การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยก่อนหน้ารัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ส่วนใหญ่มุ่งเน้นต่อการบล็อกเว็บไซต์ลามกอนาจาร หลังจากปีนั้น ในประเทศจึงพบเจอกระแสการประท้วงที่รุนแรงในบางครั้ง ความขัดแย้งในระดับภูมิภาค[1] พระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน[2] กฎหมายอาชญากรรมไซเบอร์ฉบับใหม่[3] และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายใน ฉบับปรับปรุง[4] การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในแต่ละปีมีเพิ่มขึ้น โดยเปลี่ยนจุดมุ่งเน้นไปที่ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ความมั่นคงแห่งชาติ และปัญหาทางการเมือง ณ พ.ศ. 2553 มีเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกในประเทศไทยประมาณมากกว่า 110,000 เว็บไซต์[5] ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 มีการเปิดตัวศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านไซเบอร์ขึ้น โดยในช่วงระหว่างเปิดตัวถึงมีนาคม พ.ศ. 2557 ทางศูนย์ฯ ได้ให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบล็อกยูอาร์แอลไป 22,599 อัน[6]

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ก่อให้เกิดการปิดกั้นเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ตในประเทศมากขึ้น ผ่านการใช้อำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[7]

รัฐธรรมนูญไทยให้เสรีภาพในการพูดและสื่อ "ตามที่กฎหมายกำหนด" แต่รัฐบาลกำหนดข้อจำกัดเกี่ยวกับสิทธิเหล่านี้อย่างล้นหลาม[8] การกรองอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจัดอยู่ในประเภทเครื่องมือทางสังคม การเมือง และอินเทอร์เน็ต และทาง OpenNet Initiative ไม่พบหลักฐานการกรองในพื้นที่ความขัดแย้ง/ความมั่นคงในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554[9] นักข่าวไร้พรมแดนจัดให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่อยู่ภายใต้การสอดแนมใน พ.ศ. 2554[10]

ใน พ.ศ. 2556 หนึ่งปีก่อนรัฐประหาร ฟรีดัมเฮาส์ (Freedom House) จัดประเภทให้ไทยมีเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตที่ 'เสรีบางส่วน' และใน พ.ศ. 2557 มีการให้คะแนนประเทศไทยโดยรวมที่ 62 คะแนน ("ไม่เสรี") (0=ดีสุด, 100=แย่สุด) โดยอ้างถึงการเซ็นเซอร์ทางการเมืองจำนวนมาก และการจับกุมบล็อกเกอร์และผู้ใช้ออนไลน์อื่น ๆ โดยอยู่ในอันดับที่ 52 จาก 65 ประเทศ[11] ณ พ.ศ. 2562 ประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับ 'ไม่เสรี' ที่มีคะแนนโดยรวมที่ 35 คะแนน ซึ่งแย่ที่สุดในอันดับ 4 ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เป็นรองเพียงจีน เวียดนาม และปากีสถาน[12]

ประวัติ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. AFP, Thailand says southern unrest worsening, 8 March 2011 เก็บถาวร 14 พฤษภาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "Thai Cabinet agrees to lift emergency decree in Bangkok" เก็บถาวร 7 มีนาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Kocha Olam, CNN World, 21 December 2010
  3. Act on Computer Crime B.E. 2550 เก็บถาวร 10 กุมภาพันธ์ 2015 ที่ Library of Congress Web Archives, 10 June 2007, English translation
  4. "Thailand lifts state of emergency, what now?" เก็บถาวร 7 เมษายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Asian Correspondent.com, Hybrid News Limited, 22 December 2010
  5. "Thailand's Massive Internet Censorship" เก็บถาวร 21 สิงหาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Pavin Chachavalpongpun, Asia Sentinel, 22 July 2010
  6. "Over 100 URLs blocked under Martial law", Prachatai, 24 March 2014
  7. Under martial law, Thai authorities shut down some websites, Prachatai, 22 March 2014
  8. "Thailand", Country Reports on Human Rights Practices for 2011, Bureau of Democracy, Human Rights and Labor, U.S. Department of State
  9. "Thailand Country Profile", Access Contested: Security, Identity, and Resistance in Asian Cyberspace, Ronald J. Deibert, John G. Palfrey, Rafal Rohozinski, and Jonathan Zittrain, MIT Press and the OpenNet Initiative, Nov 2011, ISBN 978-0-262-01678-0
  10. Internet Enemies เก็บถาวร 15 มีนาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reporters Without Borders, Paris, March 2011
  11. "Freedom on the Net, 2014: Thailand". Freedom House. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2019. สืบค้นเมื่อ 2014-12-07.
  12. "Freedom on the Net 2019" (PDF). Freedom House.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]