ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น
ประเภท | พลังงาน ธุรกิจการกลั่น ผลิตสารอะโรเมติกส์ |
---|---|
ก่อนหน้า | บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ATC) บริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด (มหาชน) (RRC) |
ก่อตั้ง | 27 ธันวาคม พ.ศ. 2550 |
บุคลากรหลัก | สมหมาย โค้วคชาภรณ์ (ประธานกรรมการ) [1] บวร วงศ์สินอุดม (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่) |
เว็บไซต์ | pttar.com |
บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทด้านพลังงานของไทยที่เกิดจากการควบรวมกิจการระหว่าง บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ATC) และ บริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด (มหาชน) (RRC) ปัจจุบันยุบเลิกและรวมกิจการกับบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) จัดตั้งเป็นบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ที่ตั้ง
[แก้]- สำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่ 555/1 ศูนย์เอ็นเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารเอ ชั้น 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
- โรงกลั่นน้ำมัน เลขที่ 8 ถนนไอ-แปด นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 21150
- โรงงานอะโรเมติกส์ หน่วยที่ 1 เลขที่ 4 ถนนไอ-สอง นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 21150
- โรงงานอะโรเมติกส์ หน่วยที่ 2 เลขที่ 98/9 ถนนทางหลวงระยองสาย 3191 นิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 21150
ธุรกิจและผลิตภัณฑ์
[แก้]ธุรกิจการกลั่นน้ำมัน | ธุรกิจอะโรเมติกส์ | |
---|---|---|
PTTAR ใช้กระบวนการกลั่นแบบ Complex และหน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท มีความยืดหยุ่นในการใช้วัตถุดิบสูง โดยสามารถเลือกใช้น้ำมันดิบ/คอนเดนเสทได้หลากหลาย
อีกทั้งยังมีอัตราส่วนความสามารถในการแปรรูปและการกำจัดกำมะถันออกจากผลิตภัณฑ์น้ำมันในสัดส่วนที่สูง จึงสามารถเปลี่ยนแปลงสภาพหรือเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ไฮโดรคาร์บอนที่มีมูลค่าต่ำ เช่น น้ำมันดิบชนิดหนัก ให้เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ที่มีคุณภาพสูงได้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในช่วงเวลาต่างๆ |
ใช้เทคโนโลยีผลิตสารอะโรเมติกส์ของบริษัท UOP ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีการปรับปรุง/พัฒนาการอย่างสม่ำเสมอจนได้รับการยอมรับในระดับโลก ประกอบกับการออกแบบโรงงานทั้ง 2 แห่ง
ให้มีการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์ระหว่างกันเพื่อให้สามารถ Maximize การผลิตสารพาราไซลีนและเบนซีน ได้แก่ - ใช้มิกส์ไซลีนที่ผลิตได้จากหน่วยผลิตที่ 1 เป็นวัตถุดิบในการผลิตพาราไซลีนในหน่วยผลิตที่ 2 - ใช้โทลูอีนที่ผลิตได้จากหน่วยผลิตที่ 2 เป็นวัตถุดิบในการผลิตพาราไซลีน/เบนซีนในหน่วยผลิตที่ 1 | |
กำลังการผลิต | (หน่วย : บาร์เรล/วัน)
หน่วยกลั่นน้ำมันดิบ 145,000 หน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท 1 70,000 หน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท 2 * 65,000 |
(หน่วย : ตัน/ปี) หน่วยผลิต 1 หน่วยผลิต 2 * รวม |
ธุรกิจการกลั่น
[แก้]บริษัทดำเนินการกลั่นน้ำมันและจัดหาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปซึ่งประกอบด้วย
(1) น้ำมันสำเร็จรูปชนิดเบา ประกอบด้วย ก๊าซปิโตรเลียมเหลว แนฟทาชนิดเบา และรีฟอร์เมท
(2) น้ำมันสำเร็จรูปกึ่งหนักกึ่งเบา ซึ่งประกอบด้วย น้ำมันอากาศยาน และน้ำมันดีเซล
(3) น้ำมันสำเร็จรูปชนิดหนัก ซึ่งประกอบด้วย น้ำมันเตา
ปัจจุบันมีหน่วยกลั่นน้ำมันทั้งสิ้น 2 หน่วยซึ่งประกอบด้วยหน่วยกลั่นน้ำมันดิบและหน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท (หน่วยผลิตรีฟอร์เมอร์ 1)
ภายหลังจากโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 แล้วเสร็จบริษัทจะมีหน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท (หน่วยผลิตรีฟอร์เมอร์ 2) โดยมีรายละเอียดดังนี้
