เทือกเขาคุนหลุน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทือกเขาคุนหลุน
崑崙山
Kūnlún Shān
เทือกเขาคุนหลุนตะวันตกเมือมองจากทางหลวงทิเบต-ซินเจียง
จุดสูงสุด
ยอดกงเก๋อเอ่อร์ชาน (公格尔山)
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
7,649 เมตร (25,095 ฟุต)
ข้อมูลเชิงขนาด
ยาว2,500 กม. (1,553 ไมล์) N/S
กว้าง E/W
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ประเทศ จีน
มณฑลซินเจียงอุยกูร์, ทิเบต, ชิงไห่
พิกัดเทือกเขา36°N 84°E / 36°N 84°E / 36; 84พิกัดภูมิศาสตร์: 36°N 84°E / 36°N 84°E / 36; 84
ติดต่อกับทะเลทรายโกบี
เทือกเขาคุนหลุน
อักษรจีนคำว่า "คุนหลุน" เขียนแบบง่าย (บน) และแบบดั้งเดิม (ล่าง)
อักษรจีนตัวย่อ昆仑山
อักษรจีนตัวเต็ม崑崙山
ไปรษณีย์Kwenlun Mountains

เทือกเขาคุนหลุน (จีน: 崑崙山; จีน: 昆仑山; พินอิน: Kūnlún Shān) เป็นเทือกเขาที่ยาวที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย มีความยาวมากกว่า 3,000 กิโลเมตร

สภาพทางภูมิศาสตร์[แก้]

เทือกเขาคุนหลุนทอดตัวไปตามชายแดนตะวันตกภูมิของภาคประเทศจีนในแนว ต่อลงไปทางใต้ เคียงข้างเทือกเขาปามีร์ แล้วโค้งไปทางตะวันออก ก่อให้เกิดเทือกเขากั้นพรมแดนทางเหนือของทิเบต เทือกเขานี้ทอดไปตามขอบด้านใต้ ในบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า แอ่งทาริม (Tarim Basin) ทากลามาคาน หรือ ทะเลทราย "บ้านจมทราย" (sand-buried houses) และทะเลทรายโกบี

เทือกเขาแห่งนี้มียอดเขามากกว่า 200 แห่งที่สูงกว่า 6,000 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุด 3 ยอด คือ คองกูรทัค (Kongur Tagh) (7,719 เมตร) ติงเปย (Dingbei) (7,625 เมตร) และมุซทัคอะทา (Muztagh Ata) (7,546 เมตร) ยอดเขาสูงสุดเหล่านี้อยู่ในเทือกเขาอารคาทัค (Arka Tagh) มีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลจากเทือกเขานี้ เช่น แม่น้ำการากาช ('แม่น้ำหยกดำ') และแม่น้ำยุรุงกาช ('แม่น้ำหยกขาว') ซึ่งไหลผ่านโอเอซิสโขตาน ผ่านไปยังทะเลทรายทาคลามาคาน

เทือกเขาอารคาทัคอยู่ในใจกลางของคุนหลุนซาน โดยมียอดเขาอุลุค มุซทัค (6,973 เมตร) ภูเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาคุนหลุนซาน คือ ภูเขาเทพีคุนหลุน (7,167 เมตร) อยู่ในบริเวณเคริยา (Keriya)

สาขาทางใต้ของเทือกเขาคุนหลุน ก่อให้เกิดสันปันน้ำระหว่างบริเวณลุ่มน้ำของแม่น้ำที่ยาวที่สุดของจีนสองสาย นั่นคือแม่น้ำแยงซี และแม่น้ำฮวงโห

เทือกเขาแห่งนี้ก่อให้เกิดขอบด้านเหนือของเพลตอินเดียในช่วงที่เกิดการชน ในตอนปลายยุคไทรแอสซิก กับเพลตยูเรเซียซึ่งก่อให้เกิดการปิดกั้นมหาสมุทรพาเลโอเทธีส (Paleo-Tethys) ในยุคบรรพกาล

ตำนาน[แก้]

เทือกเขาคุนหลุนปรากฏชื่อบ่อยครั้งตำนานปรัมปราของจีน เชื่อกันว่าเป็นแดนสุขาวดีของเต้าหยิน (นักบวชในลัทธิเต๋า) ตามตำนานเล่าว่า บุคคลแรกที่เดินทางไปยังแดนสุขาวดีแห่งนี้ คือ จักรพรรดิโจวมู่ (周穆王) (976-922 ปีก่อนคริสตกาล) แห่งราชวงศ์โจว เล่ากันว่าทรงค้นพบ พระราชวังหยกของจักรพรรดิเหลือง และผู้ก่อกำเนิดวัฒนธรรมจีนนั่นเอง นอกจากนี้แล้วยังทรงพบกับพระนางชีหวังหมู่ 'พระแม่แห่งตะวันตก' ซึ่งเป็นที่บูชาสูงสุดในลัทธิศาสนาโบราณของจีน ซึ่งก้าวไปสู่จุดรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยราชวงศ์ฮั่น และยังกล่าวว่าทรงมีที่ประทับในเทือกเขาแห่งนี้ด้วย

ในนวนิยายกำลังภายใน มีกล่าวถึงเทือกเขาคุนหลุนเอาไว้บ่อยครั้ง

ภาพ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]