เส้นทางจิงโจ้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โบอิง 787 ของควอนตัสที่ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์

เส้นทางจิงโจ้ (อังกฤษ: Kangaroo Route) เป็นเส้นทางบินระหว่างประเทศออสเตรเลียและสหราชอาณาจักรผ่านซีกโลกตะวันออก[1] เส้นทางจิงโจ้ได้ชื่อจากลักษณะการบิน โดยจะมีการหยุดแวะพักตามสนามบินต่างๆ ในเส้นทางคล้ายกับจิงโจ้ โดยได้มีการถูกกล่าวถึงอย่างมากจากควอนตัส สายการบินแห่งชาติของประเทศออสเตรเลีย รวมถึงสื่อต่างๆ และสายการบินคู่แข่ง

ในปี 2003 มีสายการบินกว่า 20 สายการบินที่ให้บริการในเส้นทางนี้ ได้แก่ แอร์นิวซีแลนด์, บริติชแอร์เวย์, คาเธ่ย์แปซิฟิค, เอมิเรตส์, เจแปนแอร์ไลน์, เลาดาแอร์, มาเลเซียแอร์ไลน์, ควอนตัส, การบินไทย, ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ และสิงคโปร์แอร์ไลน์[2] โดยส่วนมากจะมีการเปลี่ยนเครื่องบิน ในอีก 15 ปีต่อมา ช่วงกลางปี 2018 จำนวนสายการบินที่ทำการบินในเส้นทางจิงโจ้ลดลงอย่างมาก โดยเหลือเพียง 2 สายการบินเท่านั้นที่ยังคงให้บริการผ่านเที่ยวบินตรง คือ บริติชแอร์เวย์และควอนตัส

ควอนตัสได้เริ่มให้บริการเที่ยวบินตรงจากเพิร์ทไปยังลอนดอนด้วยเครื่องโบอิง 787 ในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2018 นับเป็นเที่ยวบินตรงเที่ยวบินแรกระหว่างโอเชียเนียและทวีปยุโรป[3][4]

ประวัติ[แก้]

โฆษณาบริการเที่ยวบินสู่สิงคโปร์ของควอนตัสในปี 1935

ในปี 1935 ควอนตัสเริ่มดำเนินเที่ยวบินไปยังสิงคโปร์ด้วยเครื่องบินเดอ ฮาวิลแลนด์ 86 เพื่อเชื่อมต่อกับเที่ยวบินของอิมพีเรียลแอร์เวย์ที่มุ่งหน้าสู่ลอนดอน โดยเริ่มให้บริการจากลอนดอนไปบริสเบน ในวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1935 สายการบินอิมพีเรียลแอร์เวย์และควอนตัสเอ็มไพร์แอร์เวย์เปิดเส้นทางลอนดอนไปบริสเบน ด้วยระยะทาง 12,754 ไมล์ (20,526 กม.) ผู้โดยสารสามารถจองที่นั่งในราคาเดียว 195 ปอนด์ (เท่ากับ 19,100 ดอลลาร์ในปี 2018) เส้นทางนี้เปิดให้ผู้โดยสารจากบริสเบนไปลอนดอนในวันที่ 17 เมษายน; มีเที่ยวบินทุกสัปดาห์และใช้เวลาเดินทาง 12 1⁄2 วัน[5][6]

ผู้โดยสารที่มุ่งหน้าไปทางตะวันออกจากลอนดอนจะบินจากครอยดอนไปยังปารีสก่อน จากนั้นขึ้นรถไฟข้ามคืนไปยังบรินดิซี และบินต่อโดยแวะที่เอเธนส์, อะเล็กซานเดรีย, กาซา, แบกแดด, บัสรา, คูเวต, บาห์เรน, ชัรญะฮ์, กวาดาร์, การาจี, โชธปุระ, เดลี, กานปุระ, อลาหาบาด, โกลกาตา, อักยับ, ย่างกุ้ง, กรุงเทพฯ, อาโลร์เซอตาร์, สิงคโปร์, ปัตตาเวีย, ซูราบายา, รัมบัง, กูปัง, ดาร์วิน, ลองรีช และชาร์เลอวิลล์[7]

เที่ยวบินตรง[แก้]

เที่ยวบินตรงจากเพิร์ทไปลอนดอนเริ่มในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2018 ด้วยเครื่องบินโบอิง 787[8] โดยเส้นทางจิงโจ้กลายเป็นเส้นทางบินตรงเป็นครั้งแรก ขณะเดียวกันก็เชื่อมต่อออสเตรเลียและยุโรปผ่านเส้นทางบินตรงเป็นครั้งแรก บริการแบบไม่แวะพักเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางจิงโจ้รองของแควนตัสในเที่ยวบืน QF9/10 ระหว่างเมลเบิร์นและลอนดอนผ่านเพิร์ท เส้นทางนี้ยังเปิดโอกาสให้มีเที่ยวบินตรงไปยังยุโรปเพิ่มเติมจากเพิร์ท เช่น ปารีสและแฟรงก์เฟิร์ต ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2022 ควอนตัสให้บริการเที่ยวบินตามฤดูกาลแบบไม่หยุดพักจากเพิร์ทไปยังโรม[9]

โปรเจกต์ซันไรส์[แก้]

