อำพน กิตติอำพน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำพน กิตติอำพน
อำพน ใน พ.ศ. 2553
องคมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
2 ตุลาคม พ.ศ. 2561
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559
(5 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้าสุรชัย ภู่ประเสริฐ
ถัดไปธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2553
(5 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้าจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช
ถัดไปอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 ตุลาคม พ.ศ. 2498 (68 ปี)
คู่สมรสกษมน กิตติอำพน
บุตร2 คน

อำพน กิตติอำพน (เกิด 10 ตุลาคม พ.ศ. 2498) เป็นนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมืองชาวไทย

ประวัติ[แก้]

อำพน กิตติอำพน เป็นบุตรชายคนที่ 4 ของ นายแพทย์กวี กิตติอำพน กับ นางวลี (สกุลเดิม เอื้อวิทยา) กิตติอำพน สำหรับพี่ชายอีก 3 คน คือ 1.นายแพทย์กิตติ กิตติอำพน 2.พล.ร.อ.ฐนิธ กิตติอำพน อดีต นายกสภาสถาปนิก[1] และ 3.น.ท.ดร.กฤษณ์ กิตติอำพน (เสียชีวิต 8 ส.ค.2554)[2]

อำพนจบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากนั้นได้ศึกษาต่อปริญญาโททางด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์ กลับมาสอบเข้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ด้วยคะแนนสูงสุด เริ่มตำแหน่งจากเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เป็นหนึ่งในผู้แทนเจรจาการค้าที่ WTO กลุ่มแรก[3] และต่อมาได้ทุนไปศึกษาต่อปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ที่สหรัฐอเมริกา

ชีวิตส่วนตัวสมรสกับนางกษมน (สกุลเดิม กิตะพานิชย์) มีบุตรชาย 2 คน คือ นายหริต กิตติอำพน และนายกิตพน กิตติอำพน[4]

หลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เป็นที่คาดการณ์ว่าดร.อำพน จะพ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะรัฐมนตรีแต่ ดร.อำพน ไม่ได้ถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปลด ในตำแหน่ง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี จนเกษียณอายุราชการ ภายหลังเกษียณอายุราชการเขาดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการคณะกรรมการบริหารสำนักงานและผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดร.อำพน นับว่าเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ทำงานให้แก่นายกรัฐมนตรีทั้งหมด 3 คน จำนวนมากรองจาก นาย สุรชัย ภู่ประเสริฐ อดีต เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ทำงานให้นายกรัฐมนตรีจำนวนมากที่สุด ทั้งหมด 4 คน

ในขณะที่ พล.ร.อ.ฐนิธ กิตติอำพน พี่ชาย ดร.อำพน พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เขาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552[5]ถึงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 นับเป็นผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในปัจจุบัน

การศึกษา[แก้]

  • ปี 2529 ปริญญาเอก Applied Economics, Clemson University เก็บถาวร 2018-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, South Coralina สหรัฐอเมริกา
  • ปี 2522 ปริญญาโท Economics Policy and Planning, Northeastern University สหรัฐอเมริกา
  • ปี 2520 ปริญญาตรี สาขาสังคมศาสตร์ ศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ประถมศึกษา - มัธยมศึกษา โรงเรียนเซนต์คาเบรียล

การทำงาน[แก้]

เริ่มเข้ารับราชการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2524 ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยคำแนะนำของที่ปรึกษากฎหมายกระทรวง ดร.มาลดี วสีนนท์ และต่อมาได้รับทุนการศึกษาของกระทรวงไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก โดยเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรในขณะนั้น คือ ดร.สมนึก ศรีปลั่ง และปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์) ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.อาชว์ เตาลานนท์ ในปี 2535 และทำหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนตัวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นิพนธ์ พร้อมพันธุ์ ในปี 2537–2538 ในระหว่างปี 2538–2540 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนเกษตรในการเจรจาด้านสินค้าเกษตรของ WTO และ ASEAN[6] และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองปลัดกระทรวงเกษตร[7] ก่อนจะโอนย้ายจากตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งดำรงตำแหน่งรวมระยะเวลา 6 ปี[8] มาเป็น "เลขาธิการคณะรัฐมนตรี" ในปี 2553[9] ตามคำเชิญของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ดร.อำพน กิตติอำพน ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทการบินไทย 5 ปี นานที่สุดในประวัติศาสตร์การบินไทย และเคยเป็นประธานกรรมการบริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด[10]

