เขาผู่ถัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทิวทัศน์เขาผู่ถัว
เขาผู่ถัว
"เขาผู่ถัว" ในอักษรจีน
ภาษาจีน普陀山
ความหมายตามตัวอักษร(จาก สันสกฤต) "เขาโปตาลกะ"

เขาผู่ถัว หรือ ผู่ถัวชาน (จีน: 普陀山; พินอิน: Pǔtuó Shān; "ผู่ถัวชาน" ตามสำเนียงจีนกลาง และ "โผวถ่อซัว" ตามสำเนียงจีนแต้จิ๋ว; ยืมจากภาษาสันสกฤต เขาโปตาลกะ หรือโปตาลกะบรรพต) เป็นเกาะหนึ่งในกลุ่มเกาะโจวชาน ในมณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน มีชื่อเสียงในพุทธศาสนาของจีนและเกี่ยวข้องกับพระโพธิสัตว์กวนอิม เขาผู่ถัวเป็นหนึ่งในภูเขาศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่ในพุทธศาสนาของจีน ในอดีตเป็นที่รู้จักในชื่อ "เหมยเฉินชาน" (梅岑山) และต่อมาเปลี่ยนชื่อตามภูเขาโปตาลกะ (補怛落迦山; Mount Potalaka) ที่มีบันทึกเกี่ยวข้องกับกำเนิดของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในประเทศอินเดีย (ปัจจุบันสันนิษฐานว่าเป็น ภูเขา Pothigai)

เกาะผู่ถัวชานเป็นเกาะขนาดเล็กตั้งอยู่ในทะเลจีนตะวันออก ทางฝั่งใต้ของอ่าวหางโจว ตะวันออกเฉียงใต้ของเซี้ยงไฮ้ ซึ่งมีภูมิประเทศที่รวมความงามของภูเขาและทะเลไว้ด้วยกัน ตั้งอยู่ที่ 29°58′3~30°02′3 ละติจูดเหนือและ 122°21′6~122°24′9 ลองจิจูดตะวันออก[1] มีพื้นที่ประมาณ 12.5 ตารางกิโลเมตร (4.8 ตารางไมล์)[2] และเป็นที่ตั้งของวัดที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง มีการจัดงานเฉลิมฉลองวันประสูติเจ้าแม่กวนอิมทุกปีในวันที่ 19 ค่ำเดือน 2, วันที่ 19 ค่ำเดือน 6 และวันที่ 19 ค่ำเดือน 9 ตามปฏิทินจันทรคติจีน

ประวัติ[แก้]

สิ่งก่อสร้างบนเขา ปี พ.ศ. 2442
ภาพถ่ายในปี พ.ศ. 2410 โดยช่างภาพชาวสก๊อต John Thomson

เขาผู่ถัวเป็นสถานที่แสวงบุญของพุทธศาสนิกชนมานานกว่าพันปี[2] ภายหลังสมัยราชวงศ์ถังเขาผู่ถัวกลายเป็นศูนย์กลางของการนมัสการเจ้าแม่กวนอิม[3] โดยธรรมเนียมวัดหลัก 3 แห่งคือ วัดผู่จี้ (普濟寺, ก่อตั้งพุทธศตวรรษที่ 15) วัดฝ่าหยู่ Fayu (法雨寺, ก่อตั้ง พ.ศ. 2123) และวัดฮุ่ยจี้ (慧濟寺 ก่อตั้งพ.ศ. 2336)

ผู้จาริกพุทธสถานเขาผู่ถัวที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ ได้แก่ พระอาจารย์หยิ่นหยวนหลงฉี (隱元隆琦; Ingen Ryūki) พระในนิกายเซน (ฉาน) จากญี่ปุ่น ซึ่งมาที่พุทธสถานนี้ในปีพ.ศ. 1612 เมื่อมีอายุ 20 ปี เพื่อตามหาพ่อซึ่งหายตัวไป 15 ปีก่อนหน้า และพระอาจารย์ไท้ซู (太虚) ซึ่งใช้เวลาหลายปีในการปฏิบัติธรรมที่อาศรมเล็ก ๆ บนเขาผู่ถัว

