สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีวิทยุ มก.
Radio KU
สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พื้นที่กระจายเสียงครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศไทย
ความถี่เอเอ็ม 1,107 กิโลเฮิร์ตซ์
เอเอ็ม 612 กิโลเฮิตซ์
เอเอ็ม 1,314 กิโลเฮิตซ์
เอเอ็ม 1,269 กิโลเฮิตซ์
สัญลักษณ์เกษตร ศาสตร์แห่งแผ่นดิน
แบบรายการ
ภาษาไทย ไทย
รูปแบบเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร และผลการวิจัย สู่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป
การเป็นเจ้าของ
เจ้าของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
ประวัติ
เริ่มกระจายเสียงพ.ศ. 2504 (ออกอากาศเป็นทางการเมื่อ 20 กันยายน พ.ศ. 2504<
ข้อมูลทางเทคนิค
พิกัดสถานีส่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
ลิงก์
เว็บไซต์[1]

สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Radio Station Kasetsart University) เป็นวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตรและบริการสาธารณะ โดยเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเผยแพร่ในระบบ A.M. Stereo ที่มีผู้ฟังมากที่สุด[1] โดยเน้นการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศทางการเกษตรและบริการชุมชนครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ

ประวัติ[แก้]

พ.ศ. 2492 อธิการบดีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในสมัยนั้น คุณหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (ทองดี เรศานนท์) ส่งเสริมและเผยแพร่และชักจูงให้คนไทยหันมาสนใจในวิชาการเลี้ยงไก่สมัยใหม่ โดยผ่านวิทยุกระจายเสียง นับว่าได้ผลดีมาก[ต้องการอ้างอิง] และกระจายสู่เกษตรกรได้รวดเร็ว

สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2504[2] เริ่มต้นด้วยเครื่องส่งที่มีกำลังออกอากาศเพียง 250 วัตต์

ระบบการแพร่สัญญาณ[แก้]

ปัจจุบัน สถานีวิทยุ ม.ก. ออกอากาศด้วยกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ (เชียงใหม่ 5 กิโลวัตต์) โดยถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียม "ไทยคม 1" ในระบบ เอ.เอ็ม. สเตอริโอ อยู่ 4 สถานีด้วยกันคือ

สถานีวิทยุ ม.ก. บางเขน[แก้]

ออกอากาศด้วยกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ ที่ความถี่ 1,107 กิโลเฮิตซ์ สำหรับสถานีวิทยุ ม.ก. บางเขน นั้นส่งออกอากาศจากสถานีออกอากศ ณ ที่ตำบลสวนหลวง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยถ่ายทอดสัญญาณไปจากสำนักส่งเสริมฯ บางเขน ด้วยเพราะว่าที่ตั้งของวิทยาเขตบางเขน เป็นทางขึ้นลงของเครื่องบิน ของท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย และท่าอากาศยานทหารดอนเมือง (บน.6) กองทัพอากาศ จึงไม่สามารถนำสายนำสัญญาณลากไปเชื่อมสายอากาศที่ติดตั้งบนเสาอากาศที่มีความสูงมากๆได้

สถานีวิทยุ ม.ก.เชียงใหม่[แก้]

ออกอากาศด้วยกำลังส่ง 5 กิโลวัตต์ ที่ความถี่ 612 กิโลเฮิตซ์

สถานีวิทยุ ม.ก.ขอนแก่น[แก้]

ออกอากาศด้วยกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ ที่ความถี่ 1,314 กิโลเฮิตซ์

สถานีวิทยุ ม.ก. สงขลา[แก้]

ออกอากาศด้วยกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ ที่ความถี่ 1,269 กิโลเฮิตซ์ [3]

ระบบข่ายสื่อสาร[แก้]

  1. ระบบ SSB (Single Side Band) เป็นระบบการสื่อสารที่สามารถติดต่อได้ตั้งแต่ระยะปานกลาง ไปจนถึงระยะไกล เพื่อใช้ติดต่อระหว่างสถานีวิทยุ ม.ก.ส่วนกลาง กับสถานีวิทยุ ม.ก.ต่างจังหวัด เพราะสถานีวิทยุ ม.ก. ในต่างจังหวัดในขณะนั้นไม่มีโทรศัพท์ การติดต่อจำเป็นต้องใช้วิทยุสื่อสารระบบ SSB ซึ่งสามารถติดต่อได้ทั่วประเทศ โดยใช้ความถี่ 79.35 kHz และ 7698 kHz
  2. ระบบ VHF (Very High Frequency) เป็นข่ายสื่อสารสำหรับติดต่อทั้งในระยะใกล้และระยะไกล มีความถี่ย่าน VHF เป็นของตัวเองถึง 2 ความถี่ คือ 142,200 เม็กกะเฮิตซ์ และความถี่ 142,700 เม็กกะเฮิตซ์
  3. ระบบ UHF (Utra High Frequency)วิทยุโทรศัพท์ระหว่าง 2 วิทยาเขตใช้ความถี่ 995 และ 925 เมกกะเฮิตซ์ นอกจะนำมาใช้ในการติดต่อวิทยุโทรศัพท์แล้ว ยังนำมาใช้เป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไปยังวิทยาเขตกำแพงแสนของเครือข่ายนนทรีเน็ต และโครงข่าย Uninetอีกด้วย

คลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์[แก้]

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เคยได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ แต่ได้คืนคลื่นความถี่แล้ว

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-07-17.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-14. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-08. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.