หงสาจอมราชันย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หงสาจอมราชันย์
หน้าปกหนังสือ หงสาจอมราชันย์ ฉบับที่ 16
火鳳燎原
แนวปรัชญา, จิตวิทยา, กำลังภายใน
เขียนโดยเฉิน โหม่ว
สำนักพิมพ์ตงลี่คอมิกส์ (ฮ่องกงและไต้หวัน)
สำนักพิมพ์ภาคภาษาไทยบุรพัฒน์

สำนักพิมพ์อื่น
นิตยสารซินเช่าเหนียนรายสัปดาห์ (ฮ่องกง)
ซินเช่าเหยียนไคว่เป้า (ไต้หวัน)
ซังโงกูชิแมกกาซีน (ญี่ปุ่น)
วางจำหน่ายตั้งแต่15 มิถุนายน พ.ศ. 2544
จำนวนเล่ม75 (ฮ่องกง)
73 (ไทย)
หงสาจอมราชันย์
อักษรจีนตัวเต็ม火鳳燎原
อักษรจีนตัวย่อ火凤燎原
ความหมายตามตัวอักษรหงส์ไฟลามทุ่ง

หงสาจอมราชันย์ เป็นซีรีส์การ์ตูนช่องฮ่องกงที่สร้างสรรค์โดยเฉิน โหม่ว เป็นการนำเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์จีนช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นและยุคสามก๊กมาเล่าใหม่ เรื่องราวส่วนใหญ่มีความเกี่ยวพันกับการแสวงผลประโยชน์ของสุมาอี้ตั้งแต่วัยเยาว์[1][2]

ซีรีส์การ์ตูนหงสาจอมราชันย์ขึ้นชื่อเรื่องการใช้ความคิดสร้างสรรค์ตีความเหตุการณ์และบุคคลในสามก๊กในหลายแง่มุม ในขณะที่รายละเอียดหลักของเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ไม่เปลี่ยนแปลงจากประวัติศาสตร์ (เช่น ผลลัพธ์ของยุทธการครั้งสำคัญ การเสียชีวิตของบางตัวละคร) รายละเอียดปลีกย่อยหลายอย่างถูกเปลี่ยนแปลงและสมมติขึ้นใหม่ ยกตัวอย่างเช่นสุมาอี้ซึ่งในเรื่องมีอายุมากกว่าสุมาอี้ตัวจริงในประวัติศาสตร์ ตัวละครอื่น ๆ เช่น เล่าปี่ เตียวจูล่ง เตียวหุย เตียวเสียน และลิโป้ก็มีบทบาทที่แตกต่างจากในบันทึกประวัติศาสตร์และจากแนวคิดนิยมของตัวละคร

เนื้อเรื่องให้ความสำคัญกับการเมืองและการสงครามในยุคสามก๊ก เนื่องจากหนึ่งในจุดเด่นหลักของซีรีส์คือการประลองทางจิตวิทยา การใช้กลยุทธ์และยุทธวิธีทางการทหาร แต่เฉิน โหม่วก็ยังให้ความสำคัญกับการติดตามพัฒนาการของกลุ่มตัวละครเอกโดยตลอด โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับการตอบสนองและทัศนคติต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวตัวละครเหล่านี้

ปัจจุบันหงสาจอมราชันย์ตีพิมพ์ในนิตยสารการ์ตูนของฮ่องกง ไต้หวัน และญี่ปุ่น และมีตีพิมพ์หนังสือการ์ตูนรวมเล่มในจีนแผ่นดินใหญ่ เกาหลี ไทย เวียดนาม และสิงคโปร์เช่นกัน ในประเทศไทยมีลิขสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์บุรพัฒน์

ซีรีส์การ์ตูนหงสาจอมราชันย์ได้รับการดัดแปลงเป็นซีรีส์แอนิเมชัน ฉายทางปีลีปีลีตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2566

เนื้อเรื่อง[แก้]

หงสาจอมราชันย์ เป็นเรื่องที่ดัดแปลงมาจากวรรณกรรมสามก๊กของ หลอ กว้านจง เนื่องจากบันทึกสามก๊กหลายส่วนมีความคลุมเครือ จึงเป็นช่องให้มีการเสริมแต่งเรื่องราวได้จากการอ้างอิงประวัติศาสตร์ เช่น การที่สกุลพ่อค้าที่ทรงอิทธิพล จะชุบเลี้ยงกองทหารและมือสังหาร ในเรื่องจึงให้สกุลสุมามีกลุ่มมือสังหารชื่อซากทัพ ซึ่งรับคนพิการให้มาฝึกเป็นสมาชิก และคอยกระทำการเบื้องหลังประวัติศาสตร์ เช่น การลอบสังหารบุคคลสำคัญ

