การบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การรุกรานอิรัก พ.ศ. 2546)
การบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546
ส่วนหนึ่งของ สงครามอิรัก

จากซ้ายไปขวา: เหล่านาวิกโยธินสหรัฐ; ยานพาหนะทหารสหรัฐอยู่ในพายุทราย; ทหารสหรัฐดูสิ่งก่อสร้างที่ถูกเผาที่ซะมาวะฮ์; ประชาชนชาวอิรักฉลองในช่วงที่อนุสาวรีย์ซัดดัม ฮุสเซนถูกโค่น
วันที่20 มีนาคม – 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2003
(1 เดือน 1 สัปดาห์ 4 วัน)
สถานที่
ประเทศอิรัก
ผล

ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ

คู่สงคราม

ฝ่ายสัมพันธมิตร:
 สหรัฐ
 สหราชอาณาจักร
 ออสเตรเลีย
 โปแลนด์


กลุ่มทหารจาก:
Iraqi National Congress[1][2][3]
Peshmerga

 อิรัก

ขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่าน (หยุดยิงในค.ศ. 2003)[6]


อันศอรอัลอิสลาม
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

สหรัฐ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช
สหรัฐ ดิก ชีนีย์
สหรัฐ ดอนัลด์ รัมส์เฟลด์
สหรัฐ ทอมมี แฟรนก์ส
สหราชอาณาจักร โทนี แบลร์
สหราชอาณาจักร ไบรอัน เบอร์ริดจ์
ออสเตรเลีย จอห์น โฮเวิร์ด
ออสเตรเลีย ปีเตอร์ คอสโกรฟ
โปแลนด์ อาแล็กซันแดร์ กฟัชแญฟสกี

มะซูด บัรซานี
บาบาเกอร์ เชากัต บี. เซบารี
ญะลาล ตะละบานี
โคสรัต ระซูล อะลี
อะฮ์เหม็ด ญะละบี
อิรัก ซัดดัม ฮุสเซน
อิรัก กุซ็อย ฮุสเซน
อิรัก อุดัย ฮุสเซน
อิรัก อะบิด ฮามิด มะฮ์มูด
อิรัก อะลี ฮะซัน อัลมะญีด
อิรัก บัรซาน อิบรอฮีม อัลติกรีกี
อิรัก อิซซัต อิบรอฮิม อัดเดารี
อิรัก ราอัด อัลฮะมะดานี
อิรัก ฏอฮา ยัสซิน เราะมะฎอน
อิรัก ฏอริก อะซีซ
กำลัง

 สหรัฐ: 192,000 คน[8][9][10]
 สหราชอาณาจักร: ทหาร 45,000 นาย

 ออสเตรเลีย: ทหาร 2,000 นาย
 โปแลนด์: กองกำลังพิเศษ 194 นาย[11]

เคอร์ดิสถานอิรัก Peshmerga: 70,000[12]

Iraqi National Congress: 620

Iraqi Armed Forces: ทำงาน 538,000 นาย
สำรอง 650,000 นาย[13][14]
รถถัง 2,000 คัน
APCs และ IFVs 3,700 คัน
ทหารปืนใหญ่ 2,300 นาย
หน่วยจู่โจมอากาศยาน 300 นาย[15]
 Special Iraqi Republican Guard: 12,000
 Iraqi Republican Guard: 70,000–75,000 นาย
 ฟิดายีนซัดดัม: 30,000
อาสาสมัครชาวอาหรับ: 6,000 นาย[16]


Mehdi Army: 1600–2800
ความสูญเสีย

สัมพันธมิตร: ถูกฆ่า 214 นาย[17]
บาดเจ็บ 606 นาย (สหรัฐ)[18]
Peshmerga:
ถูกฆ่า 24+ นาย[19]

รวม:
ตาย 238 นาย, บาดเจ็บ 1,000+ นาย

โดยประมาณ: 30,000 นาย[ต้องการอ้างอิง]


7,600–11,000 นาย (ผลสำรวจและรายงานเป็น 4,895–6,370 นาย)[20][21]


13,500–45,000 นาย (หน่วยทหารรอบแบกแดด)[22]
รวม: ถูกฆ่า 7,600–8,000 นาย

ประชาชนในอิรักโดยประมาณ:
7,269 คน (จากการนับศพ)[23][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]

3,200–4,300 (จากรายงาน)[20]

การบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546 (19 มีนาคม – 1 พฤษภาคม 2546) เป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งที่เรียกว่า สงครามอิรัก หรือปฏิบัติการเสรีภาพอิรัก ซึ่งกำลังผสมอันประกอบด้วยทหารจากสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลียและโปแลนด์บุกครองอิรักและโค่นรัฐบาลซัดดัม ฮุสเซนภายในปฏิบัติการรบหลักนาน 21 วัน ระยะบุกครองประกอบด้วยสงครามรบตามแบบซึ่งจบลงด้วยการยึดครองกรุงแบกแดด เมืองหลวงของอิรัก โดยกำลังผสม

สี่ประเทศที่สนับสนุนกำลังพลระหว่างระยะบุกครองเริ่มต้น ซึ่งกินเวลาตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคมถึง 9 เมษายน 2546 ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา (148,000), สหราชอาณาจักร (45,000), ออสเตรเลีย (2,000) และโปแลนด์ (194) อีก 36 ประเทศเข้าร่วมในผลตามหลัง ในการเตรียมการบุกครอง ทหารสหรัฐ 100,000 นายประชุมกันในคูเวตจนถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์[24] สหรัฐอเมริกาเป็นกำลังบุกครองส่วนใหญ่ แต่ยังได้รับการสนับสนุนจากทหารนอกประจำการชาวเคิร์ดในเคอร์ดิสถานอิรัก

ประธานาธิบดีสหรัฐ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช และนายกรัฐมนตรีอังกฤษ โทนี แบลร์ กล่าวถึงเหตุผลสำหรับการบุกครองว่า "เพื่อปลดอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงของอิรัก, เพื่อยุติการสนับสนุนการก่อการร้ายของซัดดัม ฮุสเซนตามที่มีการกล่าวหา และเพื่อปลดปล่อยชาวอิรัก"[25] อย่างไรก็ดี อดีตหัวหน้าที่ปรึกษาต่อต้านการก่อการร้ายต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติ ริชาร์ด เอ. คลาร์กเชื่อว่าบุชเข้าดำรงตำแหน่งพร้อมแผนการบุกครองอิรัก[26] ส่วนแบลร์ระบุว่า สาเหตุคือ ความล้มเหลวของอิรักในการฉวย "โอกาสสุดท้าย" ในการปลดอาวุธนิวเคลียร์ เคมีและชีวภาพของตนเองตามที่ถูกกล่าวหา ซึ่งทางการสหรัฐและอังกฤษเรียกว่าเป็น ภัยคุกคามทันด่วนและทนไม่ได้ต่อสันติภาพโลก[27] ในปี 2548 หน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกาออกรายงานระบุว่า ไม่พบอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงในอิรัก[28]

ในเดือนมกราคม 2546 การสำรวจความคิดเห็นของซีบีเอสพบว่า ชาวอเมริกัน 64% สนับสนุนการปฏิบัติทางทหารต่ออิรัก อย่างไรก็ดี 63% ต้องการให้บุชหาทางออกทางการทูตมากกว่าการทำสงคราม และ 62% เชื่อว่าภัยคุกคามอันเนื่องมาจากการก่อการร้ายต่อสหรัฐจะเพิ่มขึ้นเพราะสงคราม[29] การบุกครองอิรักได้รับการคัดค้านอย่างแข็งขันจากพันธมิตรดั้งเดิมของสหรัฐ รวมทั้งรัฐบาลฝรั่งเศส เยอรมนี นิวซีแลนด์และแคนาดา[30][31][32] ผู้นำของชาติเหล่านี้แย้งว่าไม่มีหลักฐานอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงในอิรัก และการบุกครองอิรักจะไม่ได้รับความชอบธรรมในบริบทของรายงานคณะตรวจสอบอาวุธทั้งในส่วนของคณะผู้ตรวจสอบอาวุธเคมี ชีวภาพและพาหะนำส่งของสหประชาชาติ (UNMOVIC) เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2546 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ หนึ่งเดือนก่อนการบุกครอง มีการประท้วงทั่วโลกต่อต้านสงครามอิรัก รวมทั้งการชุมนุมกว่าสามล้านคนในกรุงโรม ซึ่งบันทึกสถิติโลกกินเนสส์บันทึกไว้ว่าเป็นการชุมนุมต่อต้านสงครามที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมี[33] นักวิชาการฝรั่งเศส Dominique Reynié ระบุว่า ระหว่างวันที่ 3 มกราคมถึง 12 เมษายน 2546 มีประชาชน 36 ล้านคนทั่วโลกเข้าร่วมการประท้วงต่อต้านสงครามอิรักเกือบ 3,000 ครั้ง[34]

