กรีโกรี ซีโนเวียฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรีโกรี ซีโนเวียฟ
Григорий Зиновьев
กริกอรี ซีโนเวียฟ
ซีโนเวียฟ เมื่อ ค.ศ. 1920
ประธานคอมมิวนิสต์สากล
ดำรงตำแหน่ง
2 มีนาคม ค.ศ. 1919 – 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1926
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปนีโคไล บูฮาริน
ประธานสภาโซเวียตเปโตรกราด
ดำรงตำแหน่ง
13 ธันวาคม ค.ศ. 1917 – 26 มีนาคม ค.ศ. 1926
ก่อนหน้าเลออน ทรอตสกี
ถัดไปยกเลิกตำแหน่ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ออฟเซย์-เกียร์ชอน อะโรโนวิช ราโดมึสล์สกี

23 กันยายน ค.ศ. 1883(1883-09-23)
เยลีซาเวตกราด จักรวรรดิรัสเซีย (ปัจจุบันคือกรอปึวนึตสกึย ประเทศยูเครน)
เสียชีวิต25 สิงหาคม ค.ศ. 1936(1936-08-25) (52 ปี)
มอสโก รัสเซียโซเวียต สหภาพโซเวียต
สาเหตุการเสียชีวิตการประหารชีวิตด้วยการยิง
เชื้อชาติรัสเซีย (ค.ศ. 1883–1936)
โซเวียต (ค.ศ. 1917–1936)
พรรคการเมืองพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย (ค.ศ. 1901–1903)
พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย (บอลเชวิค) (ค.ศ. 1903–1918)
พรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย (บอลเชวิค) (ค.ศ. 1918–1927, ค.ศ. 1928–1932, ค.ศ. 1933–1934)

กรีโกรี เยฟเซเยวิช ซีโนเวียฟ[a] (นามแรกเกิด ออฟเซย์-เกียร์ชอน อะโรโนวิช ราโดมึสล์สกี;[b] 23 กันยายน [ตามปฎิทินเก่า: 11 กันยายน] ค.ศ. 1883 – 25 สิงหาคม ค.ศ. 1936) เป็นนักปฏิวัติชาวรัสเซียและนักการเมืองโซเวียต สมาชิกบอลเชวิคเก่า และเป็นหนึ่งในผู้นำคนสำคัญที่บทบาทในช่วงต้นของสหภาพโซเวียต ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งประธานองค์การคอมมิวนิสต์สากล (โคมินเทิร์น) ตั้งแต่ ค.ศ. 1919 ถึง ค.ศ. 1926

ซีโนเวียฟเกิดที่ดินแดนยูเครน (ณ ตอนนั้นยังคงเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย) ในครอบครัวชาวยิว เขาเข้าร่วมพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซียใน ค.ศ. 1901 เมื่อพรรคเกิดการแตกแยกทางอุดมการณ์ใน ค.ศ. 1903 เขาได้สนับสนุนฝ่ายบอลเชวิคและกลายเป็นหนึ่งในผู้ร่วมงานที่ใกล้ชิดที่สุดของวลาดีมีร์ เลนิน เขาใช้เวลาช่วงการเนรเทศร่วมกับเลนินและเดินทางกลับรัสเซียภายหลังการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ใน ค.ศ. 1917 โดยก่อนหน้าที่จะเกิดการปฏิวัติเดือนตุลาคม ซีโนเวียฟและเลฟ คาเมเนฟ คัดค้านการยึดอํานาจโดยใช้กำลัง เป็นเหตุให้ตัวเขาเริ่มไม่ได้รับความไว้วางใจจากเลนิน ในช่วงการป่วยระยะสุดท้ายและภายหลังอสัญกรรมของเลนินใน ค.ศ. 1924 ซีโนเวียฟจึงเป็นพันธมิตรร่วมกับคาเมเนฟและโจเซฟ สตาลิน ในการต่อต้านเลออน ทรอตสกี อย่างไรก็ตาม พันธมิตรทั้งสามได้แตกสลายลงและใน ค.ศ. 1926 ซีโนเวียฟและคาเมเนฟจึงเข้าร่วมในแนวร่วมฝ่ายค้านของทรอตสกีเพื่อต่อต้านสตาลิน ซีโนเวียฟถูกขับออกจากพรรคใน ค.ศ. 1927 และต่อมาไม่นานเขาจึงได้รับการยอมรับอีกครั้งหลังจากยอมจํานนต่อสตาลิน

หลังจากการลอบสังหารเซียร์เกย์ คีรอฟ พันธมิตรที่ใกล้ชิดของสตาลินเมื่อ ค.ศ. 1934 ซีโนเวียฟถูกกล่าวหาว่าสมรู้ร่วมคิดในการลอบสังหาร จึงถูกตัดสินว่ามีความผิดและได้รับโทษจําคุกสิบปี ขณะถูกคุมขังในปี ค.ศ. 1936 ซีโนเวียฟถูกกล่าวหาว่าทรยศต่อสตาลินในระหว่างการกวาดล้างใหญ่ และทำให้เขาถูกตัดสินประหารชีวิตภายหลังการพิจารณาคดีในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1936

หมายเหตุ[แก้]

  1. รัสเซีย: Григорий Евсеевич Зиновьев, อักษรโรมัน: Grigóriy Yevséyevich Zinóv'yev, เสียงอ่านภาษารัสเซีย: [ɡrʲɪˈɡorʲɪj (j)ɪfˈsʲe(j)ɪvʲɪdʑ zʲɪˈnovʲjɪf], ทับศัพท์ตามระบบหอสมุดรัฐสภา: Grigorii Evseevich Zinov'ev
  2. รัสเซีย: Овсей-Гершон Аронович Радомысльский

งานเขียน[แก้]

  • Leggett, George (1986). The Cheka: Lenin's Political Police. New York: Oxford University Press. ISBN 0-19-822862-7.
  • Boi za Peterburg: Dve Rechi (The Fight for St. Petersburg: Two Speeches). With Leon Trotsky. St. Petersburg: Gosudarstvennoe Izdatel'stvo, 1920.
  • Leninizm: Vvedenie i izuchenie Leninizma (Leninism: Introduction to the Study of Leninism). Leningrad: Gosudarstvennoe Izdatel'stvo, 1925.

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Corney, Frederick C. (ed.), Trotsky's Challenge: The "Literary Discussion" of 1924 and the Fight for the Bolshevik Revolution. [2016] Chicago: Haymarket Books, 2017.
  • McDermott, Kevin, and Jeremy Agnew. The Comintern: a history of international communism from Lenin to Stalin (Macmillan International Higher Education, 1996).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]