ที่มาของชื่อ[แก้]

เขาผู่ถัวแม้เป็นเกาะแต่มีภูมิทัศน์แบบภูเขาจึงเรียกว่า "山" (ชาน หมายถึง เขา ภูเขา)[2] เป็นภูมิประเทศที่รวมความงามของภูเขาและทะเลไว้ด้วยกัน (hilly island) ตำนานเล่าว่าเขาผู่ถัวในอดีตเป็นที่รู้จักในชื่อ เขาเผิงไหล ซึ่งเป็นแหล่งการแสวงหาน้ำอมฤตในรัชสมัยจักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้ และมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "เขานางฟ้ากลางทะเล" (海上仙山)

ในบันทึกประวัติศาสตร์ นักบวชลัทธิเต๋าหลายคนมาปลีกวิเวกที่เขาผู่ถัว รวมทั้งนักบวชที่มีชื่อเสียงเช่น เหมย์ฝู (梅福) (หรือ 字子真; จื้อจึเจิน) ในรัชสมัยยฺเหวียนชื่อ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เกาะนี้ถูกเรียกว่าเขา "เหมยเฉินชาน" (梅岑山) จนถึงราชวงศ์ซ่ง ต่อมาในสมัยราชวงศ์ถัง ปี พ.ศ. 1390 นักบวชจากอาณาจักร Tianzhu มาที่ถ้ำเฉายิน (潮音洞) เพื่อจุดไฟบูชายัญพระพุทธบาท ที่เชื่อว่าทำให้พระโพธิสัตว์กวนอิมปรากฏตัวและมอบสมบัติให้ ซึ่งปัจจุบันห้ามมิให้ทำการนี้อีก[4]

ตำนานอื่นเล่าว่า ในสมัยราชวงศ์ถัง พ.ศ. 1401 ฮุ่ยเอ้อ พระภิกษุชั้นสูงแห่งสำนักรินไซแห่งญี่ปุ่นที่เดินทางมาศึกษาธรรมในประเทศจีนเป็นครั้งที่สาม ได้แอบอัญเชิญรูปปั้นพระโพธิสัตว์กวนอิมสิบเอ็ดเศียรจากเขาอู่ไถเพื่อนำกลับไปยังประเทศญี่ปุ่น แต่เมื่อล่องเรือมาถึงบริเวณนี้กลับเกิดพายุใหญ่จนแล่นเรือออกไม่ได้ถึงสามครั้ง ราวกับเป็นการบอกว่ารูปปั้นกวนอิมไม่ยอมจากไป ฮุ่ยเอ้อจึงตัดสินใจไม่นำรูปปั้นของท่านกลับไปญี่ปุ่น ชาวประมงในแถบนั้นจึงสร้างศาลเล็ก ๆ ขึ้นและเชิญรูปปั้นของพระโพธิสัตว์ไปประดิษฐานที่จื่อจู๋หลิน (ป่าไผ่ม่วง) ที่เชื่อกันว่าเป็นที่หลบลมพายุของท่านฮุ่ยเอ้อในตำนาน[5] เป็นที่มาของชื่อ ศาลเจ้าแม่กวนอิมปู้เขิ่นชฺวี่

