สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดระยอง มีเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 5 เขต (สำหรับการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566)[1] และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้ 5 คน จากทั้งหมด 400 คนทั่วประเทศในสภาผู้แทนราษฎรไทย

ประวัติศาสตร์[แก้]

หลังจากที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็น "การเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวของไทย" โดยจังหวัดระยองมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรก คือ หลวงประสานนฤชิต (เดิม อนุกระหานนท์)

เขตเลือกตั้ง[แก้]

การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้ง แผนที่ จำนวน ส.ส.
พ.ศ. 2476 เขตเลือกตั้งที่ 1 : ทั้งจังหวัด 1 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2480
พ.ศ. 2481
พ.ศ. 2489
พ.ศ. 2491
พ.ศ. 2492
พ.ศ. 2495
พ.ศ. 2500/1
พ.ศ. 2500/2
พ.ศ. 2512
พ.ศ. 2518 2 คน (เขตละ 2 คน)
พ.ศ. 2519
พ.ศ. 2522
พ.ศ. 2526 3 คน (เขตละ 3 คน)
พ.ศ. 2529
พ.ศ. 2531
พ.ศ. 2535/1
พ.ศ. 2535/2
พ.ศ. 2538
พ.ศ. 2539
พ.ศ. 2544 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองระยอง (ยกเว้นตำบลแกลง)
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอแกลง, อำเภอวังจันทร์, อำเภอเมืองระยอง (เฉพาะตำบลแกลง) และกิ่งอำเภอเขาชะเมา
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอบ้านค่าย, อำเภอปลวกแดง, อำเภอบ้านฉาง และกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา
3 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2548 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองระยอง [เฉพาะตำบลปากน้ำ ตำบลท่าประดู่ ตำบลเชิงเนิน ตำบลน้ำคอก ตำบลนาตาขวัญ ตำบลบ้านแลง ตำบลตะพง ตำบลเพ ตำบลแกลง ตำบลกะเฉด (ในเขตเทศบาลตำบลแกลงกะเฉด) และตำบลเนินพระ (ในเขตเทศบาลนครระยอง)]
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอแกลงและอำเภอเมืองระยอง [เฉพาะตำบลสำนักทองและตำบลกะเฉด (นอกเขตเทศบาลตำบลแกลงกะเฉด)]
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอบ้านค่าย, อำเภอปลวกแดง, อำเภอวังจันทร์ และกิ่งอำเภอเขาชะเมา
· เขตเลือกตั้งที่ 4 : อำเภอบ้านฉาง, อำเภอเมืองระยอง [เฉพาะตำบลห้วยโป่ง ตำบลมาบตาพุด ตำบลทับมา และตำบลเนินพระ (นอกเขตเทศบาลนครระยอง)] และกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา
4 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2550 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอบ้านฉาง, อำเภอนิคมพัฒนา และอำเภอเมืองระยอง (ยกเว้นตำบลสำนักทองและตำบลกะเฉด)
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอแกลง, อำเภอเขาชะเมา, อำเภอวังจันทร์, อำเภอปลวกแดง, อำเภอบ้านค่าย และอำเภอเมืองระยอง (เฉพาะตำบลสำนักทองและตำบลกะเฉด)
4 คน
(2 เขต เขตละ 2 คน)
พ.ศ. 2554 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองระยอง [ยกเว้นตำบลห้วยโป่ง ตำบลมาบตาพุด ตำบลทับมา และตำบลเนินพระ (นอกเขตเทศบาลนครระยอง)]
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอแกลงและอำเภอเขาชะเมา
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอวังจันทร์, อำเภอบ้านค่าย, อำเภอปลวกแดง และอำเภอนิคมพัฒนา [เฉพาะตำบลมะขามคู่ ตำบลพนานิคม และตำบลนิคมพัฒนา (นอกเขตเทศบาลตำบลมาบข่า)]
· เขตเลือกตั้งที่ 4 : อำเภอบ้านฉาง, อำเภอเมืองระยอง [เฉพาะตำบลห้วยโป่ง ตำบลมาบตาพุด ตำบลทับมา และตำบลเนินพระ (นอกเขตเทศบาลนครระยอง)] และอำเภอนิคมพัฒนา [เฉพาะตำบลมาบข่าและตำบลนิคมพัฒนา (ในเขตเทศบาลตำบลมาบข่า)]
4 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2562 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองระยอง [ยกเว้นตำบลห้วยโป่ง ตำบลมาบตาพุด ตำบลทับมา และตำบลเนินพระ (นอกเขตเทศบาลนครระยอง)]
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอแกลง, อำเภอเขาชะเมา และอำเภอวังจันทร์
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอบ้านค่าย, อำเภอปลวกแดง และอำเภอนิคมพัฒนา [ยกเว้นตำบลมาบข่า (ในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด)][2]
· เขตเลือกตั้งที่ 4 : อำเภอบ้านฉาง, อำเภอเมืองระยอง [เฉพาะตำบลห้วยโป่ง ตำบลมาบตาพุด ตำบลทับมา และตำบลเนินพระ (นอกเขตเทศบาลนครระยอง)] และอำเภอนิคมพัฒนา [เฉพาะตำบลมาบข่า (ในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด)][2]
4 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2566 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองระยอง [เฉพาะตำบลห้วยโป่ง ตำบลมาบตาพุด ตำบลทับมา ตำบลน้ำคอก ตำบลนาตาขวัญ ตำบลบ้านแลง และตำบลเนินพระ (นอกเขตเทศบาลนครระยอง)], อำเภอนิคมพัฒนา [เฉพาะตำบลมาบข่า (ในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด)] และอำเภอบ้านค่าย (เฉพาะตำบลตาขัน)
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอเมืองระยอง [ยกเว้นตำบลห้วยโป่ง ตำบลมาบตาพุด ตำบลทับมา ตำบลน้ำคอก ตำบลนาตาขวัญ ตำบลบ้านแลง และตำบลเนินพระ (นอกเขตเทศบาลนครระยอง)]
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอแกลงและอำเภอเขาชะเมา
· เขตเลือกตั้งที่ 4 : อำเภอวังจันทร์, อำเภอบ้านค่าย (ยกเว้นตำบลตาขัน) และอำเภอปลวกแดง (ยกเว้นตำบลแม่น้ำคู้)
· เขตเลือกตั้งที่ 5 : อำเภอบ้านฉาง, อำเภอนิคมพัฒนา [ยกเว้นตำบลมาบข่า (ในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด)] และอำเภอปลวกแดง (เฉพาะตำบลแม่น้ำคู้)
5 คน (เขตละ 1 คน)

รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต[แก้]

ชุดที่ 1–7; พ.ศ. 2476–2495[แก้]

ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1
ชุดที่ 1 พ.ศ. 2476 หลวงประสานนฤชิต (เดิม อนุกระหานนท์)
ชุดที่ 2 พ.ศ. 2480 นายเสกล เจตสมมา
ชุดที่ 3 พ.ศ. 2481
ชุดที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2489 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์
สิงหาคม พ.ศ. 2489 – (เลือกตั้งเพิ่มเติม)
ชุดที่ 5 พ.ศ. 2491 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์
พ.ศ. 2492 – (เลือกตั้งเพิ่มเติม)
ชุดที่ 7 พ.ศ. 2495 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์

ชุดที่ 8–10; พ.ศ. 2500–2512[แก้]

      พรรคเสรีมนังคศิลา
      ไม่สังกัดพรรคการเมือง
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1
ชุดที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์
ชุดที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2500 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์
ชุดที่ 10 พ.ศ. 2512

ชุดที่ 11–13; พ.ศ. 2518–2522[แก้]

      พรรคสันติชน
      พรรคเกษตรสังคม
      พรรคประชาธิปัตย์
      พรรคกิจสังคม
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1
ชุดที่ 11 พ.ศ. 2518 นายชำนาญ ผุดผ่อง นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์
ชุดที่ 12 พ.ศ. 2519 นายสริน ก้องกฤษฎา นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์
ชุดที่ 13 พ.ศ. 2522 นายสิน กุมภะ นายหอม ทองประเสริฐ

