักรจะถูกใช้ในการรวมผลการลงคะแนนท้องถิ่น

การลงคะแนนจะถูกดำเนินการในตั้งแต่เวลา 07:00 BST จนถึงเวลา 22:00 BST (06:00 BST ถึง 21:00 BST ในยิบรอลตาร์) หรือตรงกับเวลา 13:00 น. ถึง 04:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย มีหน่วยลงคะแนน 41,000 หน่วย ทั่วทั้ง 382 เขตลงคะแนน ซึ่งแต่ละหน่วยลงคะแนนจำกัดผู้ลงคะแนนสูงสุด 2,500 คน[5]

ประเทศ เขตนับและเขตลงคะแนน
สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร ประกาศออกเสียงประชามติ;
12 ภูมิภาคการนับ;
382 เขตลงคะแนน
รัฐสมาชิก เขตนับและเขตลงคะแนน
อังกฤษ อังกฤษ 9 ภูมิภาคการนับ;
326 เขตลงคะแนน
ไอร์แลนด์เหนือ ไอร์แลนด์เหนือ National count และหนึ่งเขตลงคะแนน
18 ท้องถิ่น
สกอตแลนด์ สก็อตแลนด์ National count;
32 เขตลงคะแนน
เวลส์ เวลส์ National count;
22 เขตลงคะแนน
ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร เขตลงคะแนน
ยิบรอลตาร์ ยิบรอลตาร์ หนึ่งเขตลงคะแนน
(ภูมิภาคการนับ: ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ)

ผลการลงประชามติ

[แก้]

ในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งของสหราชอาณาจักร เจนนี วัตสัน จึงเป็นประธานเจ้าหน้าที่นับคะแนน (Chief Counting Officer) ผู้ซึ่งจะทำหน้าที่ประกาศผลคะแนนสุดท้ายของการลงประชามติ (รวมทั้ง 12 ภูมิภาคการนับจากทั้งสหราชอาณาจักรและยิบรอลตาร์) ในเมืองแมนเชสเตอร์ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559[5]

การลงประชามติว่าด้วยสมาชิกภาพในสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2559
ทางเลือก คะแนนเสียง %
Referendum failed ไม่เห็นชอบ 17,410,742 51.9%
เห็นชอบ 16,141,241 48.1%
บัตรดี 33,551,983 99.92%
บัตรเสียหรือไม่ลงคะแนน 26,033 0.08%
คะแนนเสียงทั้งหมด 33,578,016 100.00%
อัตราการลงคะแนน 72.2%
จำนวนผู้มีสิทธิ์ลงคะแนน 46,501,241
แหล่งอ้างอิง: [6][7]
แถบผลคะแนนจากการลงประชามติ
ถอนตัว :
51.9 (17,410,742)
คงอยู่ :
48.1 (16,141,241)

ผลคะแนนตามภูมิภาค

[แก้]
  ถอนตัว
  คงอยู่
ภูมิภาค จำนวนผู้ไปใช้
สิทธิออกเสียง
คะแนนเสียง สัดส่วนคะแนนเสียง
คงอยู่ ถอนตัว คงอยู่ ถอนตัว
  อังกฤษ (และยิบรอลตาร์) 73.0% 13,266,996 15,188,406 46.62% 53.38%
  อีสต์มิดแลนส์ 74.2% 1,033,036 1,475,479 41.18% 58.82%
  ภาคตะวันออกของอังกฤษ 75.7% 1,448,616 1,880,367 43.52% 56.48%
  ลอนดอน 69.7% 2,263,519 1,513,232 59.93% 40.07%
  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ 69.3% 562,595 778,103 41.96% 58.04%
  ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษ 70% 1,699,020 1,966,925 46.35% 53.65%
  ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ 76.8% 2,391,718 2,567,965 48.22% 51.78%
  ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษและยิบรอลตาร์ 76.7% 1,503,019 1,669,711 47.37% 52.63%
  เวสต์มิดแลนส์ 72% 1,207,175 1,755,687 40.74% 59.26%
  ยอร์กเชอร์และฮัมเบอร์ 70.7% 1,158,298 1,580,937 42.29% 57.71%
  ไอร์แลนด์เหนือ 62.7% 440,707 349,442 55.78% 44.22%
  สกอตแลนด์ 67.2% 1,661,191 1,018,322 62.00% 38.00%
  เวลส์ 71.7% 772,347 854,572 47.47% 52.53%

การตอบสนอง

[แก้]

เอกราชของสกอตแลนด์

[แก้]