ในสมัยราชวงศ์ซ่ง ผู้คนเห็นว่าเกาะนี้โปร่งโล่งและมีดอกไม้สีขาวเล็ก ๆ มากมาย สอดคล้องกับคำอธิบายในบทสุดท้ายของอวตังสกสูตร (華嚴經; 華嚴部) ที่เรียกคัณฑวยูหสูตร กล่าวถึงที่ประทับของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ซึ่งเชื่อว่าตั้งอยู่บนชายฝั่งทางตอนใต้ของอินเดียที่เรียกว่า "เขาโปตาลกะ" หรือ เขาโปตละกะ (Mount Potalaka) และรวมกับความเชื่อที่ว่า โพธิสัตว์กวนอิมได้บำเพ็ญเพียรอยู่ที่นี่ ดังนั้นจึงเชื่อว่าภูเขา (เกาะ) นี้คือภูเขาโปตละกะ และค่อย ๆ นิยมเรียกชื่อเป็น เขาผู่ถัวลั่วเจีย ต่อมาชาวบ้านเรียกเกาะใหญ่สองแห่งว่า เขาผู่ถัว และเขาลั่วเจีย โดยทั่วไปประกอบด้วยยอดเขาสองยอด (สองเกาะ) แต่มักเรียกโดยย่อว่า "เขาผู่ถัว"[6]

เขาลั่วเจีย (หรือเกาะลั่วเจียชาน) ที่อยู่ใกล้ ๆ กับเกาะผู่ถัวชาน สามารถข้ามเรือไปได้ ซึ่งมีการอุปมาว่า การเดินทางไปเกาะโดยเรือของผู้แสวงบุญ อาจเปรียบเทียบได้กับแนวความคิดทางพุทธศาสนาเรื่องความหลุดพ้นโดยการข้าม "ทะเลแห่งความทุกข์"

ตำนานกวนอิม[แก้]

ตามตำนานเล่าว่า เจ้าแม่กวนอิมได้ปรากฏตัวอย่างปาฏิหาริย์ต่อผู้แสวงบุญที่ถ้ำเฉายิน (ถ้ำเสียงคลื่นน้ำขึ้นน้ำลง) ซึ่งทำเครื่องหมายไว้บนแผนที่นี้ที่มุมล่างซ้ายเพื่อต้อนรับเรือที่อยู่ใกล้เคียง

ความสำคัญทางพุทธศาสนา[แก้]

รูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมแห่งทะเลใต้
กงล้อธรรมจักรบนฝ่ามือรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมแห่งทะเลใต้
รูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมสิบเอ็ดเศียร (Statue of Ekādaśamukha; 十一面觀音; Shíyīmiàn Guānyīn) ที่ศาลเจ้าแม่กวนอิมไม่ยอมไป (กวนยินปู้เขิ่นชฺวี่; 不肯去觀音院)

เขาผู่ถัว เป็นสังฆาวาสในพุทธศาสนาเพียงแห่งเดียวที่ตั้งอยู่ริมทะเล ท่ามกลางภูเขาศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่ในพุทธศาสนาของจีน ตามคติของพระพุทธศาสนามหายาน หรือเรียก โพธิมัณฑะ (สถานที่บรรลุรรมของโพธิสัตว์)[5][7] ซึ่งประกอบด้วย

วัด[แก้]

ด้วยความสำคัญทางพุทธศาสนาเขาผู่ถัวจึงเรียงรายไปด้วยวัดวาอารามจำนวนมากทั้งใหญ่และเล็ก ซึ่งทั้งหมดอยู่ภายใต้การดูแลของพุทธสมาคมผู่ถัวชาน (普陀山佛教协会) มีภิกษุและภิกษุณีจำนวนมากจากทั่วประเทศและต่างประเทศจำวัดและปฏิบัติธรรมที่นี่ ปัจจุบันมีวัดสำคัญมากกว่า 30 แห่งตั้งอยู่บนเขาผู่ถัว[9] ได้แก่ วัดผู่จี้, วัดฝ่าหยู่ และวัดฮุ่ยจี้

นอกจากอารามและสำนักสงฆ์เหล่านี้แล้ว ยังมีสถาบันพระพุทธศาสนา (Institute of Buddhism) ซึ่งเป็นสถาบันวิชาการทางพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศจีน

วัดผู่จี้[แก้]

