คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พิกัด: 13°50′57″N 100°33′49″E / 13.8490444°N 100.56370°E / 13.8490444; 100.56370
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Faculty of Nursing,
Kasetsart University
ชื่อย่อพย./NS.
สถาปนา26 มิถุนายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 306 วัน)
คณบดีรองศาสตราจารย์พลตรีหญิง ดร.สายสมร เฉลยกิตติ (รักษาการ)
ที่อยู่
เลขที่ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
สี███ สีเขียวมรกต
มาสคอต
ตะเกียงไนติงเกล
เว็บไซต์nurse.ku.ac.th
fb.com/KU.Nurse

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อังกฤษ : Faculty of Nursing, Kasetsart University) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 [1] เพื่อดำเนินการจัดการเรียนการสอน วิจัย เพื่อการผลิตพยาบาล และสนับสนุนโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แก่ประชาชนในบริบทของเวชศาสตร์การเกษตรและชีวนวัตกรรม (Agro-Medicine and Bio-Innovation) ภายใต้โครงการอุทยานการแพทย์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [2]

ประวัติ[แก้]

  • พ.ศ. 2565 สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๖๕ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้มีข้อเสนอแนะให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัดตั้งคณะที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น คณะพยาบาลศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ เป็นต้น [3] ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 11/2565 วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 อนุมัติจัดตั้ง โครงการอุทยานการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [4] บนพื้นที่ส่วนกลางบางเขน ตามที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์) ได้มอบหมายให้รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบัณฑิตขั้นสูงฯ (รองศาสตราจารย์ ดร. สมหวัง ขันตยานุวงศ์) นำเสนอข้อมูลต่อที่ประชุม กล่าวคือ โครงการอุทยานการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระยะแรกเป็นการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และระยะที่สองเป็นการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์
  • พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อการจัดต้ังคณะพยาบาลศาสตร์ และพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ โดยมีรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบัณฑิตขั้นสูงฯ (รองศาสตราจารย์ ดร. สมหวัง ขันตยานุวงศ์) เป็นประธาน ตามประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2566
  • ดร. จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะ (รองศาสตราจารย์ ดร. สมหวัง ขันตยานุวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบัณฑิตขั้นสูงฯ รองศาสตราจารย์ พลเอก นพ. ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์ รักษาการแทนคณบดีคณะแพทยศาสตร์ และนางสุชีรา จรรยามั่น ผู้อำนวยการกองบริหารยุทธศาสตร์) เข้านำเสนอข้อมูล โครงการอุทยานการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566 ดร. จงรัก วัชรินทร์รัตน์ และคณะ ได้เข้าชี้แจงต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และที่ประชุม ครม. ลงมติอนุมัติโครงการอุทยานการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ระยะแรก พ.ศ. 2567-2572) จำนวน 8,863,934,300 บาท[5] อันประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  โดยเป็นงบประมาณสำหรับครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้าง และบุคลากรของคณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และในระยะที่สองตั้งแต่ พ.ศ. 2572 เป็นต้นไป จะเป็นในส่วนของคณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์[6]
  • ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 6/2566 วันที่ 26 มิถุนายน 2566 ได้มีมติอนุมัติจัดตั้ง "คณะพยาบาลศาสตร์" รายละเอียดตามประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่องการจัดต้ังส่วนงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ทั้งนี้เพื่อรองรับการจัดตั้งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้โครงการอุทยานการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [7][8] ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ดำเนินการ แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน คือ รองศาสตราจารย์ พลตรีหญิง ดร.สายสมร เฉลยกิตติ (อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก) และพันเอกหญิงรุ่งทิวา พิมพ์สักกะ (อดีตรองผู้อำนวยการกองการพยาบาล โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า) เพื่อดำเนินการในการจัดทำหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ทั้งนี้ การจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังเป็นการสนับสนุนการเพิ่มจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ให้กับประเทศชาติ ที่มีความต้องการเพิ่มอัตราตำแหน่งแพทย์ ประมาณ 35,000 คน พยาบาล ประมาณ 140,000 คน อีกด้วย

โครงการอุทยานการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[แก้]

ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 11/2565 วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 อนุมัติจัดตั้ง โครงการอุทยานการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [9] บนพื้นที่ส่วนกลางบางเขน ตามที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์) ได้มอบหมายให้รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบัณฑิตขั้นสูงฯ (รองศาสตราจารย์ ดร. สมหวัง ขันตยานุวงศ์) นำเสนอข้อมูลต่อที่ประชุม กล่าวคือ โครงการอุทยานการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระยะแรกเป็นการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และระยะที่สองเป็นการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ ซึ่งต่อมามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำโดย ดร. จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะ (รองศาสตราจารย์ ดร. สมหวัง ขันตยานุวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบัณฑิตขั้นสูงฯ รองศาสตราจารย์ พลเอก นพ. ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์ รักษาการแทนคณบดีคณะแพทยศาสตร์ และนางสุชีรา จรรยามั่น ผู้อำนวยการกองบริหารยุทธศาสตร์) เข้านำเสนอข้อมูลต่อกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566 ดร. จงรัก วัชรินทร์รัตน์ และคณะ ได้เข้าชี้แจงต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และที่ประชุม ครม. ลงมติอนุมัติโครงการอุทยานการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ระยะแรก พ.ศ. 2567-2572) จำนวน 8,863,934,300 บาท [10] อันประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  โดยเป็นงบประมาณสำหรับครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้าง และบุคลากรของคณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และในระยะที่สองตั้งแต่ พ.ศ. 2572 เป็นต้นไป จะเป็นในส่วนของคณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์

หลักสูตร[แก้]

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.)

  • สาขาพยาบาลศาสตร์
    (เปิดรับนิสิตรุ่นแรกภายใต้คณะพยาบาลศาสตร์ ปีการศึกษา 2568) [11]

หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)

  • หลักสูตรในอนาคต

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • หลักสูตรในอนาคต

หลักสูตรพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พย.ด.)

  • หลักสูตรในอนาคต

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • หลักสูตรในอนาคต

หน่วยงาน[แก้]

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะประกอบไปด้วยหน่วยงาน ภาควิชา ประกอบด้วย 6 ภาควิชา สำนักงานเลขานุการ 6 งาน และศูนย์วิจัยและบริการวิชาการทางการพยาบาลศาสตร์ 6 งาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

หน่วยงานภายในคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ภาควิชา หน่วยงานวิจัย พัฒนา และสนับสนุน
  • ภาควิชาการพยาบาลพื้นฐาน
  • ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารก ผดุงครรภ์
  • ภาควิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น
  • ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
  • ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์
  • ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและสิ่งแวดล้อม
  • สำนักงานเลขานุการ
    • งานบริหารและธุรการ
    • งานคลังและพัสดุ
    • งานบริการการศึกษา
    • งานแผนและพัฒนาคุณภาพ
    • ศูนย์การเรียนรู้การปฏิบัติการพยาบาลเสมือนจริง
    • ศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศ
  • ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการทางการพยาบาลศาสตร์
    • งานวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์
    • งานระบาดวิทยาและสถิติ
    • งานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
    • งานวิจัยคลินิก
    • งานบริการวิชาการ
    • งานวารสารพยาบาล

รายนามประธานคณะกรรมการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์/รักษาการแทนคณบดี/คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์[แก้]

รายนามประธานคณะกรรมการเพื่อการจัดตั้ง/รักษาการแทนคณบดี/คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์
ลำดับ ตำแหน่งทางวิชาการ รายนาม การศึกษาสูงสุด ชื่อตำแหน่งบริหาร ระยะเวลา หมายเหตุ
1 รองศาสตราจารย์ ดร.สมหวัง ขันตยานุวงศ์ Doctor of Philosophy (Biomaterial Sciences), The University of Tokyo, Japan ประธานคณะกรรมการเพื่อการจัดตั้งฯ 6 ม.ค. 2566 - 25 มิ.ย. 2566 รองอธิการบดี
2 รองศาสตราจารย์ พลตรีหญิง ดร.สายสมร เฉลยกิตติ [12] Doctoral of Counseling Psychology รักษาการแทนคณบดี 26 มิ.ย. 2566 – ปัจจุบัน

อัตลักษณ์[แก้]

  • สีประจำคณะพยาบาลศาสตร์ : สีเขียวมรกรต
  • ดอกไม้ประจำคณะ : ดอกนนทรี

ความร่วมมือทางวิชาการ[แก้]

  • กองทัพบก
  • มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช โดยคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ รับเป็นสถาบันพี่เลี้ยงให้กับคณะพยาบาลศาสตร์ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566 [13] [14]


สถาบัน องค์กร ความร่วมมือกับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถาบันพี่เลี้ยง สังกัด ที่ตั้ง
คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

ดูเพิ่ม[แก้]