ก่อนหน้าการบุกครองมีการโจมตีทางอากาศต่อทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงแบกแดดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2546 วันรุ่งขึ้น กำลังผสมได้เริ่มบุกครองเข้าสู่จังหวัดบาสราจากจุดระดมพลใกล้กับพรมแดนอิรัก-คูเวต ขณะที่กองกำลังพิเศษโจมตีแบบสะเทินน้ำสะเทินบกจากอ่าวเปอร์เซียเพื่อยึดบาสรา และบ่อปิโตรเลียมที่อยู่โดยรอบ กองทัพบุกครองหลักเคลื่อนเข้าไปในอิรักตอนใต้ ยึดครองพื้นที่นั้นและรบในยุทธการนาซิริยาห์เมื่อวันที่ 23 มีนาคม การโจมตีทางอากาศขนานใหญ่ทั่วประเทศและต่อระบบบัญชาการและควบคุมของอิรักทำให้กองทัพฝ่ายป้องกันโกลาหลและไม่อาจต้านทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ วันที่ 26 มีนาคม กองพลน้อยพลร่มที่ 173 โดดร่มลงใกล้กับนครคีร์คูกทางเหนือ ซึ่งพวกเขาเข้าร่วมกับกำลังกบฏชาวเคิร์ดและดำเนินการปฏิบัติหลายครั้งต่อกองทัพอิรักเพื่อยึดครองส่วนเหนือของประเทศ

ทัพผสมหลักเคลื่อนตัวต่อไปยังใจกลางอิรักและพบกับการต้านทานเพียงเล็กน้อย ทหารอิรักส่วนใหญ่พ่ายแพ้อย่างรวดเร็วและกรุงแบกแดดถูกยึดครองเมื่อวันที่ 9 เมษายน ปฏิบัติการอื่นเกิดขึ้นต่อวงล้อมกองทัพอิรักรวมทั้งการยึดคีร์คูกเมื่อวันที่ 10 เมษายน และการโจมตีและยึดทิกริตเมื่อวันที่ 15 เมษายน ประธานาธิบดีอิรัก ซัดดัม ฮุสเซน และผู้นำส่วนกลางหลบซ่อนตัวหลังกำลังผสมสำเร็จการยึดครองประเทศ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม มีการประกาศยุติปฏิบัติการรบหลัก อันเป็นการยุติของขั้นบุกครองและการเริ่มต้นของขั้นการยึดครองทางทหาร จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 มีรายงานว่า ยอดพลเรือนเสียชีวิตอยู่ที่ 36,533 คน และการศึกษาดังกล่าวศึกษาเฉพาะพื้นที่อิรักส่วนที่มิใช่ของชาวเคิร์ด[35]

อ้างอิง[แก้]