วัดผู่จี้ (普济寺) เป็นวัดใหญ่ที่สุดบนเกาะ มีประวัติเก่าแก่นับพันปี ก่อตั้งในพุทธศตวรรษที่ 15 ตั้งแต่ยุคราชวงศ์ซ่ง หยวน หมิง และชิง แต่เดิมเป็นวัดเล็ก จนกระทั่งได้รับพระราชทานนาม "ผู่จี้" จากจักรพรรดิคังซีแห่งราชวงศ์ชิง ในรัชสมัยของจักรพรรดิหย่งเจิ้นก็ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่จนกลายเป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ และสำคัญที่สุดบนเกาะ[5]

วัดฝ่าหยู่[แก้]

วัดฝาหยู่ (法雨寺) วัดใหญ่ที่สุดอันดับสองบนเกาะ มีอายุย้อนไปถึงสมัยราชวงศ์หมิง ก่อตั้ง พ.ศ. 2123 เคยถูกเพลิงไหม้และได้รับการบูรณะหลายครั้ง จนกระทั่งในรัชสมัยของจักรพรรดิคังซี จึงได้รับพระราชทานชื่อว่า "ฝ่าหยู่ซื่อ"[5]

วัดฮุ่ยจี้[แก้]

วัดฮุ่ยจี้ (慧濟寺) ก่อตั้งพ.ศ. 2336 หนึ่งในสามวัดที่ใหญ่ที่สุด มีอีกชื่อว่าวัดโฝติ่งชาน สร้างอยู่บนยอดเขาที่สูงที่สุดบนเกาะ ซึ่งเข้าถึงด้วยกระเช้าหรือการขึ้นบันไดประมาณ 1,000 ขั้น[5]

ศาลเจ้าแม่กวนยินปู้เขิ่นชฺวี่และจื่อจู๋หลิน[แก้]

ศาลเจ้าแม่กวนอิมปู้เขิ่นชฺวี่ (不肯去观音院; ศาลเจ้าแม่กวนอิมไม่ยอมไป) และวัดจื่อจู๋หลิน (紫竹林) อยู่ในบริเวณเดียวกันที่ปลายแหลมสุดด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะ เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมสิบเอ็ดเศียร หรือเอกทศมุขีอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์[7] (Statue of Ekādaśamukha; 十一面觀音; Shíyīmiàn Guānyīn)

พุทธปฏิมากวนอิมแห่งทะเลจีนใต้[แก้]

รูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมแห่งทะเลใต้ (南海观音像) รูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมสูง 33 เมตร[10] เป็นหนึ่งในรูปปั้นทองสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก หนักกว่า 70 ตัน ได้รับทุนและก่อสร้างโดยผู้ศรัทธาชาวจีนทั้งในและต่างประเทศ จัดพิธีสมโภชเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2540[5][11] ที่ศาลป่าไผ่ม่วง (ศาลจื่อจู๋หลิน; 紫竹林)

อุทยานวัฒนธรรมเจ้าแม่กวนอิมผู่ถัว[แก้]

อุทยานวัฒนธรรมเจ้าแม่กวนอิมผู่ถัว (普陀山观音文化园)[12] ตั้งอยู่ในพื้นที่จุดชมทิวทัศน์จูเจียเจียน ไป๋ชาน บนเกาะจูเจียเจียน ทางใต้ของเขาผู่ถัว (เกาะผู่ถัว) ในเขตผู่ถัว โจวชาน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมประกอบด้วยวิทยาลัยพุทธศาสนาแห่งประเทศจีนเขาผู่ถัว ศาลเจ้าเจ้าแม่กวนอิม วัดต้าเป่ย์ลฺวี่ และประติมากรรมต่าง ๆ [13]