ควอนตัสได้เลือกใช้แอร์บัส เอ350-1000 สำหรับเที่ยวบินระยะไกลนี้

ก่อตั้งในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 2017 โครงการ "โปรเจกต์ซันไรส์" เป็นโครงการเที่ยวบินระยะไกลพิเศษของควอนตัส โดยมีแผนจะทำการบินจากฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียถึงลอนดอน, ปารีส, เคปทาว์น, รีโอเดจาเนโร, และนิวยอร์กซิตีภายในปี 2022 ควอนตัสได้เสนอให้แอร์บัสและโบอิงแข่งขันกันพัฒนาเครื่องบินที่สามารถทำการบินเที่ยวบินระยะไกลพิเศษนี้ได้โดยไม่มีจำเป็นต้องแวะพั[10] โดยทั้งโบอิงและแอร์บัสได้เสนอเครื่องบินในปี 2019 โบอิงได้เสนอโบอิง 777-8 ซึ่งต่อมาก็ถูกเลื่อนกำหนดการเปิดตัวออกไปหลังจากสายการบินเอทิฮัดได้ยกเลิกคำสั่งซื้อของรุ่นไป โดยโบอิงยังคงอยู่ในการแข่งขัน[11]

ในวันที่ 18-20 ตุลาคม ค.ศ. 2019 ควอนตัสได้ทำการทดลองบินเที่ยวบิน QF7879 จากนิวยอร์กซิตีถึงซิดนีย์ด้วยเครื่องบินโบอิง 787-9[12] ในเดือนถัดมา ควอนตัสทำการบินทดสอบ 19-20 ชั่วโมงแรกจากลอนดอนไปซิดนีย์[13] สองเดือนต่อมา ในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2019 ควอนตัสได้ทำข้อตกลงร่วมกับแอร์บัสสำหรับเครื่องบินแอร์บัส เอ350-1000 จำนวน 12 ลำที่จะนำมาใช้ในโครงการ โดยเครื่องบินจะมีการติดตั้งถังเชื้อเพลิงเพิ่มเติมและมีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เพื่อส่งมอบประสิทธิภาพที่จำเป็นในเส้นทางของโครงการ[14]

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2020 Alan Joyce ซีอีโอของควอนตัสกรุ๊ป ได้ประกาศการระงับโปรเจกต์ซันไรส์ จากผลกระทบของโควิด-19 ต่อการเดินทางทั่วโลก[15] ควอนตัสจะกลับมาดำเนินโครงการต่อในเวลาต่อมา[16]

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ควอนตัสได้สั่งซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ350-1000 จำนวน 12 ลำที่ได้ทำข้อตกลงไว้กับแอร์บัสสำหรับ โดยมีเป้าหมายที่จะเริ่มบินระหว่างซิดนีย์และลอนดอนในปี 2025[17] บนเครื่องบินจะมีการติดตั้งที่นั่ง 238 ที่นั่ง ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็นที่นั่งห้องสวีทชั้นหนึ่ง 6 ห้อง (แถวเรียงสามแถว), ทีนั่งชั้นธุรกิจ 52 ห้อง (ที่นั่งแถวเรียงสี่แถว), ที่นั่งชั้นประหยัดพรีเมียม 40 ที่นั่ง (แถวเรียงแปดแถว) และที่นั่งชั้นประหยัด 140 ที่นั่งที่ระยะห่าง 33 นิ้ว (แถวเรียงเก้าแถว)[18]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "About Qantas - Our Company - History - Constellations Span the World". web.archive.org. 2007-12-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-10. สืบค้นเมื่อ 2023-01-04.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  2. "About Qantas - Newsroom". web.archive.org. 2006-07-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-17. สืบค้นเมื่อ 2023-01-04.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  3. Morris, Hugh (2017-12-29). "Everything you need to know about the first non-stop flights from Britain to Australia". The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 2023-01-04.
  4. "Lift-off for Qantas non-stop"[ลิงก์เสีย]. The West Australian. Retrieved 11 December 2016.
  5. "Explore our past: 1930 – 1939". British Airways. Retrieved 28 November 2019.
  6. "Venturing Overseas". Qantas.com.au. Retrieved 24 October 2012.
  7. "Imperial Airways timetable, 1935". Timetable Images. Retrieved 27 August 2020.
  8. 2019-03-26T02:13:22+00:00. "Qantas hails successful first year of Perth-London flights". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
  9. "QANTAS FLIGHTS FROM AUSTRALIA DIRECT TO ROME TAKE OFF". Qantas. 25 June 2022. Retrieved 25 November 2022.
  10. "New opportunities for direct routes" (PDF). Qantas. 25 August 2017. Retrieved 26 March 2018.
  11. Kaminski-Morrow2019-08-15T09:32:57+01:00, David. "Boeing aims to remain in Qantas 'Project Sunrise' contest". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
  12. CNN, By Emily Dixon and Francesca Street. "At 19 hours, it's the world's longest flight. But how will the human body cope?". CNN (ภาษาอังกฤษ).
  13. CNN, Richard Quest and Barry Neild. "London to Sydney flight breaks world record". CNN (ภาษาอังกฤษ).
  14. "Qantas Update on Project Sunrise". Qantas News Room. 13 December 2019. Retrieved 13 December 2019.
  15. "Qantas Project Sunrise: A350 order, routes, everything you need to know - Executive Traveller". www.executivetraveller.com (ภาษาอังกฤษ). 2022-05-02.
  16. Harper2021-02-02T18:35:00+00:00, Lewis. "Qantas could launch Project Sunrise flights in 2024". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
  17. Qantas (2 May 2022). "Qantas group announces major aircraft order to shape its future" (Press release).
  18. "Airbus A350–1000 Fact sheet" (PDF). Qantas. May 2022.
  19. "QANTAS 'CONNIES' TRAVERSING THE GLOBE". www.key.aero (ภาษาอังกฤษ).
  20. LondonAirTravel (2022-05-01). "The History Of Flight Between The UK and Australia From 1935 Onwards". London Air Travel (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  21. "Quiz: Beach Boys Lyric or Qantas Route?". Qantas. 16 April 2019. Retrieved 25 November 2022.