อำเภอสะเดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอสะเดา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Sadao
วัดเขารูปช้าง
คำขวัญ: 
เขาเลสะดุดตา บ้านไทย
จังโหลน-ปาดังเบซาร์เลื่องลือนาม
งามถ้ำเขารูปช้าง สวยสล้าง
เขื่อนห้วยคู ประตูสู่มาเลเซีย
แผนที่จังหวัดสงขลา เน้นอำเภอสะเดา
แผนที่จังหวัดสงขลา เน้นอำเภอสะเดา
พิกัด: 6°38′19″N 100°25′26″E / 6.63861°N 100.42389°E / 6.63861; 100.42389
ประเทศ ไทย
จังหวัดสงขลา
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,029.273 ตร.กม. (397.405 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด124,115 คน
 • ความหนาแน่น120.59 คน/ตร.กม. (312.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 90120,
90170 (ตำบลพังลา ท่าโพธิ์ และเขามีเกียรติ) ,
90240 (เฉพาะตำบลทุ่งหมอและปาดังเบซาร์) ,
90320 (เฉพาะหมู่ที่ 1-2, 5-7 ตำบลสำนักขาม)
รหัสภูมิศาสตร์9010
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอสะเดา ถนนกาญจนวนิช ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา 90120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สะเดา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา เป็นอำเภอหนึ่งที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย และเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยมีด่านพรมแดนที่สำคัญถึง 2 ด่าน คือ พรมแดนไทย-มาเลเซีย (รัฐเกอดะฮ์) (ด่านสะเดา) และพรมแดนไทย-มาเลเซีย (รัฐปะลิส) (ด่านปาดังเบซาร์) นอกจากนี้สะเดายังเปรียบเสมือนประตูสู่ประเทศไทยของชาวมาเลเซียและสิงคโปร์

ประวัติ[แก้]

อำเภอสะเดา ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2452 เดิมเป็นตำบล ชื่อตำบลสะเดา ขึ้นอยู่กับจังหวัดไทรบุรี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2452 รัฐบาลไทยได้ยกเมืองกลันตัน ตรังกานู ปะลิสและ ไทรบุรี ตลอดจนเกาะใกล้เคียง ให้กับรัฐบาลอังกฤษ ตามสัญญาลงวันที่ 10 มีนาคม ร.ศ.128 (พ.ศ. 2452) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ไม่ได้ยกตำบลสะเดาให้ไปด้วย จึงได้รวมกับกิ่งอำเภอปริก อำเภอเหนือเมืองสงขลา แขวงเมืองสงขลา และตั้งเป็นอำเภอขึ้นเรียกว่า "อำเภอสะเดา"[1]

และปัจจุบันอำเภอสะเดาเป็นอำเภอชั้น 1 โดยมีขุนสารคามพิทักษ์ ซึ่งเป็นปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอปริก อำเภอเหนือเมืองสงขลา เป็นนายอำเภอคนแรกของอำเภอสะเดา