ศาลเจ้าเจ้าแม่กวนอิม เป็นอาคารขนาดใหญ่แบบจีนร่วมสมัย พื้นที่ก่อสร้าง 61,900 ตารางเมตร รวมทั้งหมด 9 ชั้น เป็นห้องโถงรูปกลีบดอกบัวภายในประดิษฐานรูปปั้นไม้แกะสลักเจ้าแม่กวนอิมสิบเอ็ดเศียรพันมือขนาดใหญ่[13]

ธรรมชาติ[แก้]

พืชพรรณ[แก้]

สระน้ำเขาผู่ถัว

เขาผู่ถัวนอกจากเป็นพุทธศาสนสถานแล้ว ยังมีีคุณค่าในแง่พฤกษศาสตร์ บนเกาะมีไม้ต้นและไม้พุ่มธรรมชาติ 238 ชนิด รวมถึงต้นไม้โบราณที่หายากและมีค่า 63 ชนิด ที่มีอายุมากกว่า 100 ปี ซึ่งอยู่ใน 37 วงศ์และ 53 สกุล โดยมีไม้ต้นวงศ์ยูคาลิปตัสจำนวนมากที่สุด[14]

รายชื่อพืชบนผู่ถัวชาน ได้แก่

  • Podocarpus macrophyums ในวงศ์ Podocarpaceae ไม้ไม่ผลัดใบ มีมากกว่า 78 สายพันธุ์ปลูกบนเขาผู่ถัวมานานกว่าร้อยปี[15]
  • แปะก๊วย (Ginkgo biloba) อยู่ในวงศ์ Ginkgoaceae แปะก๊วยเติบโตช้าและมีช่วงชีวิตที่ยาวนานกว่าพันปี มีต้นแปะก๊วยขนาดใหญ่ 10 ต้นบนเขาผู่ถัว[16]
  • Liquidambar formosana จากวงศ์ Hamamelidaceae ต้นไม้ผลัดใบ มีต้นเมเปิล 67 ต้นที่มีอายุมากกว่า 100 ปีบนเขาผู่ถัว
  • Celtis tetradra ในวงศ์ Ulmaceae ไม้ผลัดใบ มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติอย่างกว้างบนเขาผู่ถัว และมีทั้งหมด 282 ต้น
  • Ilex Integra ของวงศ์ Aquifoliaceae ไม้ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มสวยงาม ทนลม ทนแล้ง ปรับตัวได้ดี มีการกระจายกระจายไปทั่วบนเขาผู่ถัว ต้นที่ใหญ่ที่สุดคือหลังเขากวนยินต้ง มีอายุประมาณ 400 ปี[17]

พืชหายาก

  • Carpinus putoensis อยู่ใน Betulaceae พบเฉพาะในเขาผู่ถัว[18] อยู่ทางฝั่งตะวันตกของวัดฮุ่ยจี้ในยอดเขาโฝติ่ง[19] มีอายุมากกว่า 200 ปี และความสูงของต้นสูงประมาณ 12.5 เมตร[20] ในปีพ.ศ. 2542 ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพืชป่าที่ได้รับการคุ้มครองโดยคีย์แห่งชาติ และสหภาพอนุรักษ์โลก (IUCN) ระบุว่าเป็นเกรดที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CR)[21][22] ปัจจุบันพบเพีนงต้นอย่างเดียวที่รอดตาย
  • Neolitsea Sericea เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Lauraceae ใบอ่อนปกคลุมด้วยขนสีเหลืองอมน้ำตาล ลักษณะเด่นคือปรากฏเป็นสีทองเมื่อแสงแดดส่อง พบอยู่ใต้เชิงเขาของยอดเขาโฝติ่ง ปัจจุบัน Neolitsea sericea ถูกระบุว่าเป็นพืชใกล้สูญพันธุ์ในประเทศจีน

จุดท่องเที่ยวทางธรรมชาติ[แก้]

แบบจำลองแผนที่สามมิติเขาผู่ถัว

ชายหาดหลักสองแห่ง: หาดร้อยก้าว และหาดพันก้าว ซึ่งคิดค่าเข้าชมและมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น เก้าอี้อาบแดด ร่มกันแดด และกิจกรรมต่างๆ เช่น บานาน่าโบ๊ท และควอดไบค์