องคมนตรี,ที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการโครงการจิตอาสาพระราชทาน ๙๐๔ วปร.[11],กรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์[12]สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ อดีตประธานกรรมการคณะกรรมการบริหารสำนักงานและอดีตผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีตาม คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 183/2559 กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์[13]กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์ในคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี[14]และอดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ[15]กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ[16]นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยถึง 2 สมัย[17][18][19] ประธานกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) สวพส.[20] ประธานกรรมการคณะกรรมการบริหารและขับเคลื่อนงานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (มพพ.)[21] รองประธานกรรมการบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) และ ประธานกรรมการคณะกรรมการตรวจสอบของ ปตท.สผ.[22] ประธานอ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการเตรียมกำลังคนภาครัฐ[23] สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[24] เคยดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ประธานกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)[25]

เมื่อนับถึงปี 2558 อำพน ในฐานะ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ถือเป็นข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งซี 11 นานที่สุด อาวุโสสูงสุด ในบรรดาข้าราชการที่เทียบเท่าปลัดกระทรวง ยาวถึง 12 ปี ทำงานให้แก่ 7 รัฐบาล[26] 7 นายกรัฐมนตรี แต่ในฐานะเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เขาทำงานให้แก่ 3 นายกรัฐมนตรี ได้แก่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-26. สืบค้นเมื่อ 2017-07-31.
  2. ชีวประวัติ อำพน กิตติอำพน
  3. การจัดตั้งคณะกรรมการร่วม WTO
  4. อำพน กิตติอำพน กับชีวิตรักที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
  5. สบร.ของบ1.4พันล้านดัน3โปรเจกท์ยักษ์
  6. พชร อิศรเสนา ณ อยุธยา
  7. ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองปลัดกระทรวงเกษตร
  8. "สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 2 พฤศจิกายน 2547". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-03-20. {{cite web}}: line feed character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 29 (help)
  9. ประกาศแต่งตั้งเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
  10. อำพน กิตติอำพน ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทการบินไทย 5 ปี นานที่สุดในประวัติศาสตร์[ลิงก์เสีย]
  11. คำสั่งหน่วยราชการในพระองค์ ๙๐๔ (สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ฯ) ที่ ๘๓/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งที่ปรึกษาและคณะกรรมการอำนวยการโครงการจิตอาสาพระราชทาน ๙๐๔ วปร.
  12. ประกาศแต่งตั้งกรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
  13. สั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 183/2559 กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-26. สืบค้นเมื่อ 2021-10-04.
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  16. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
  17. "ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2015-03-19.
  18. ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
  19. ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
  20. ประธานกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) สวพส.
  21. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-03-19.
  22. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-03-19.
  23. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-28. สืบค้นเมื่อ 2015-03-19.
  24. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-28. สืบค้นเมื่อ 2015-03-19.
  25. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-08. สืบค้นเมื่อ 2015-03-19.
  26. ดำรงตำแหน่งซี 11 นานที่สุด อาวุโสสูงสุด ในบรรดาข้าราชการที่เทียบเท่าปลัดกระทรวง ยาวถึง 12 ปี
  27. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  28. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  29. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๑๗๒, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐
  30. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2019-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๔๖ ข หน้า ๒, ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๒
ก่อนหน้า อำพน กิตติอำพน ถัดไป
สุรชัย ภู่ประเสริฐ
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559)
ธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส
วีรพงษ์ รามางกูร
ประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
(6 สิงหาคม พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2558
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561)
ดร.ปรเมธี วิมลศิริ
จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2553)
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