  1. Graham, Bradley (7 เมษายน 2003). "U.S. Airlifts Iraqi Exile Force For Duties Near Nasiriyah". Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 สิงหาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2009.
  2. John Pike (14 March 2003). "Free Iraqi Forces Committed to Democracy, Rule of Law – DefenseLink". Globalsecurity.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2009. สืบค้นเมื่อ 13 September 2009.
  3. "Deploying the Free Iraqi Forces – U.S. News & World Report". Usnews.com. 7 April 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2004. สืบค้นเมื่อ 9 December 2015.
  4. Kim Ghattas (14 เมษายน 2003). "Syrians join Iraq 'jihad'". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2011.
  5. "Arab volunteers to Iraq: 'token' act or the makings of another Afghan jihad?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2011. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2011.
  6. Ephraim Kahana, Muhammad Suwaed (2009). The A to Z of Middle Eastern Intelligence. Scarecrow Press. p. 208. ISBN 978-0-8108-7070-3.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  7. "Security Council endorses formation of sovereign interim government in Iraq; welcomes end of occupation by 30 June, democratic elections by January 2005". United Nations. 8 มิถุนายน 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2014. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2017.
  8. "Archived copy" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2009. สืบค้นเมื่อ 4 April 2015.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  9. Katzman, Kenneth (5 กุมภาพันธ์ 2009). "Iraq: Post-Saddam Governance and Security" (PDF). fpc.state.gov/. Congressional Research Service. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2014. In the war, Iraq's conventional military forces were overwhelmed by the approximately 380,000-person U.S. and British-led 30-country18 "coalition of the willing" force, a substantial proportion of which were in supporting roles.
  10. "A Timeline of Iraq War, Troop Levels". Huffington Post. Associated Press. 15 เมษายน 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2014. สืบค้นเมื่อ 23 February 2014.
  11. Australian Department of Defence (2004). The War in Iraq. ADF Operations in the Middle East in 2003 เก็บถาวร 9 ตุลาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Page 11.
  12. Isaac J. Peltier. "Surrogate Warfare: The Role of U.S. Army Special Forces" (PDF). p. 2. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2013. สืบค้นเมื่อ 21 February 2013.
  13. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 August 2011. สืบค้นเมื่อ 18 July 2011.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  14. Toby Dodge (16 พฤศจิกายน 2002). "Iraqi army is tougher than US believes". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มีนาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2012.
  15. "IRAQ: Iraq's Prewar Military Capabilities". Council on Foreign Relations. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 December 2018. สืบค้นเมื่อ 14 December 2018.
  16. "Foreign Irregulars in Iraq". www.washingtoninstitute.org. 10 April 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2019. สืบค้นเมื่อ 3 April 2019.
  17. "Iraq Coalition Casualties: Fatalities by Year and Month" เก็บถาวร 6 กุมภาพันธ์ 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน iCasualties.org. Retrieved 1 November 2009.
  18. icasualties Iraq Coalition Casualties: U.S. Wounded Totals เก็บถาวร 24 ธันวาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  19. Willing to face Death: A History of Kurdish Military Forces – the Peshmerga – from the Ottoman Empire to Present-Day Iraq (page 67) เก็บถาวร 29 ตุลาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Michael G. Lortz
  20. 20.0 20.1 "The Wages of War: Iraqi Combatant and Noncombatant Fatalities in the 2003 Conflict". Commonwealth Institute of Cambridge. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2009. สืบค้นเมื่อ 13 September 2009.
  21. "Wages of War – Appendix 1. Survey of reported Iraqi combatant fatalities in the 2003 war". Commonwealth Institute of Cambridge. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2009. สืบค้นเมื่อ 13 September 2009.
  22. "Body counts". By Jonathan Steele. The Guardian. 28 May 2003.
  23. Iraq Body Count project เก็บถาวร 9 พฤศจิกายน 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Source of IBC quote on undercounting by media is Press Release 15 :: Iraq Body Count.
  24. "U.S. has 100,000 troops in Kuwait". CNN. February 18, 2003.
  25. "President Discusses Beginning of Operation Iraqi Freedom".
  26. Andrew Buncombe, "Richard Clarke: 'Iraq could be much more of a problem for America than if Saddam had stayed in power', The Monday Interview: Former White House security chief", The Independent, Washington, June 14, 2004.
  27. "President Bush Meets with Prime Minister Blair". Georgewbush-whitehouse.archives.gov. 2003-01-31. สืบค้นเมื่อ 2009-09-13.
  28. "CIA's final report: No WMD found in Iraq - Conflict in Iraq - MSNBC.com". Msnbc.msn.com. April 25, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-23. สืบค้นเมื่อ 2008-09-01.
  29. "Poll: Talk First, Fight Later" เก็บถาวร 2007-03-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. CBS.com, Jan. 24, 2003. Retrieved on April 23, 2007.
  30. Joint Declaration by Russia, Germany and France on Iraq France Diplomatie February 10, 2003
  31. NZ praised for 'steering clear of Iraq war The Dominion Post December 7, 2008
  32. Beltrame, Julian (March 31, 2003). "Canada to Stay out of Iraq War". Maclean's. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-18. สืบค้นเมื่อ 19 January 2009.
  33. "Guinness World Records, Largest Anti-War Rally". Guinness World Records. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-09-04. สืบค้นเมื่อ 2007-01-11.
  34. Callinicos, Alex (March 19, 2005). "Anti-war protests do make a difference". Socialist Worker. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-03-21. สืบค้นเมื่อ 2007-01-11.
  35. Wanniski, Jude (August 21, 2003). "Civilian War Deaths in Iraq". wanniski.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากrel="nofollow" แหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-11. สืบค้นเมื่อ August 9, 2006. {{cite news}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)