การขนส่ง[แก้]

กระเช้าบนเกาะ

เกาะในหมู่เกาะโจวชานหลายแห่งเชื่อมต่อกันด้วยสะพาน ซึ่งสามารถเดินทางไปถึงเขาผู่ถัว (ผู่ถัวชาน) ได้โดยง่ายทางรถบัสจากเซี่ยงไฮ้และหนิงโป สิ้นสุดที่สถานีขนส่ง Shenjiamen และต่อด้วยรถประจำทางไปท่าเทียบเรือ Banshengdong ใช้เวลาโดยสารเรือข้ามฟากด่วน (22 หยวน) ไปยังเขาผู่ถัว 10 นาที

จากเซี่ยงไฮ้: สถานีขนส่ง Nanpu Bridge, Shanghai Stadium Sightseeing Bus Center

จากหนิงโป: สถานีขนส่ง Shanghai South Long Distance Bus Station ทุกวันไปยัง Shenjiamen (4–5 ชั่วโมง, 138 หยวน) สถานีขนส่งสายเหนือและใต้มีรถออกทุกวันไปยังเซินเจียเหมิน (2–3 ชั่วโมง, 60 หยวน) เป็นประจำทุกวัน

เที่ยวบิน[แก้]

มีเที่ยวบินทุกวันจากท่าอากาศยานนานาชาติช่างไห่หงเฉียว ไปยังท่าอากาศยานผู่ถัว ซึ่งอยู่ห่างจาก Shenjiamen เพียง 3 กม. (1.9 ไมล์) (ประมาณ 800 หยวน)

เรือโดยสาร[แก้]

บริการเรือข้ามฟากยังคงเปิดให้บริการอยู่ แม้ปัจจุบันบริการรถโดยสารให้ความสะดวกสบายมากขึ้น โดยทางเรือจากเมืองใหญ่อย่างหนิงโปและเซี่ยงไฮ้ถึงเขาผู่ถัว จะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

เรือสองเที่ยวต่อวันเชื่อมเขาผู่ถัวและเซี่ยงไฮ้ เที่ยวแรกออกเดินทางในตอนเย็นและข้ามคืน เพื่อถึงตอนเช้าตรู่ อีกเที่ยวเรือโดยสารด่วนออกจากท่าเรือนอกเมืองเซี่ยงไฮ้ในช่วงเช้าตรู่ ซึ่งใช้เวลาสองชั่วโมง

รถยนต์ส่วนบุคคล[แก้]

ระบบขนส่งของเขาผู่ถัวมีความเข้มงวดอย่างมาก ไม่อนุญาตให้ใช้รถยนต์ส่วนตัว สามารถเข้าถึงด้วยการขนส่งสาธารณะเท่านั้น เนื่องด้วยพื้นที่ของเขาผู่ถัวมีขนาดเล็กมากและมีถนนสายเดียวที่วิ่งผ่านทั้งเกาะ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องควบคุมจำนวนรถบนเกาะเพื่อหลีกเลี่ยงการจราจรคับคั่ง ในเวลาเดียวกันการปล่อยยานพาหนะที่มากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพอากาศของเขาผู่ถัว นอกจากนี้เขาผู่ถัวยังเป็นพื้นที่ชันแบบภูเขารถประจำทางจึงปรับใช้กับสภาพทางชันไม่สะดวกนัก และเนื่องจากมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่เขาผู่ถัว จำนวนรถประจำทางยังไม่เพียงพอ จึงมีการสร้างกระเช้าลอยฟ้าให้เป็นทางเลือกอีกวิธีในการขนส่งบนเกาะ

เกาะใกล้เคียง[แก้]