ชุดที่ 14–20; พ.ศ. 2526–2539[แก้]

      พรรคกิจสังคม
      พรรคชาติไทย
      พรรคสหประชาธิปไตย
      พรรคประชาธิปัตย์
      พรรคราษฎร (พ.ศ. 2529)
      พรรคสามัคคีธรรม
      พรรคความหวังใหม่
      พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1
ชุดที่ 14 พ.ศ. 2526 นายสิน กุมภะ นายหอม ทองประเสริฐ นายเสริมศักดิ์ การุญ
ชุดที่ 15 พ.ศ. 2529 นายสมศักดิ์ ชาญด้วยกิจ พลโท ฉลอม วิสมล นายเสริมศักดิ์ การุญ
ชุดที่ 16 พ.ศ. 2531 นายสิน กุมภะ นายสมศักดิ์ ชาญด้วยกิจ นายเสริมศักดิ์ การุญ
ชุดที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2535 นายสิน กุมภะ นายยงยศ อรุณเวสสะเศรษฐ นายเสริมศักดิ์ การุญ
ชุดที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2535 นายจักรพันธุ์ ยมจินดา นายยงยศ อรุณเวสสะเศรษฐ
ชุดที่ 19 พ.ศ. 2538 นายปิยะ ปิตุเดชะ นายยงยศ อรุณเวสสะเศรษฐ นายเสริมศักดิ์ การุญ
ชุดที่ 20 พ.ศ. 2539 นายยงยศ อรุณเวสสะเศรษฐ นายเสริมศักดิ์ การุญ

ชุดที่ 21–22; พ.ศ. 2544–2548[แก้]

      พรรคประชาธิปัตย์
      พรรคไทยรักไทย
      พรรคชาติไทย
เขต ชุดที่ 21 พ.ศ. 2544 ชุดที่ 22 พ.ศ. 2548
1 นายสาธิต ปิตุเตชะ นายยงยศ อรุณเวสสะเศรษฐ
2 นายสิน กุมภะ ร้อยตรี กฤษฎา การุญ
3 นายปิยะ ปิตุเตชะ นายธารา ปิตุเตชะ
4 นายปราโมทย์ วีระพันธ์

ชุดที่ 23; พ.ศ. 2550[แก้]

      พรรคประชาธิปัตย์
เขต ชุดที่ 23 พ.ศ. 2550
1 นายสาธิต ปิตุเตชะ
นายวิชัย ล้ำสุทธิ
2 นายธารา ปิตุเตชะ
นายบัญญัติ เจตนจันทร์

ชุดที่ 24–25; พ.ศ. 2554–2562[แก้]

      พรรคประชาธิปัตย์
      พรรคพลังประชารัฐ
เขต ชุดที่ 24 พ.ศ. 2554 ชุดที่ 25 พ.ศ. 2562
1 นายสาธิต ปิตุเตชะ
2 นายบัญญัติ เจตนจันทร์
3 นายธารา ปิตุเตชะ
4 นายวิชัย ล้ำสุทธิ นายสมพงษ์ โสภณ

ชุดที่ 26; พ.ศ. 2566[แก้]

      พรรคก้าวไกล
เขต ชุดที่ 26 พ.ศ. 2566
1 นางสาวกมนทรรศน์ กิตติสุนทรสกุล
2 นายกฤช ศิลปชัย
3 นายนครชัย ขุนณรงค์ (ลาออก)
นายพงศธร ศรเพชรนรินทร์
(แทนนายนครชัย)
4 นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ
5 นางสว่างจิตต์ เลาหะโรจนพันธ์

รูปภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดจะพึงมี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (14 ก): 38–42. 3 มีนาคม 2566.
  2. 2.0 2.1 "แก้ไขข้อความคลาดเคลื่อน ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง [ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๑๐๑ ก วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑] เรื่อง จำนวนสมาชิกผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และจำนวนเขตเลือกตั้ง แบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด [ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกาเล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๑๐ ก วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๒]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (15 ก): 18. 5 Feb 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]