  • วันที่ 22 สิงหาคม 2452 นำตำบลสะเดา ท้องที่แขวงเมืองไทรบุรี กับกิ่งอำเภอปริก อำเภอเหนือเมืองสงขลา แขวงเมืองสงขลา มารวมและจัดตั้งขึ้นเป็น อำเภอสะเดา[1]
  • วันที่ 30 กันยายน 2482 จัดตั้งเทศบาลตำบลสะเดา ในท้องที่ตำบลสะเดา[2]
  • วันที่ 29 ธันวาคม 2495 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลสะเดา[3] โดยกำหนดให้เขตเทศบาลมีขนาดเล็กลง
  • วันที่ 10 พฤศจิกายน 2496 ตั้งตำบลสำนักแต้ว แยกออกจากตำบลสะเดา[4] (เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลสะเดา ทำให้ส่วนที่อยู่นอกเขตเทศบาลตำบล ต้องจัดตั้งเป็นตำบลใหม่)
  • วันที่ 30 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลพังลา ในท้องที่บางส่วนของตำบลพังลา[5]
  • วันที่ 30 พฤศจิกายน 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลปริก ในท้องที่บางส่วนของตำบลปริก[6]
  • วันที่ 8 สิงหาคม 2510 จัดตั้งสุขาภิบาลปาดังเบซาร์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลทุ่งหมอ[7]
  • วันที่ 26 กรกฎาคม 2526 ตั้งตำบลท่าโพธิ์ แยกออกจากตำบลพังลา[8]
  • วันที่ 16 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลปาดังเบซาร์ แยกออกจากตำบลทุ่งหมอ[9]
  • วันที่ 21 ตุลาคม 2531 ตั้งตำบลสำนักขาม แยกออกจากตำบลสำนักแต้ว[10]
  • วันที่ 15 กันยายน 2532 ตั้งตำบลเขามีเกียรติ แยกออกจากตำบลพังลา[11]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลพังลา สุขาภิบาลปริก และสุขาภิบาลปาดังเบซาร์ เป็นเทศบาลตำบลพังลา เทศบาลตำบลปริก และเทศบาลตำบลปาดังเบซาร์ ตามลำดับ[12] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 28 สิงหาคม 2544 กำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอสะเดา[13] ให้มีความถูกต้องแม่นยำ โดยตำบลสะเดา ให้มีเขตการปกครองตามเขตเทศบาล ตำบลสำนักแต้ว ให้มีเขตการปกครองรวม 10 หมู่บ้าน ตำบลปาดังเบซาร์ ให้มีเขตการปกครองรวม 11 หมู่บ้าน ตำบลปริก ให้มีเขตการปกครองรวม 11 หมู่บ้าน ตำบลพังลา ให้มีเขตการปกครองรวม 7 หมู่บ้าน ตำบลสำนักขาม ให้มีเขตการปกครองรวม 7 หมู่บ้าน ตำบลเขามีเกียรติ ให้มีเขตการปกครองรวม 5 หมู่บ้าน ตำบลทุ่งหมอ ให้มีเขตการปกครองรวม 7 หมู่บ้าน ตำบลท่าโพธิ์ ให้มีเขตการปกครองรวม 8 หมู่บ้าน
  • วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 ยกฐานะเทศบาลตำบลสะเดา ขึ้นเป็น เทศบาลเมืองสะเดา[14]
  • วันที่ 14 กันยายน 2548 ยกฐานะเทศบาลตำบลปาดังเบซาร์ ขึ้นเป็น เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์[15]
  • วันที่ 19 กรกฎาคม 2550 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลพังลา เป็น เทศบาลตำบลคลองแงะ[16]
  • วันที่ 30 สิงหาคม 2555 เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลปาดัง และยกฐานะขึ้นเป็น เทศบาลตำบลปาดัง[17]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอสะเดาตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอสะเดาแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 67 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอสะเดาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองสะเดา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะเดาทั้งตำบล
  • เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลปาดังเบซาร์
  • เทศบาลตำบลปริก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลปริก
  • เทศบาลตำบลคลองแงะ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลพังลา
  • เทศบาลตำบลสำนักขาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำนักขามทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลปาดัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปาดังเบซาร์ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปริก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปริก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลปริก)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพังลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพังลา (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลคลองแงะ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสำนักแต้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำนักแต้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหมอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งหมอทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าโพธิ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขามีเกียรติ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขามีเกียรติทั้งตำบล

สถาบันอุดมศึกษา[แก้]

อำเภอสะเดา มีสถาบันอุดมศึกษาตั้งอยู่ 1 แห่ง คือ วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ[18]

พื้นที่กฎอัยการศึก[แก้]

อำเภอสะเดาเป็นพื้นที่ตามกฎอัยการศึก ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เวลา 11.30 น. ถึงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 รวมเป็นเวลา 24 ปี 1 เดือน 8 วัน

การคมนาคม[แก้]

รถไฟความเร็วสูง (โครงการ) ยังไม่กำหนดสร้าง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งอำเภอสะเดา และอำเภอตากใบ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0 ง): 1107–1108. 22 สิงหาคม 2452. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2020-07-23.
  2. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลสะเดา จังหวัดสงขลา พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 963–966. 30 กันยายน 2482.
  3. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลสะเดา จังหวัดสงขลา พ.ศ. ๒๔๙๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (69 ง): (ฉบับพิเศษ) 41-44. 29 ธันวาคม 2495.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลสำนักแต้วในท้องที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (71 ง): 4558–4560. 10 พฤศจิกายน 2496.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 91-92. 30 พฤษภาคม 2499.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (103 ง): 2956–2957. 30 พฤศจิกายน 2508.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (73 ง): 2134–2135. 8 สิงหาคม 2510. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-07-30. สืบค้นเมื่อ 2020-07-23.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (124 ง): 2458–2460. 26 กรกฎาคม 2526.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (146 ง): 3834–3836. 16 ตุลาคม 2527.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสะเดา และอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (171 ง): (ฉบับพิเศษ) 36-45. 21 ตุลาคม 2531.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (154 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-6. 15 กันยายน 2532.
  12. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-07-23.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 118 (69 ง): 14–41. 28 สิงหาคม 2544.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมือง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 20 ง): 7–8. 20 กุมภาพันธ์ 2547. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-02-28. สืบค้นเมื่อ 2020-07-23.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมือง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 122 (พิเศษ 84 ง): 6. 14 กันยายน 2548. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-07-30. สืบค้นเมื่อ 2020-07-23.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นเทศบาลตำบลคลองแงะ" (PDF). 19 กรกฎาคม 2550. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  17. เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลปาดัง และยกฐานะขึ้นเป็น เทศบาลตำบลปาดัง
  18. วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