โยชูวา 12

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โยชูวา 12
หนังสือหนังสือโยชูวา
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู1
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคต้น
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์6

โยชูวา 12 (อังกฤษ: Joshua 11) เป็นบทที่ 12 ของหนังสือโยชูวาในคัมภีร์ฮีบรูหรือในพันธสัญญาเดิมของคัมภีร์ไบเบิลในศาสนาคริสต์[1] ตามธรรมเนียมในศาสนายูดาห์เชื่อว่าหนังสือเขียนขึ้นโดยโยชูวาร่วมด้วยมหาปุโรหิตเอเลอาซาร์และฟีเนหัส[2][3] แต่นักวิชาการยุคปัจจุบันมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์เฉลยธรรมบัญญัติซึ่งครอบคลุมเรื่องราวตั้งแต่หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติถึงหนังสือพงศ์กษัตริย์ฉบับที่ 2 เขียนโดยผู้เขียนศาสนายาห์เวห์ผู้รักชาติและศรัทธาในสมัยของโยสิยาห์กษัตริย์ยูดาห์นักปฏิรูปในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล[3][4] บทที่ 12 ของหนังสือโยชูวาบันทึกรายพระนามกษัตริย์ที่ทรงพ่ายแพ้ต่อชาวอิสราเอลภายใต้การนำโดยโมเสสและโยชูวา[5] เป็นส่วนหนึ่งของตอนที่ประกอบด้วยโยชูวา 5:13–12:24 เกี่ยวกับการพิชิตคานาอัน[6]

ต้นฉบับ[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 24 วรรค

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895), ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[7]

ต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5) (A; A; ศตวรรษที่ 5)[8][a]

วิเคราะห์[แก้]

เรื่องเล่าที่ชาวอิสราเอลยึดครองดินแดนคานาอันประกอบด้วยยวรรค 5:13 ถึง 12:24 ของหนังสือโยชูวา และมีโครงเรื่องดังต่อไปนี้:[10]

A. เยรีโค (5:13–6:27)
B. อาคานและอัย (7:1–8:29)
C. การรื้อฟื้นพันธสัญญาที่ภูเขาเอบาล (8:30–35)
D. กลอุบายของชาวกิเบโอน (9:1–27)
E. การทัพฝ่ายใต้ (10:1–43)
F. การทัพฝ่ายเหนือและสรุปรายพระนามกษัตริย์ (11:1–12:24)
1. ชัยชนะเหนือพันธมิตรฝ่ายเหนือ (11:1-15)
a. พันธมิตรฝ่ายเหนือ (11:1-5)
b. คำมั่นของพระเจ้า (11:6)
c. ชัยชนะที่เมโรม (11:7-9)
d. การทำลายเมืองฮาโซร์ (11:10–11)
e. ผลของการเชื่อฟังและชัยชนะ (11:12–15)
2. สรุปแผ่นดินที่ยึดครองมาได้ (11:16-12:24)
a. แผ่นดินที่ยึดครองมาได้ (11:16-20)
b. การทำลายคนอานาค (11:21-22)
c. สาระสำคัญของเรื่องเล่า: การยึดครองและการจัดแบ่ง (11:23)
d. แผ่นดินที่ยึดมาได้และเหล่ากษัตริย์ (12:1-24)
i. ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดน (12:1-6)
ii. ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน (12:7-24)

บทที่ 12 เป็นการจบเรื่องราวการพิชิตแผ่นดินโดยชาวอิสราเอลทั้งฟากตะวันออก (วรรค 1-6) และฟากตะวันตก (วรรค 7-24) ของแม่น้ำจอร์แดน ในฐานะ 'แผ่นดินแห่งพระสัญญา' ซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินที่จัดสรรคให้ชนเผ่าทั้งหมดของอิสราเอล[11]

บรรดากษัตริย์ที่ทรงพ่ายแพ้ทางฟากตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดน (12:1–6)[แก้]

แม่น้ำอารโนนบริเวณปากน้ำ From Stade, "Geschichte des Volkes Israel."
ภูเขาเฮอร์โมนจากมุมมองทางด้านใต้ (ภูเขาเบนทัลในที่ราบสูงโกลัน)

บรรดากษัตริย์ที่ทรงพ่ายแพ้ทางฟากตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน (12:7–24)[แก้]

แผนที่แสดงการพิชิตคานาอันของโยชูวา เส้นสีแดง: ภูมิภาคฝ่ายใต้, เส้นสีน้ำเงิน: ภูมิภาคฝ่ายเหนือ (1899. British Library HMNTS 010077.f.24.)

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: กันดารวิถี 21; เฉลยธรรมบัญญัติ 2, เฉลยธรรมบัญญัติ 3; โยชูวา 1, โยชูวา 10, โยชูวา 11
  • หมายเหตุ[แก้]

    1. หนังสือโยชูวาทั้งเล่มขาดหายไปจากฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus) ที่หลงเหลืออยู่[9]

    อ้างอิง[แก้]

    1. Halley 1965, pp. 163–164.
    2. Talmud, Baba Bathra 14b-15a)
    3. 3.0 3.1 Gilad, Elon. Who Really Wrote the Biblical Books of Kings and the Prophets?, Haaretz, June 25, 2015. Summary: The paean to King Josiah and exalted descriptions of the ancient Israelite empires beg the thought that he and his scribes lie behind the Deuteronomistic History.
    4. Coogan 2007, p. 314 Hebrew Bible.
    5. Coogan 2007, pp. 333–334 Hebrew Bible.
    6. McConville 2007, p. 158.
    7. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    8. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    9. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
    10. Firth 2021, pp. 27–29.
    11. McConville 2007, p. 168.

    บรรณานุกรม[แก้]

    • Beal, Lissa M. Wray (2019). Longman, Tremper, III; McKnight, Scot (บ.ก.). Joshua. The Story of God Bible Commentary. Zondervan Academic. ISBN 978-0310490838.
    • Coogan, Michael David (2007). Coogan, Michael David; Brettler, Marc Zvi; Newsom, Carol Ann; Perkins, Pheme (บ.ก.). The New Oxford Annotated Bible with the Apocryphal/Deuterocanonical Books: New Revised Standard Version, Issue 48 (Augmented 3rd ed.). Oxford University Press. ISBN 978-0195288810.
    • Firth, David G. (2021). Joshua: Evangelical Biblical Theology Commentary. Evangelical Biblical Theology Commentary (EBTC) (illustrated ed.). Lexham Press. ISBN 9781683594406.
    • Halley, Henry H. (1965). Halley's Bible Handbook: an abbreviated Bible commentary (24th (revised) ed.). Zondervan Publishing House. ISBN 0-310-25720-4.
    • Harstad, Adolph L. (2004). Joshua. Concordia Publishing House. ISBN 978-0570063193.
    • Hayes, Christine (2015). Introduction to the Bible. Yale University Press. ISBN 978-0300188271.
    • Hubbard, Robert L (2009). Joshua. The NIV Application Commentary. Zondervan. ISBN 978-0310209348.
    • McConville, Gordon (2007). "9. Joshua". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 158–176. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
    • Rösel, Hartmut N. (2011). Joshua. Historical commentary on the Old Testament. Vol. 6 (illustrated ed.). Peeters. ISBN 978-9042925922.
    • Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]