กวางซีกา
กวางซีกา | |
---|---|
![]() | |
เพศผู้ (♂) | |
![]() | |
เพศเมีย (♀) | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Artiodactyla |
วงศ์: | Cervidae |
วงศ์ย่อย: | Cervinae |
สกุล: | Cervus |
สปีชีส์: | C. nippon |
ชื่อทวินาม | |
Cervus nippon Temminck, 1838 |
กวางซีกา (อังกฤษ: Sika deer, Spotted deer, Japanese deer) เป็นกวางที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกและถูกนำเข้าไปเป็นสัตว์เลี้ยงในหลายพื้นที่บนโลก อดีตพบในตอนใต้ทางภาคเหนือของประเทศเวียดนามไปจนถึงทางเหนือของเขตสหพันธ์ตะวันออกไกลของรัสเซีย[1] ปัจจุบันเกือบจะสูญพันธุ์แล้วในทุกพื้นที่ ยกเว้นในประเทศญี่ปุ่นที่มีประชากรหนาแน่น[2]
โดยชื่อ "ซีกา" มาจากภาษาญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 鹿; โรมาจิ: shika) แปลว่า "กวาง" กวางซีกาเป็นกวางขนาดกลางมีความสูงจรดหัวไหล่ 50–95 เซนติเมตร หนัก 30–70 กิโลกรัม เพศผู้มีขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย มีขนตามลำตัวสีน้ำตาลส้ม มีจุดสีขาวกระจายอยู่ทั่วไป หางสั้นมีสีน้ำตาลอ่อน ก้นมีสีขาว สีขนบริเวณด้านบนและด้านข้าง ลำตัวอาจมีสีที่เข้มกว่าสีขนบริเวณท้องและด้านในของขา มีเขาเฉพาะเพศผู้ เขามีกิ่งก้านแผ่อแอกมาเพียงข้างละ 4 ก้าน
มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ในป่าเบญจพรรณ หรือทุ่งหญ้า ในฝูงมักประกอบไปด้วยเพศเมียเป็นส่วนใหญ่ กวางเพศผู้มีการผลัดเขาทิ้งทุกปี[3]
กวางซีกา เป็นสัตว์ที่ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเป็นสัตว์ที่รับใช้เทพเจ้า ในจังหวัดนะระ โดยเฉพาะใกล้ ๆ วัดโทได กวางซีกาที่อาศัยอยู่ที่นี่ ใช้ชีวิตอย่างเสรี โดยปะปนกับผู้คนทั่วไปโดยไม่มีผู้ใดทำอันตราย [4]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 Harris, R.B. (2008). Cervus nippon. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 5 April 2009. Database entry includes a brief justification of why this species is of least concern.
- ↑ Kaji, Koichi; Takashi Saitoh; Hiroyuki Uno; Hiroyuki Matsuda; Kohji Yamamura. "Adaptive management of sika deer populations in Hokkaido, Japan: theory and practice" (pdf). สืบค้นเมื่อ 2011-01-19.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ชุติอร กาญวัฒนกิจ. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. กรุงเทพฯ : กองทุนสัตว์ป่าโลก สำนักงานประเทศไทย, 2543. 256 หน้า. หน้า 121-122. ISBN 9748708152
- ↑ "ข่าวในพระราชสำนัก [5 กันยายน 2558]". 2015-09-05. สืบค้นเมื่อ 2015-09-06.
บรรณานุกรม[แก้]
- Igota H, Sakagura M, Uno H, Kaji K, Maneko M, Akamatsu R, Maekawa K (25 March 2004). "Seasonal migration patterns of female sika deer in eastern Hokkaidō, Japan". Ecological Research. 19 (2): 169–178. doi:10.1111/j.1440-1703.2003.00621.x.
- O'Brien, D.J.; Roodey, S.M.; Hayden, T.J. (September 2009). "A differential vulnerability to hunting between the sexes in Sika-type calves". Irish Naturalists' Journal. 30: 7–9.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Cervus nippon ที่วิกิสปีชีส์
- Hunting Sika in New Zealand เก็บถาวร 2012-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Sika Deer Hunting เก็บถาวร 2009-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Sika Deer in New Zealand and their distribution.