ข้ามไปเนื้อหา

กวางซีกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กวางซีก้า)

กวางซีกา
กวางเพศผู้ที่ Kadzidłowo ประเทศโปแลนด์
กวางเพศเมียที่ Wildpark Alte Fasanerie ฮาเนา ประเทศเยอรมนี
เสียงเรียกหาคู่ของกวางซีกาเพศผู้ที่สหราชอาณาจักร
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Mammalia
อันดับ: สัตว์กีบคู่
Artiodactyla
วงศ์: Cervidae
Cervidae
วงศ์ย่อย: วงศ์ย่อยกวาง
Cervinae
สกุล: Cervus
Cervus
Temminck, 1838
สปีชีส์: Cervus nippon
ชื่อทวินาม
Cervus nippon
Temminck, 1838
ชนิดย่อย

ดูข้อความ

กวางซีกา (อังกฤษ: sika deer; ชื่อทวินาม: Cervus nippon) หรือรู้จักในชื่ออื่น ๆ ว่า กวางลายจุดเหนือ (อังกฤษ: Northern spotted deer) และกวางญี่ปุ่น (อังกฤษ: Japanese deer) เป็นสปีชีส์ของกวางที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกและถูกนำเข้าไปเป็นสัตว์เลี้ยงในหลายพื้นที่บนโลก อดีตพบในตอนใต้ทางภาคเหนือของประเทศเวียดนามไปจนถึงทางเหนือของเขตสหพันธ์ตะวันออกไกลของรัสเซีย[1] ปัจจุบันเกือบจะสูญพันธุ์แล้วในทุกพื้นที่ ยกเว้นในประเทศญี่ปุ่นที่มีประชากรหนาแน่น[2]

ศัพทมูล

[แก้]

ชื่อ "ซีกา" มาจากคำว่า "ชิกะ" (ญี่ปุ่น: 鹿โรมาจิshika) ซึ่งเป็นคำในภาษาญี่ปุ่นที่มีความหมายว่า "กวาง" ในประเทศญี่ปุ่น กวางสปีชีส์นี้รู้จักในชื่อ "กวางญี่ปุ่น" หรือ "นิฮนจิกะ" (ญี่ปุ่น: ニホンジカ (日本鹿)โรมาจิnihonjika) ในภาษาจีนรู้จักในชื่อ "เหมย์ฮฺวาลู่" (จีน: 梅花鹿; พินอิน: méihuā​lù; แปลตรงตัว: "กวางดอกบ๊วย") เนื่องจากมีลายจุดบนตัวที่คล้ายกับดอกบ๊วย

อนุกรมวิธาน

[แก้]

กวางซีกาเป็นสมาชิกในสกุล Cervus กลุ่มกวางที่รู้จักกันในฐานะกวาง"แท้" ในวงศ์ Cervidae ในอดีต กวางซีกาจัดเข้ากับสกุลนี้ร่วมกับสัตว์ชนิดที่ต่างกัน 9 ชนิด ภายหลังพบว่าสัตว์เหล่านั้นมีพันธุกรรมต่างกัน และจัดใหม่ภายใต้สกุลอื่น ปัจจุบัน กวางที่อยู่ในสกุล Cervus ได้แก่ กวางซีกา กวางแดง (C. elaphus) ในสกอตแลนด์ ยูเรเชีย และแอฟริกาเหนือ (นำเข้าอาร์เจนตินา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) และกวางเอลก์ (C. canadensis) ในอเมริกาเหนือ ไซบีเรีย และเอเชียเหนือ-กลาง[3]

หลักฐานทางดีเอ็นเอระบุว่าชนิดที่เคยอยู่ใน Cervus ไม่ได้ใกล้ชิดกันอย่างที่คิด ทำให้มีการสร้างสกุลใหม่ บรรพบุรุษของ Cervus ทุกชนิดน่าจะมีต้นกำเนิดในเอเชียกลาง และน่าจะมีรูปร่างคล้ายกวางซีกา[4]