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559 รัฐบาลสกอตแลนด์ ได้ออกแถลงการณ์ว่าได้มีการเตรียมการที่มี "แนวโน้มสูง" ที่จะมีการทำการลงประชามติครั้งที่สอง ในเอกราชจากสหราชอาณาจักร[8] มุขมนตรีสกอตแลนด์ นิโคลา สเตอร์เจียน กล่าวว่า "เห็นได้อย่างชัดเจน ว่าประชาชนชาวสกอตแลนด์มองอนาคตของพวกเขา เป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป" และสกอตแลนด์มี "คำพูดเด็ดขาด" ด้วย "ความแข็งแกร่งที่ชัดเจน" ในการลงคะแนนให้คงอยู่ในสหภาพยุโรป[9] ขณะที่อเล็กซ์ ซัลมอนด์ อดีตมุขมนตรีกล่าวว่าการลงคะแนนครั้งนี้ "มีนัยสำคัญและการเปลี่ยนแปลงความคิด" ในจุดยืนของสก็อตแลนด์ภายในสหราชอาณาจักร[10]

โทนี แบลร์ กล่าวว่าเขาคิดว่าสกอตแลนด์จะถอนตัวจากสหราชอาณาจักร ถ้าสหราชอาณาจักรถอนตัวจากสหภาพยุโรป[11]

แมนเฟรด เวเบอร์ ผู้นำกลุ่มพรรคประชาชนยุโรป และพันธมิตรสำคัญของอังเกลา แมร์เคิล กล่าวว่าสกอตแลนด์ต้องการการต้อนรับที่จะคงอยู่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป[12]

การสร้างเอกภาพไอร์แลนด์

[แก้]

การลงประชามติในเอกราชได้รับการสนับสนุนโดยพรรคซีนน์ไฟน์ของไอร์แลนด์เหนือ[13] มาร์ติน แมกกินเนสส์ รองมุขมนตรีไอร์แลนด์เหนือ เรียกร้องการลงประชามติบนเอกภาพของไอริช ตามที่สหราชอาณาจักรลงคะแนนเพื่อถอนตัวจากสหภาพยุโรป[14]

การพิพาทเหนือยิบรอลตาร์ของสเปน–สหราชอาณาจักร

[แก้]

โคเซ-การ์ซีอา มาร์กาโย อี มาร์ฟิล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสเปนกล่าวว่า "มันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สมบูรณ์ของภาพรวมที่เปิดขึ้นความเป็นไปได้ใหม่ในยิบรอลตาร์ ซึ่งไม่ได้เห็นมานานมากแล้ว ฉันหวังว่าวิธีการการร่วมอำนาจอธิปไตยจะชัดเจนยิ่งขึ้น ธงชาติสเปนบนเดอะร็อก (ยิบรอลตาร์) จะเป็นไปได้มากกว่าแต่ก่อน"[15]

อย่างไรก็ตาม เฟเบียน ปิการ์โด มุขมนตรีของยิบรอลตาร์เมินเฉยต่อความคิดเห็นของการ์ซีอา มาร์กาโยทันที โดยระบุว่า "จะไม่มีการพูดคุย รวมทั้งการพูดคุยเกี่ยวกับการพูดคุยใด ๆ ที่เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของยิบรอลตาร์" และขอให้พลเมืองยิบรอลตาร์ "ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นต่อเสียงรบกวนเหล่านั้น"[16]

สถานะของลอนดอน

[แก้]

ลอนดอนลงคะแนนให้คงอยู่ในสหภาพยุโรป และนิโคลา สเตอร์เจียน มุขมนตรีของสก็อตแลนด์ กล่าวว่าเธอได้พูดคุยกับซาดิค ข่าน นายกเทศมนตรีเมืองลอนดอน เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการคงอยู่ในสหภาพยุโรปและกล่าวว่าเขาได้แบ่งปันความยุติธรรมนั้นสำหรับลอนดอน คำร้องให้ข่านประกาศให้ลอนดอนเป็นเอกราชจากสหราชอาณาจักร ได้รับลายเซ็นนับหมื่น[17][18][19][20][21][22]

ผู้สนับสนุนเอกราชของลอนดอนอ้างว่าจำนวนประชากรของลอนดอน วัฒนธรรม และค่าความแตกต่างจากส่วนที่เหลือของอังกฤษ และนั่นควรให้เป็นนครรัฐ คล้ายสิงคโปร์ ขณะที่ยังคงอยู่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป[23][24][25][26][27]

สเปนเซอร์ลิเวอร์มอร์ บารอนลิเวอร์มอร์ กล่าวว่าเอกราชของลอนดอน "ควรถึงจุดมุ่งหมาย" ด้วยเหตุผลที่นครรัฐลอนดอนจะมีจีดีพีเป็นสองเท่าของสิงคโปร์[28]