นอกจากนั้นยังมีการสร้างเรื่องราวว่ากุนซือผู้โด่งดังในยุคนั้น ล้วนแต่เป็นศิษย์ของสุมาเต็กโชผู้เปิดสำนักคันฉ่องวารี โดยมีผู้ที่ความสามารถสูงสุด 8 คน มีชื่อเสียงโด่งดังว่า 8 พิสดาร ได้แก่ อ้วนปึง (ตัวละครที่สร้างขึ้นใหม่ให้เป็นกุนซือของอ้วนเสี้ยว) ซุนฮก กาเซี่ยง กุยแก จิวยี่ บังทอง ขงเบ้ง และสมาชิกคนที่แปดที่ยังไม่เผยตัว ซึ่งกุนซือเหล่านี้ต่างก็แยกย้ายไปรับใช้นายของตน หรือให้คำแนะนำและการสนับสนุนแผนการในเหตุการณ์ต่าง ๆ

เรื่องราวเริ่มขึ้นในช่วงการเข้ายึดเมืองหลวงของตั๋งโต๊ะ โดยเปิดประเด็นไปที่กุนซือของตั๋งโต๊ะชื่อฮือหลิน เดินทางมาสกุลสุมาพ่อค้าที่ทรงอิทธิพลในเมืองโห้ลาย เพื่อเจรจา (ข่มขู่) ให้สนับสนุนตั๋งโต๊ะ สุมาอี้คุณชายรองของสกุลสุมาตระกูลเศรษฐีพอค้า จึงแอบทำการว่าจ้างกลุ่มนักฆ่าซากทัพ ให้ดำเนินภารกิจลอบสังหารฮือหลิน และเป็นจุดเริ่มเรื่องที่สร้างบุญคุณความแค้นต่อตั๋งโต๊ะและลิโป้ ที่สร้างเรื่องราวซับซ้อนต่อมา เช่น สุมาล่งพี่ชายของสุมาอี้รับราชการในเมืองหลวง จึงถูกตั๋งโต๊ะคุมขัง ขบวนการซากทัพส่งสมาชิกชื่อเสี่ยวม่านปลอมตัวเป็นเตียวเสี้ยนเข้ามาเป็นสายลับ และเหลี่ยวหยวนหว่อผู้นำแห่งซากทัพปลอมตัวในชื่อเตียวหุน(เตียวหยุน) เพื่อช่วยสุมาล่ง และได้พบกับเล่าปี่ หลังจากนั้นซากทัพก็ส่งเตียวเสี้ยนปลอมตัวมาเป็นบุตรีบุญธรรมของอ้องอุ้นและร่วมมือกับลิโป้ในการสังหารตั๋งโต๊ะ

เนื้อเรื่องเริ่มจากความสัมพันธ์ฉันท์มิตรที่สนิทสนมของสุมาอี้และเหลี่ยวหยวนหว่อ จนกระทั่งเกิดความไม่ลงรอย เหตุการณ์แตกหัก จนถึงช่วงเวลาที่สุมาอี้ได้ไปรับใช้โจโฉ ขณะที่เหลี่ยวหยวนหว่อทิ้งชื่อตัวเองเพื่อไปรับใช้เล่าปี่ แต่มีการดำเนินเรื่องไปหลากหลายทิศทางในที่ต่าง ๆ แบ่งเป็นช่วงคร่าว ๆ ดังนี้

  • ช่วงเวลาเรืองอำนาจของตั๋งโต๊ะ
  • การก้าวขึ้นสู่อำนาจของโจโฉ
  • เล่าปี่เข้าช่วยซีจิ๋วจากการรุกรานของโจโฉ
  • ซุนเซ็กขึ้นมีอิทธิพลเหนือกังตั๋ง
  • ศึกระหว่างลิโป้และโจโฉที่ซีจิ๋ว
  • จุดจบของซุนเซ็กและอิเกียด
  • ศึกแห่งกัวต๋อระหว่างโจโฉกับอ้วนเสี้ยว (ฉบับล่าสุด)
  • ศึกพาแดงระหว่างโจโฉกับตระกูลเล่า ซุน (ฉบับล่าสุด)
  • ศึกอิเหลงระหว่างเล่าปี่กับซุนกวน
  • การรบครั้งสุดท้ายของสุมาอี้กับขงเบ้ง

ตัวละคร[แก้]

ตระกูลสุมาและซากทัพ[แก้]

ฝ่ายลิโป้[แก้]

ฝ่ายเล่าปี่[แก้]

ฝ่ายโจโฉ[แก้]

ฝ่ายสำนักคันฉ่องวารี[แก้]

ฝ่ายอ้วนเสี้ยว[แก้]

ฝ่ายซุนเซ็ก[แก้]

อื่น ๆ[แก้]


อ้างอิง[แก้]

  1. Zhang Dazhi (張達智), บ.ก. (14 May 2010). 陳某縱橫三國新史詩《火鳳燎原》第38集上市 [Chan Mou's new poetic history of Three Kingdoms diplomacy The Ravages of Time issue 38 released]. Cdnews.com.tw 中央日報網路報 (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2012.
  2. 貂蝉是太监?《火凤燎原》改写三国斗智史. Southcn.com. 2005-03-31. สืบค้นเมื่อ 2013-02-15.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]