พระราชพิธีรัชดาภิเษก พ.ศ. 2514

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชพิธีรัชดาภิเษก พ.ศ. 2514
ตราสัญลักษณ์
วันที่8–10 มิถุนายน พ.ศ. 2514
ประเทศประเทศไทย ไทย
เหตุการณ์ถัดไปพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. 2531
จัดโดยไทย รัฐบาลไทย

พระราชพิธีรัชดาภิเษก (อังกฤษ: Ceremonial Ratchadapisek silver jubilee Ceremonial 25 years of celebrations 9th june 1971) เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้น เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 25 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2514 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีหมายกำหนดการจัดงานพระราชพิธีรัชดาภิเษก ระหว่างวันที่ 8-10 มิถุนายน พุทธศักราช 2514 รวมทั้งสิ้น 3 วัน รัฐบาลในสมัยของจอมพล ถนอม กิตติขจร และประชาชนชาวไทยร่วมกันจัดพระราชพิธีนี้ขึ้น ดังปรากฏเป็นเหตุการณ์ดังต่อไปนี้

พระราชพิธี[แก้]

วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พุทธศักราช 2514[แก้]

เวลา 08.00 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนิน ทรงตรวจพลสวนสนาม และ ทอดพระเนตร การแสดงแสนยานุภาพของกองทัพไทย ณ ถนนราชดำเนินกลาง ช่วงบริเวณวงเวียน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2514[แก้]

เวลา 10.00 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ภายในพระบรมมหาราชวัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อกราบบังคมทูลพระกรุณา ถวายพระพรชัยมงคล แทน พระบรมวงศานุวงศ์

วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พุทธศักราช 2514[แก้]

เวลา 11.30 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จออก ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้คณะทูตานุทูตต่างประเทศ และผู้แทนกงสุล เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคล

เวลา 16.00 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมายัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระสงฆ์ 80 รูป เจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพร ภายในพระอุโบสถ จากนั้น เสด็จพระราชดำเนิน ไปที่หน้าพระอุโบสถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้บรรพชิตจีนนิกาย และอนัมนิกาย ถวายพระพรชัยมงคล จากนั้น จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับ

รัฐพิธี[แก้]

รัฐบาลไทยได้เตรียมการจัดรัฐพิธี เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก พ.ศ. 2514 โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2514 เวลา 19.00 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนิน ทรงร่วมงานสโมสรสันนิบาต ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

ตราสัญลักษณ์[แก้]

ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีรัชดาภิเษก 9 มิถุนายน 2514 มีลักษณะเป็นรูปพระมหามงกุฎ ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า มีรัศมีแผ่โดยรอบ ตั้งอยู่บนวิมานเมฆ ระหว่างพระมหามงกุฎและพาน มีตราอุณาโลมหรือเลข 9 อันหมายถึง รัชกาลที่ 9 ข้างพานมีราชสีห์และคชสีห์ ค้ำจุนขนาบเศวตฉัตรซ้ายขวา ส่วนล่างมีอักษร "รัชดาภิเษก ๙ มิถุนายน ๒๕๑๔" และแถบข้อความ "ที่ระลึกพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี"[1]

ตราสัญลักษณ์นี้ มีปรากฏใช้เพียงสองแห่ง คือบนพัดรองจำนวน 200 เล่ม เพื่อถวายแต่พระสงฆ์ ตั้งแต่ชั้นเจ้าคณะจังหวัดขึ้นไป ตามโบราณราชประเพณี และหนังสือที่ระลึก ซึ่งจัดพิมพ์ขึ้นในโอกาสนี้ มิได้มีใช้ทั่วไป[1]

อนึ่ง ตราสัญลักษณ์ที่ปรากฏ บนพัดรองที่ระลึกทั้ง 200 เล่มนั้น ข้อความที่ว่า "ที่ระลึกพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี" กลับขึ้นไปอยู่ตอนบน โดยไม่มีแถบในตอนล่าง[2]

ของที่ระลึก[แก้]

เหรียญรัชดาภิเษก

เหรียญที่ระลึก[แก้]

  • เหรียญรัชดาภิเษก

ถนนรัชดาภิเษก[แก้]

ถนนรัชดาภิเษก ช่วงทางแยกอโศกมนตรี

โรงเรียนรัชดาภิเษก[แก้]

รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทขอพระราชทาน จัดตั้งโรงเรียนพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสมหามงคลนี้ โดยจัดตั้งโรงเรียนระดับสามัญศึกษา ขึ้น จำนวน 9 โรง ทั่วพระราชอาณาจักร แต่ละโรงได้รับนามราชทานว่า "รัชดาภิเษก" ประกอบกับชื่ออำเภออันเป็นที่ตั้ง ดังนี้

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ศิลปากร, กรม. ตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2542. หน้า 22.
  2. เล่าเรื่องในเมืองไทย : พัดประจำรัชกาลที่ 9 พัดที่ระลึกการครองราชย์ เก็บถาวร 2016-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก ผู้จัดการออนไลน์ อ้างเมื่อ 3 พฤษภาคม 2550