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เคยรับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระเป็นสถาบันสมทบในหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ โดยสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีมติรับเป็นสถาบันสบทบ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 และได้มีพระราชกฤษฎีกาให้วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ เป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี พ.ศ. 2546 (พรก. เล่ม 120 ตอนที่ 35 ก. ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2546) ถือได้ว่าเป็นบัณฑิตในหลักสูตรพยาบาลศาสตร์[ลิงก์เสีย]ที่มีมาก่อนหน้านี้ [15] โดยบัณฑิตในหลักสูตรก่อนหน้านี้จะมีสีพู่ชุดครุยเป็นสีเหลืองราชพฤกษ์ [16] ปัจจุบัน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ หน่วยงานในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ภายหลังราชกิจจานุเบกษาเล่ม 136 ตอนที่ 43 ก หน้า 50 ได้ประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562 [17] โดยให้สถาบันพระบรมราชชนกเป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุข สามารถออกปริญญาบัตรขั้นสูงเองได้โดยไม่ต้องไปสมทบกับสถาบันการศึกษาอื่น และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระจึงได้ไปใช้หลักสูตรของสถาบันพระบรมราชชนก และต่อมามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้สถาปนา "คณะพยาบาลศาสตร์" เป็นคณะวิชาในสังกัดของตนเอง ขึ้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 โดยมีสีประจำคณะและสีพู่ชุดครุยบัณฑิต คือ สีเขียวมรกรต มีรหัสสี คือ #008020

13°50′57″N 100°33′49″E / 13.8490444°N 100.56370°E / 13.8490444; 100.56370

อ้างอิง[แก้]

  1. สยามรัฐ ออนไลน์ , สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีมติอนุมัติจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ เรียกดูเมื่อวันที่ 2023-06-26
  2. สรุปการประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 11/2565 วันที่ 28 พ.ย.65 เรียกดูเมื่อวันที่ 2022-12-15
  3. ระเบียบวาระการประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ ๖/๒๕๖๖ วันจันทร์ที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖ สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2566
  4. สรุปการประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 11/2565 วันที่ 28 พ.ย.65 เรียกดูเมื่อวันที่ 2022-12-15
  5. ฐานเศรษฐกิจ-ธุรกิจ ประจำวันที่ 24 มกราคม 2566 ครม.จัดเต็มทิ้งทวนงบกว่า 3 แสนล้านบาท หลังสารพัดหน่วยงานเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายปี 2567 รวมทั้งขออนุมัติรายการผูกพันข้ามปีโครงการใหญ่วงเงินเกินพันล้านบาทเข้ามาขอความเห็นชอบ เข้าถึงเมื่อ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2566
  6. ประชาชาติธุรกิจ, คณะแพทย์ ม.เกษตรฯ รับนิสิตรุ่นแรกปี’ 67 พยาบาล-เภสัช-ทันตะ ระยะถัดไป, 1 มีนาคม 2566 เข้าถึงเมื่อ 2 กรกฎาคม 2566
  7. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566 ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2566 ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2566 เล่มที่ 140 ตอนพิเศษ 193 ง หน้าที่ 86 สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567
  8. สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีมติอนุมัติจัดตั้ง "คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" เรียกดูเมื่อวันที่ 2023-06-27
  9. สรุปการประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 11/2565 วันที่ 28 พ.ย.65 เรียกดูเมื่อวันที่ 2022-12-15
  10. ฐานเศรษฐกิจ-ธุรกิจ ประจำวันที่ 24 มกราคม 2566 ครม.จัดเต็มทิ้งทวนงบกว่า 3 แสนล้านบาท หลังสารพัดหน่วยงานเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายปี 2567 รวมทั้งขออนุมัติรายการผูกพันข้ามปีโครงการใหญ่วงเงินเกินพันล้านบาทเข้ามาขอความเห็นชอบ เข้าถึงเมื่อ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2566
  11. คณะ/วิทยาลัยที่เปิดสอน สืบค้นเมื่อ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
  12. คำสั่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ 1443/2566 เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาการแทนคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ สั่ง ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2566 เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2566
  13. [1]คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชและคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงนามบันทึกข้อตกลง MOU ร่วมมือผลิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566
  14. สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีมติอนุมัติจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 26 มิ.ย.เป็นต้นไป เพื่อผลิตบุคลากรรองรับโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดึงมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นพี่เลี้ยง เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2566
  15. สำนักงาน กพ., การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ. ตามหนังสือ สำนักงาน ก.พ. ที่ นร 104/ ว.26 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 หน้าที่ 70 สืบค้นวันที่ 23 มกราคม 2567
  16. ฐานข้อมูลหลักสูตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อ วันที่ 3 กรกฎาคม 2566
  17. "พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-11. สืบค้นเมื่อ 2019-10-17.


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]