นอกจากนี้ยังสามารถท่องเที่ยวไปยังเกาะอื่น ๆ ในหมู่เกาะโจวชานได้ด้วย เช่นเกาะลั่วเจียชาน ที่มักจะไปเพื่อนำน้ำมนต์กลับมาบูชา และเกาะดอกท้อ (เถาฮฺวาเต่า) ที่มีวัดสำคัญอยู่เช่นกัน

อ้างอิง[แก้]

  1. Mountain Putuo Tour Guide. Zhonghua Book Company. 2000. ISBN 9787101026894.
  2. 2.0 2.1 2.2 "THE COMPLETE MAP OF THE IMPERIALLY ESTABLISHED SOUTH SEA MOUNT PUTUO AREA". Asia Society.
  3. "M.Bingenheimer: Island of Guanyin". OUP.
  4. [1] เก็บถาวร 2018-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน:据史书记载,普陀山上的观音菩萨或现色身,或呈幻相,种种灵异现象不胜枚举,最早的传说便发生在繁盛的大唐,公元847年,一位印度僧人在潮音洞口焚烧十指,礼拜观音,他不但见到观音说法,还亲授七色宝石。
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 "เที่ยวจีน101: ผู่ถัวซาน | 普陀山 | Mount Putuo - Tahuatravel". tahuatravel.com.
  6. 徐春伟.〈去普陀山的客运站,为何像极了布达拉宫?〉.《澎湃新聞》.2018-03-03
  7. 7.0 7.1 "เรื่องพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เสถียร โพธินันทะ/". www.dharma-gateway.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-26. สืบค้นเมื่อ 2021-07-02.
  8. ดอทคอม, เด็กจีเนียส. "พจนานุกรม พุทธศาสน์ คำว่า โพธิมัณฑะ ความหมายคือ..(751) ที่มา หมายถึง คือ อ่านว่า แปลว่า". dekgenius.com.
  9. mount Putuo Island. Encyclopædia Britannica.
  10. "Putuo Mountain เที่ยวผู่โถวซาน ผู่ถัวซาน ผู่ถ่อซาน เกาะเจ้าแม่กวนอิมทะเลใต้". ข้อมูลท่องเที่ยว.
  11. 普陀山南海觀音空中顯聖紀實
  12. 普陀山观音文化园 Baidu Baike, สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2565.
  13. 13.0 13.1 "金螳螂传世之作再造,普陀山观音文化园已正式开园_百科TA说". baike.baidu.com.
  14. "Ancient and valuable tree".
  15. "Introduction of main tree species and their uses(in Chinese)".
  16. "First lecture: putuo mountain, ancient trees and famous trees (in Chinese)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-02.
  17. "Continued: Putuo Mountain, ancient and famous trees". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-02.
  18. ZHAO Ciliang,OU Danyan,HU Junfei; และคณะ (February 2009). "Resource Evaluation and Protection Countermeasure of Ancient and Famous Trees in Putuo Mountain". Journal of Zhejiang Ocean University (Natural Science).{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  19. "The Biological Reason for Endangerment of Carpinus putoensis and Measures for Gene Conservation". Scientia Silvae Sinicae. July 2010.
  20. zheng zhong. "Distribution Status and Protection Countermeasures of Key Protected Tree Species in Putuo Mountain(in Chinese)". Modern Agricultural Science and Technology. 21: 2 – โดยทาง 10.3969/j.issn.1007-5739.2010.21.164.
  21. ""The only son of the earth" - Putuo horns settled in Kunming Botanical Garden (in Chinese)".
  22. Hai Ren, Qianmei Zhang, Hongfang Lu, Hongxiao Liu, Qinfeng Guo, Jun Wang, Shuguang Jian, Hai’ou Bao (2012). "Wild Plant Species with Extremely Small Populations Require Conservation and Reintroduction in China". AMBIO. 41 (8): 913–917. doi:10.1007/s13280-012-0284-3. PMC 3492560. PMID 22562355.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)