กลั่นน้ำมัน | กำลังการกลั่น (บาร์เรลต่อวัน) | รายละเอียด |
---|---|---|
หน่วยกลั่นน้ำมันดิบ> | 145,000 | โรงกลั่นน้ำมันแบบ Complex ที่มีหน่วย Hydrocracker และ Visbreaker ซึ่งสามารถเปลี่ยนน้ำมันเตาเป็นน้ำมันสำเร็จรูปชนิดกึ่งหนักกึ่งเบา
ซึ่งทำการกลั่นน้ำมันดิบเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปเป็นหลัก ซึ่งอาจรวมถึงการผลิตรีฟอร์เมทเพื่อส่งให้กับหน่วยผลิตอะโรเมติกส์ |
หน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท 1 | 70,000 | >หน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท1 (หน่วยผลิตรีฟอร์เมอร์ 1) จะทำการผลิตรีฟอร์เมทเพื่อส่งให้กับหน่วยผลิตอะโรเมติกส์เพื่อผลิตสารอะโรเมติกส์ |
หน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท 2
/ Upgrading Complex |
65,000 | หน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท 2 (หน่วยผลิตรีฟอร์เมอร์ 2) และ Upgrading Complex ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยหน่วยผลิตรีฟอร์เมอร์จะหน้าที่ผลิตรีฟอร์เมท
เพื่อส่งให้กับหน่วยผลิตอะโรเมติกส์ หน่วย Upgrading จะผลิตน้ำมันปิโตรเลียมสำเร็จรูปจากคอนเดนเสท เรซิดิวที่เกิดขึ้นจากกระบวนการกลั่นแยกคอนเดนเสท |
รวม | 280,000 |
ธุรกิจปิโตรเคมี
[แก้]บริษัทเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ขั้นต้น ได้แก่ เบนซีน พาราไซลีน ออร์โธไซลีน โทลูอีน มิกซ์ไซลีนส์ รวมถึงการผลิตสารไซโคลเฮกเซนซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องนอกจากนี้ยังผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นๆ ที่ได้จากกระบวนการผลิต ได้แก่ แนฟทาชนิดเบา แรฟฟิเนท ก๊าซปิโตรเลียมเหลว คอนเดนเสท เรซิดิว และ สารอะโรเมติกส์หนักโดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ
บริษัทมีหน่วยผลิตอะโรเมติกส์ จำนวน 2 หน่วยดังนี้ หน่วย:ตันต่อปี
ผลิตภัณฑ์ | หน่วยอะโรเมติกส์ 1 (AR2) | หน่วยอะโรเมติกส์ 2 (AR3) | รวม |
---|---|---|---|
พาราไซลีน | 540,000 | 655,000 | 1,195,000 |
เบนซิน | 307,000 | 355,000 | 662,000 |
ไซโคลเฮกเซน | 200,000 | - | 200,000 |
ออร์โธไซลีน | 66,000 | - | 66,000 |
มิกซ์ไซลีนส์ | 76,000 | - | 76,000 |
โทลูอีน | - | 60,000 | 60,000 |
รวม | 1,189,000 | 1,070,000 | 2,259,000 |
ธุรกิจบริษัทร่วมทุน
[แก้]PTTAR ได้มีการดำเนินการร่วมทุนกับบริษัทอื่น เพื่อแสวงหาโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจ รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้และดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่จะสร้างผลกำไรและการเติบโตอย่างยั่งยืน ดังนี้
บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด ( PPCL)
PPCL เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง PTTAR ปตท. และปตท.เคมิคอล ในสัดส่วนร้อยละ 30/40/30 เพื่อผลิตและจำหน่ายสารฟีนอล และสารอะซีโตน โดย PPCL จะรับเบนซี นจาก PTTAR เพื่อเป็นวัตถุดิบ โรงงานมีกำลังการผลิตสารฟีนอลขนาด 200,000 ตันต่อปี ที่นิคมอุตสาหกรรมตะวันออก (Eastern Industrial Estate หรือ EIE)
บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้จำกัด (PTTUT)
PTTUT เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง PTTAR ปตท. และปตท.เคมิคอล ในสัดส่วนร้อยละ 20/40/40 เพื่อผลิตและจำหน่ายสาธารณูปโภค ได้แก่ ไฟฟ้า ไอน้ำ และน้ำทุกประเภทที่ ใช้ในอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และสาธารณูปการอื่น ให้กับโครงการต่าง ๆ ของบริษัทในเครือ ปตท. โดยปัจจุบัน PTTUT ได้เริ่มจำหน่ายสาธารณูปโภคให้กับบาง บริษัทแล้ว เช่น โครงการผลิตสาร EO/EG ของ บริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด นอกจากนี้ PTTUT อยู่ระหว่างการก่อสร้างหน่วยผลิตต่าง ๆ ตามแผนธุรกิจที่วางไว้เพื่อ รองรับโครงการใหม่ ๆ ของบริษัทในกลุ่ม ปตท. เช่น โครงการ PPCL และ CPX II ของ PTTAR เป็นต้น
บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัด ( PTT ICT)
PTT ICT เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง PTTAR ปตท. ปตท.สผ. ไทยออยล์ และ ปตท.เคมิคอล ในสัดส่วนรายละร้อยละ 20 เพื่อให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับบริษัทใน เครือ ปตท. ทั้งหมด
ศักยภาพการแข่งขัน
[แก้]บริษัทฯ เป็นผู้กลั่นน้ำมันดิบและคอนเดนเสทรวม 280,000 บาร์เรลต่อวัน ประกอบด้วยกำลังการกลั่นน้ำมันดิบ145,000 บาร์เรลต่อวัน และกำลังการกลั่นคอนเดนเสท 135,000 บาร์เรลต่อวัน และเป็นผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์ ดังนี้
ธุรกิจการกลั่นน้ำมันและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูป
1. ผลิตภัณฑ์
บริษัทฯ เป็นผู้กลั่นน้ำมันและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปชั้นนำรายหนึ่งของประเทศไทยโดยมีโรงกลั่นน้ำมันแบบ Complex ที่ทันสมัยที่สุดและมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน (Energy Efficient) ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศและในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัทฯ มีกำลังการผลิตติดตั้ง (Nameplate Capacity) ในส่วนของธุรกิจกลั่น ปริมาณ 145,000 บาร์เรลต่อวัน โดยบริษัทฯ สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปคุณภาพสูงได้หลายประเภท
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้จัดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปของบริษัทฯ ออกเป็น
- ผลิตภัณฑ์หลักของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูป ได้แก่ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันดีเซล น้ำมันอากาศยาน และน้ำมันเตา
- ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปชนิดพิเศษ (Specialty Refined Petroleum Product) ได้แก่ รีฟอร์เมต และแนฟทาชนิดเบา
2. การตลาดและภาวการณ์แข่งขัน
ก. กลยุทธ์ทางการตลาด
บริษัทฯ กำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน คือ ควบคุมต้นทุนการผลิตให้อยู่ในระดับราคาที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยมีปัจจัยที่สนับสนุนศักยภาพของบริษัทฯ คือ
1. การเลือกใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ได้รับการพัฒนาจากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำ และเป็นที่ยอมรับว่า สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้
2. การขนส่งผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่โดยผ่านระบบท่อ จึงสะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์เป็นอย่างมาก
ในปี 2552 บริษัทฯ มีอัตราการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เปรียบเทียบกับอัตราการผลิตรวมในประเทศแยกเป็นรายผลิตภัณฑ์ ดังนี้
- น้ำมันดีเซล ร้อยละ 23 ของกำลังการผลิตน้ำมันดีเซลรวมในประเทศ
- น้ำมันอากาศยาน ร้อยละ 19 ของกำลังการผลิตน้ำมันอากาศยานรวมในประเทศ
- น้ำมันเตา (Fuel Oil 1) ร้อยละ 30 ของกำลังการผลิตน้ำมันเตาชนิดที่ 1 รวมในประเทศ
- น้ำมันเตา (Fuel Oil 2) ร้อยละ 8 ของกำลังการผลิตน้ำมันเตาชนิดที่ 2 รวมในประเทศ
- น้ำมันเตา (Fuel Oil 3) ร้อยละ 26 ของกำลังการผลิตน้ำมันเตาชนิดที่ 3 รวมในประเทศ
ข. การจำหน่ายและช่องทางการจัดจำหน่าย
บริษัทฯ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปให้แก่ ปตท. ตามข้อตกลง นอกจากนั้นยังมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตโอเลฟินส์ และผลิตภัณฑ์อื่นให้แก่ผู้ซื้อรายอื่นๆ ตามสัญญาซื้อขายแบบมีกำหนดเวลาหรือในตลาดจร (Spot Market)
ในปี 2552 บริษัทฯ สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากโรงกลั่นน้ำมันได้ปริมาณรวมทั้งสิ้น 56 ล้านบาร์เรล คิดเป็นมูลค่า 3,705 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนขายในประเทศร้อยละ 68 และส่งออก 32 ทั้งนี้ ตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของบริษัทฯ ส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นต้น