ผู้นำทางการเมือง

[แก้]

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน เดวิด แคเมอรอน ผู้นำพรรคอนุรักษนิยมและนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งในเดือนตุลาคม แม้ว่าฝ่ายสนับสนุนพรรคอนุรักษนิยมทั้งสองข้างของการโต้วาทีการลงประชามติ กระตุ้นให้เขาอยู่ในตำแหน่งต่อไป อย่างไรก็ตามไนเจล เฟเรจ ผู้นำพรรคชาตินิยม เรียกร้องให้แคเมอรอนออกจากตำแหน่ง "ในทันที"[29]

เจเรมี คอร์บิน ผู้นำพรรคแรงงาน ต้องเผชิญกับคำวิจารณ์ที่เพิ่มขึ้นจากภายในพรรค ซึ่งมีการสนับสนุนให้คงอยู่ภายในสหภาพยุโรปสำหรับการรณรงค์พูร์แคมเปญ[30] และมีสองสมาชิกพรรคแรงงานลงคะแนนไม่ไว้วางใจคอร์บินในวันที่ 24 มิถุนายน[31]

อ้างอิง

[แก้]
  1. แปลจากต้นฉบับ: Should the United Kingdom remain a member of the European Union or leave the European Union?
  2. "European Union Referendum Act 2015". legislation.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 14 May 2016.
  3. Rowena Mason; Nicholas Watt; Ian Traynor; Jennifer Rankin (20 February 2016). "EU referendum to take place on 23 June, David Cameron confirms". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2 February 2016.
  4. Adrian Williamson, The Case for Brexit: Lessons from the 1960s and 1970s, History and Policy (2015).
  5. 5.0 5.1 European Referendum Act 2015 Section 11.
  6. "EU Referendum Results - BBC News". BBC News.
  7. "EU Referendum Results". election.news.sky.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-24. สืบค้นเมื่อ 2016-06-24.
  8. "'Brexit' Triggers New Bid for Scottish Independence".
  9. Dickie, Mure (24 June 2016). "Scots' backing for Remain raises threat of union's demise" – โดยทาง Financial Times.
  10. Carrell, Severin (24 June 2016). "Nicola Sturgeon prepares for second Scottish independence poll".
  11. "Tony Blair: 'Brexit will lead to Scottish independence' - BBC News".
  12. Membership, FT. "Fast FT".
  13. "Brexit after EU referendum: UK to leave EU and David Cameron quits".
  14. "EU referendum result: Sinn Fein's Martin McGuinness calls for border poll on united Ireland after Brexit". The Independent. 24 June 2016.
  15. "Spain to seek co-sovereignty on Gibraltar after Brexit". Reuters. 24 June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-28. สืบค้นเมื่อ 2016-06-24.
  16. "Gibraltar stands defiant against Spain after Brexit vote". The Local. 24 June 2016. สืบค้นเมื่อ 24 June 2016.
  17. "Petition for London independence signed by thousands after Brexit vote".
  18. "Second Scotland Referendum 'Highly Likely'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-24. สืบค้นเมื่อ 2016-06-24.
  19. Hedges-Stocks, Zoah. "Londoners call for independence from UK". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-25. สืบค้นเมื่อ 2016-06-24.
  20. "It's time for London to leave the UK". 24 June 2016.
  21. "Thousands call on Sadiq Khan to declare London's independence". 24 June 2016.
  22. "'Londependence' petition calls for London to join the EU on its own". 24 June 2016.
  23. "Londoners want their own independence after Brexit result".
  24. Metro.co.uk, Nicole Morley for (24 June 2016). "70,000 sign petition for London to become independent and rejoin the EU".
  25. "One expert argues that following Brexit, London needs to take back control".
  26. Sullivan, Conor (24 June 2016). "Londoners dismayed at UK's European divorce" – โดยทาง Financial Times.
  27. "Petition organiser could stage 'Londependence' rally after Brexit vote". 24 June 2016.
  28. "London Independence Goes Beyond A Twitter Joke With Politicians Seriously Discussing It". 24 June 2016.
  29. "Brexit: David Cameron to quit after UK votes to leave EU". BBC New. 24 June 2015. สืบค้นเมื่อ 24 June 2016.
  30. "Labour 'Out' Votes Heap Pressure On Corbyn". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-27. สืบค้นเมื่อ 2016-06-24.
  31. http://www.bbc.com/news/live/uk-politics-36570120 at 13:00