ข้ามไปเนื้อหา

มีชัย กิจบุญชู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไมเคิล มีชัย กิจบุญชู)
ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู
พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ในปี 2566 โอกาสฉลอง 50 ปี การเป็นพระสังฆราช และ 40 ปี การเป็นพระคาร์ดินัล
อัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ
ดำรงตำแหน่ง
18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ก่อนหน้ายวง นิตโย
ถัดไปเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ฮั่วเซี้ยง กิจบุญชู

25 มกราคม พ.ศ. 2472 (95 ปี)
จังหวัดนครปฐม ประเทศสยาม
เชื้อชาติไทย
ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
บุพการี
  • ยอแซฟ ยู่ฮง กิจบุญชู (บิดา)
  • มารีอา เคลือบ กิจบุญชู (มารดา)
ที่อยู่อาศัยบ้านฮับราฮัม (สามพราน)

พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นพระคาร์ดินัลชาวไทยคนแรก ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอัครมุขนายกกิตติคุณมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ เป็นอดีตนายกสภาวิทยาลัยแสงธรรม[1]

พื้นเพ

[แก้]

พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เกิดวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2472 ณ หมู่บ้านโบสถ์นักบุญเปโตร อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยเป็นบุตรของ ยอแซฟ ยู่ฮง และมารีอา เคลือบ กิจบุญชู มีพี่น้องทั้งหมดแปดคน เป็น ชายเจ็ดคน เป็นหญิงหนึ่งคน ตนเป็นบุตรคนที่ห้าของครอบครัว

การศึกษา

[แก้]

ตำแหน่งหน้าที่ต่าง ๆ

[แก้]

เขตมิสซังกรุงเทพฯ

[แก้]

สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย

[แก้]
  • พ.ศ. 2522 ถึง พ.ศ. 2525 — ดำรงตำแหน่งประธานสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2529 ถึง พ.ศ. 2533 — ดำรงตำแหน่งประธานสภาฯ
  • พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2540 — ดำรงตำแหน่งประธานสภาฯ
  • นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมาธิการฝ่ายต่างๆ ของสภาประมุขบาทหลวงฯ อีกหลายฝ่ายด้วยกัน

กรุงโรม

[แก้]

พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการของสมณกระทรวงประกาศพระวรสารสู่ปวงชน (Member of the Pontifical Missionary Societies for the Propagation of the Faith ) นับตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัล พระคุณเจ้าได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการที่ปรึกษาของสมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อหลังจากที่พ้นจากตำแหน่งกรรมการที่ปรึกษาของสมณกระทรวงฯ

เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2537 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิก “สภาที่ปรึกษาด้านการเงิน และเศรษฐกิจของสันตะสำนัก 4”

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]

มีชัย กิจบุญชู ได้รับแต่งตั้งเป็นอัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1973 และได้รับการอภิเษกเป็นอัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ สืบตำแหน่งต่อจากพระคุณเจ้ายอแซฟ ยวง นิตโย ได้รับการอภิเษกที่เซมินารีนักบุญยอแซฟ สามพราน นครปฐม โดยพระคุณเจ้ายอแซฟ ยวง นิตโย เป็นผู้อภิเษก เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ.1973

พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ได้การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกคณะพระคาร์ดินัล (นับเป็นพระคาร์ดินัลองค์แรกของประเทศไทย) เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1983 และมีพิธีสถาปนาสมณศักดิ์พระคาร์ดินัล ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม นครรัฐวาติกัน ท่ามกลางคณะพระคาร์ดินัล คณะทูตานุทูต และคริสต์ศาสนิกชน โดยสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 แต่งตั้งให้เป็นพระคาร์ดินัลบาทหลวงประจำโบสถ์นักบุญลอเรนซ์ในปานิสแปร์นา (Cardinal-Priest of San Lorenzo in Panisperna)[2] ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983

พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ได้เข้าร่วมพิธีปลงพระศพสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 และในฐานะพระคาร์ดินัล ได้เข้าร่วมการเลือกตั้งสมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ (สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16) ประมุขพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก สืบตำแหน่งต่อจากนักบุญเปโตรเป็นลำดับที่ 265 ในระหว่างวันที่ 5 - 25 เมษายน ค.ศ. 2005

พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ลาเกษียณจากตำแหน่งประมุขมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ ในปี ค.ศ. 2009 ต่อมาเมื่อ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2016 พระคาร์ดินัลเปาลู เอวาริสตู อาร์นส์ มรณภาพ พระคาร์ดินัลมีชัยจึงกลายเป็นพระคาร์ดินัลบาทหลวงที่อาวุโสที่สุด (Cardinal Protopriest)[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. งานกตเวทิตาจิตแด่ พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู
  2. "Michael Michai Cardinal Kitbunchu". Catholic-Hierarchy. 11 พฤศจิกายน 2558. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "A new protopriest as Paul VI has one cardinal left". In Caelo et in Terra. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2021-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [สำนักนายกรัฐมนตรี], เล่ม ๑๑๘, ตอน ๒๓ ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔, หน้า ๑ ลำดับ ๖
ก่อนหน้า มีชัย กิจบุญชู ถัดไป
โรเบิร์ต รัตน์ บำรุงตระกูล ประธานสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
((สมัยที่ 1) พ.ศ. 2522 — พ.ศ. 2525
(สมัยที่ 2) พ.ศ. 2528 — พ.ศ. 2534
(สมัยที่ 3) พ.ศ. 2537 —พ.ศ. 2540
(สมัยที่ 4) พ.ศ. 2543 — พ.ศ. 2549)
ยอแซฟ บรรจง อารีพรรค (หลังสมัยที่ 1)
ยอร์ช ยอด พิมพิสาร (หลังสมัยที่ 2-4)
ยอแซฟ ยวง นิตโย อัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ
(พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2552)
ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช