ศีลอนุกรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การอุปสมบทยอห์นแห่งมาธา

ศีลอนุกรม[1] (อังกฤษ: Holy Orders) หรือ ศีลบวช บางตำราเรียกว่าศีลบรรพชา[2] เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ในหลายคริสตจักร ได้แก่ โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน คริสตจักรอัสซีเรียนแห่งตะวันออก คาทอลิกเก่า อินดิเพนเดนต์คาทอลิก และบางส่วนของลูเทอแรน

ประวัติ[แก้]

ศีลบวชเรียกว่าศีลอนุกรมเพราะมีการแต่งตั้งเป็นลำดับขั้น โดยเชื่อว่าพระเยซูเป็นผู้วางรากฐานศีลอนุกรมไว้ตั้งแต่สมัยยังดำรงพระชนม์บนโลก ดังเห็นได้จากการปกมือบนศีรษะของอัครทูตทั้ง 12 คนที่ทรงเลือกไว้ คริสตจักรคาทอลิกถือว่านี่คือศีลอนุกรมขั้นมุขนายกในปัจจุบัน คริสตจักรยังได้สืบทอดและเพิ่มเติมพิธีนี้เพื่อทำการแต่งตั้งบุคคลที่ได้รับคัดเลือกให้มีตำแหน่งหน้าที่ตามที่คริสตจักรกำหนดไว้ โดยเพิ่มอนุกรมจนมี 8 ขั้น 4 ขั้นแรกเรียกว่าอนุกรมน้อย (minor orders) ได้แก่

ในปัจจุบันคริสตจักรคาทอลิกที่ถือจารีตละตินยังคงตำแหน่งผู้อ่านและผู้ถือเทียนในศาสนพิธี ส่วนที่เหลือถูกยกเลิกไป เหตุที่เรียกว่าอนุกรมน้อยเพราะผู้ที่รับอนุกรมขั้นเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องปฏิญาณถือโสดตลอดชีพอย่างสี่ขั้นหลังซึ่งเรียกว่าอนุกรมใหญ่ (major orders) อันได้แก่

เนื่องจากอนุกรมน้อยและขั้นอุปพันธบริกรเป็นอนุกรมที่คริสตจักรยุคหลังสถาปนาขึ้นเองจึงไม่นับว่าเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ ต่างจากสามขั้นสุดท้ายที่ปรากฏที่มาในคัมภีร์ไบเบิล ดังนั้นศีลอนุกรมในปัจจุบันจึงมีเพียงขั้นมุขนายก ขั้นบาทหลวง และขั้นพันธบริกรเท่านั้น[3] ส่วนขั้นอัครมุขนายก (archiepiscopate) ไม่นับเป็นศีลอนุกรมเพราะอัครมุขนายกโดยตำแหน่งก็คือมุขนายก เพียงแต่ที่ได้รับผิดชอบมุขมณฑลที่สำคัญและปกครองทั้งภาคคริสตจักร ผู้ที่เคยเป็นมุขนายกมาแล้วเมื่อได้ดำรงตำแหน่งอัครมุขนายกจึงไม่ต้องทำรับศีลอนุกรมอีก เพียงแต่ทำพิธีเข้ารับตำแหน่งเท่านั้น[4]

นิกายคาทอลิก[แก้]

นิกายคาทอลิก เช่น คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์และอีสเทิร์นคาทอลิก ให้เฉพาะผู้รับการอภิเษกเป็นบิชอปเท่านั้นต้องถือโสดตลอดชีพ แต่ไม่บังคับสำหรับผู้รับศีลขั้นพันธบริกรและบาทหลวง ในขณะที่คริสตจักรคาทอลิกจารีตละตินให้พันธบริกรถาวรแต่งงานได้ แต่พันธบริกรชั่วคราว (คือเตรียมบวชเป็นบาทหลวง) ตลอดจนบาทหลวงและบิชอปต้องถือโสดตลอดชีพ ทั้งสามคริสตจักรอนุญาตให้บุรุษเท่านั้นรับศีลอนุกรมได้[5] บรรดาผู้ที่ได้รับศีลอนุกรมแล้วจะเรียกว่าเคลอจี ศาสนบริกรผู้โปรดศีลอนุกรมได้มีเฉพาะบิชอปที่ผ่านพิธีอภิเษกแล้วเท่านั้น[6]

นิกายแองกลิคัน[แก้]

คริสตจักรต่าง ๆ ในนิกายแองกลิคันไม่บังคับว่าผู้รับศีลบวชต้องถือโสด นอกจากนี้ในปัจจุบันหลายภาคคริสตจักรยังอนุญาตให้สตรีรับศีลอนุกรมทั้งสามขั้นได้เหมือนบุรุษทั่วไป[7]

อ้างอิง[แก้]