ชนิดย่อย

[แก้]

การปนเปื้อนทางพันธุกรรมอย่างร้ายแรงปรากฏในประชากรหลายกลุ่ม โดยเฉพาะในจีน ทำให้สถานะชนิดย่อยหลายชนิดยังคงไม่กระจ่าง[1] สถานะของ C. n. hortulorum ยังไม่ชัดเจนและอาจมีต้นดำเนิดหลายแห่ง จึงไม่แสดงในรายการนี้

ลักษณะ

[แก้]

กวางซีกาเป็นกวางขนาดกลางมีความสูงจรดหัวไหล่ 50–95 เซนติเมตร หนัก 30–70 กิโลกรัม เพศผู้มีขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย มีขนตามลำตัวสีน้ำตาลส้ม มีจุดสีขาวกระจายอยู่ทั่วไป หางสั้นมีสีน้ำตาลอ่อน ก้นมีสีขาว สีขนบริเวณด้านบนและด้านข้าง ลำตัวอาจมีสีที่เข้มกว่าสีขนบริเวณท้องและด้านในของขา มีเขาเฉพาะเพศผู้ เขามีกิ่งก้านแผ่อแอกมาเพียงข้างละ 4 ก้าน มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ในป่าเบญจพรรณ หรือทุ่งหญ้า ในฝูงมักประกอบไปด้วยเพศเมียเป็นส่วนใหญ่ กวางเพศผู้มีการผลัดเขาทิ้งทุกปี[6]

วัฒนธรรม

[แก้]

กวางซีกาเป็นสัตว์ที่ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเป็นสัตว์ที่รับใช้เทพเจ้า ในจังหวัดนาระ โดยเฉพาะใกล้ ๆ วัดโทไดจิ กวางซีกาที่อาศัยอยู่ที่นี่ ใช้ชีวิตอย่างเสรี โดยปะปนกับผู้คนทั่วไปโดยไม่มีผู้ใดทำอันตราย[7]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Harris, R.B. (2015). "Cervus nippon". IUCN Red List of Threatened Species. 2015: e.T41788A22155877. doi:10.2305/IUCN.UK.2015-2.RLTS.T41788A22155877.en. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
  2. Kaji, Koichi; Takashi Saitoh; Hiroyuki Uno; Hiroyuki Matsuda; Kohji Yamamura (2010). "Adaptive management of sika deer populations in Hokkaido, Japan: theory and practice". Population Ecology. 52 (3): 373–387. Bibcode:2010PopEc..52..373K. doi:10.1007/s10144-010-0219-4. S2CID 40435595.
  3. Ludt, Christian J.; Wolf Schroeder; Oswald Rottmann; Ralph Kuehn (2004). "Mitochondrial DNA phylogeography of red deer (Cervus elaphus)" (PDF). Molecular Phylogenetics and Evolution. Elsevier. 31 (3): 1064–1083. Bibcode:2004MolPE..31.1064L. doi:10.1016/j.ympev.2003.10.003. PMID 15120401. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 September 2004. สืบค้นเมื่อ 6 October 2006.
  4. Geist, Valerius (1998). Deer of the World: Their Evolution, Behavior, and Ecology. Mechanicsburg, Pa: Stackpole Books. ISBN 978-0-8117-0496-0.
  5. "ITIS Standard Report Page: Cervus nippon soloensis". สืบค้นเมื่อ 14 February 2016.
  6. ชุติอร กาญวัฒนกิจ. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. กรุงเทพฯ : กองทุนสัตว์ป่าโลก สำนักงานประเทศไทย, 2543. 256 หน้า. หน้า 121-122. ISBN 9748708152
  7. "ข่าวในพระราชสำนัก [5 กันยายน 2558]". 2015-09-05. สืบค้นเมื่อ 2015-09-06.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]