กลยุทธ์เมืองว่าง
ผู้วางกลศึก | ขงเบ้ง |
---|---|
ผู้ต้องกลศึก | สุมาอี้ |
ประเภท | กลยุทธ์ยามพ่าย |
หลักการ | หลอกศัตรูให้ฉงนซ้อนกลพิสดาร |
สถานที่ | เมืองเสเสีย |
ผลลัพธ์ | ขงเบ้งรักษาเมืองเสเสียจากสุมาอี้ |
กลยุทธ์เมืองว่าง | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 空城計 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 空城计 | ||||||
|
กลยุทธ์เมืองว่าง หรือ คงเฉิงจี้ (อังกฤษ: The empty fort strategy; จีนตัวย่อ: 空城计; จีนตัวเต็ม: 空城計; พินอิน: Kōng chéng jì) เป็นกลยุทธ์ที่หมายความถึงในยามศึกสงคราม หากกำลังทหารไพร่พลเกิดความอ่อนแอหรือมีกำลังน้อย ยิ่งจงใจแสดงให้ศัตรูเห็นว่าในการศึกมิได้มีการวางแนวป้องกัน ทำให้ศัตรูเกิดความฉงนสนเท่ห์ ไม่กล้าผลีผลามนำกำลังเข้าบุกโจมตี ในสถานการณ์ที่ศัตรูมีกำลังมากกว่า การใช้กลยุทธ์ปิดเมืองเพื่อป้องกันกองทัพตนเองเป็นการเลือกใช้กลยุทธ์ที่มีความพิสดารพันลึกเป็นทวีคูณ
คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ท่ามกลางแข็งกันอ่อน" โดยคำว่า "แก้" ใช้ควบคู่กับคำว่า "พิสดาร ซ่อนพิสดาร" ซึ่งหมายความว่า ในขณะที่ศัตรูมีกองกำลังแข็งแรง หากแต่กองกำลังแลไพร่พลอ่อนแอให้จัดกำลังทหารโดยใช้กลยุทธ์ "กลวงยิ่งทำกลวง" เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความพิสดารในกลศึกที่ศัตรูคาดการณ์ไม่ถึง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ปิดเมืองไปใช้ได้แก่ขงเบ้งที่ถอยทัพหลบหนีสุมาอี้หลังจากม้าเจ๊กเสียเมืองเกเต๋ง โดยแสร้งทำเป็นวางเฉยไม่สะดุ้งสะเทือนกับกองกำลังทหารสุมาอี้ที่ยกทัพติดตามมา[1]
ตัวอย่างกลยุทธ์
[แก้]ในครั้งนั้นขงเบ้งได้ใช้วิธีเปิดประตูเมืองไว้แล้วตนขึ้นไปนั่งดีดพิณบนประตูเมืองเพื่อถ่วงเวลาให้ทหารได้ถอยทัพอย่างสะดวกและสามารถข่มทัพของสุมาอี้ จนสุมาอี้ไม่กล้าผลีผลามบุกเข้าตีเอาเมืองและต้องถอยทัพกลับไป
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Panyānonthachai, Narongchai (2007). อินไซด์สามก๊ก (ฉบับอ่านสามก๊กอย่างไรให้แตกฉาน). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า. p. 246. ISBN 978-974-690-595-4. OCLC 610706493.