เขตบางคอแหลม

พิกัด: 13°41′35″N 100°30′07″E / 13.693°N 100.502°E / 13.693; 100.502
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ตำบลบางคอแหลม)
เขตบางคอแหลม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Bang Kho Laem
คำขวัญ: 
สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ริมน้ำ งามล้ำธรรมาสน์บุษบก ถนนตกถิ่นเก่า ลือเล่าหลวงพ่อแดง เมืองแห่งเศรษฐกิจใหม่
งามวิไลพระสัมฤทธิ์ สองทิศติดเจ้าพระยา
สูงสง่าสะพานพระราม 3
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางคอแหลม
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางคอแหลม
พิกัด: 13°41′36″N 100°30′9″E / 13.69333°N 100.50250°E / 13.69333; 100.50250
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด10.921 ตร.กม. (4.217 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด77,673[1] คน
 • ความหนาแน่น7,112.26 คน/ตร.กม. (18,420.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10120
รหัสภูมิศาสตร์1031
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 193 ซอยพระรามที่ 3 ซอย 7 ถนนพระรามที่ 3 แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร 10120
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/bangkholaem
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บางคอแหลม เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เขตบางคอแหลมตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตสาทร มีคลองกรวย, ซอยจันทน์ 34/2 (มิตรสามัคคี), ลำกระโดงกิ่งจันทน์, ซอยเจริญราษฎร์ 8 (อยู่ดี), ซอยเจริญราษฎร์ 5 (อยู่ดี), ซอยจันทน์ 43 แยก 14 (อยู่ดี 20/1), ซอยจันทน์ 43 (วัดไผ่เงิน), ซอยจันทน์ 43 แยก 33 และซอยสาธุประดิษฐ์ 12 (ทวีสิทธิ์) เป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตยานนาวา มีถนนสาธุประดิษฐ์, แนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตยานนาวากับเขตบางคอแหลม, ถนนรัชดาภิเษก และคลองบางมะนาวเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตราษฎร์บูรณะ มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตธนบุรีและเขตคลองสาน มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติศาสตร์[แก้]

เขตบางคอแหลมมีประวัติความเป็นมายาวนาน นับตั้งแต่การประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งสรุปสาระสำคัญโดยลำดับได้ดังนี้

เดิมพื้นที่เขตบางคอแหลมเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเขตยานนาวา มีชื่อเรียกว่า "บ้านทวาย" เนื่องจากมีชนชาติทวายอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และจากการที่ชาวบ้านทวายมักนำกระบือที่เลี้ยงไว้มาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันเป็นประจำในหมู่บ้าน จึงมีชื่อเรียกขานอีกชื่อหนึ่งว่า "บ้านคอกควาย"

ในหมู่บ้านมีวัดเก่าวัดหนึ่ง สร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี คือ "วัดคอกควาย" (ปัจจุบันคือวัดยานนาวา) ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงธนบุรี มีการขนานนามทางราชการว่า "วัดคอกกระบือ" และในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้มีพระราชศรัทธาสร้างพระอุโบสถไว้

ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดคอกกระบือซึ่งชำรุดทรุดโทรม รวมทั้งสร้างพระเจดีย์เป็นเรือสำเภาขนาดเท่าเรือสำเภาจริงๆโดยมีพระราชดำรัสว่าคนภายหลังอยากเห็นเรือสำเภาว่าเป็นอย่างไร จะได้มาดูที่วัดคอกกระบือ และทรงขนานนามใหม่ว่า "วัดยานนาวา" และเรียกกันมาตราบเท่าทุกวันนี้

ครั้นสมัยราชการที่ 4 ตำบลบ้านทวายมีอำเภอเกิดขึ้น เรียกชื่อว่าอำเภอแต่ไม่มีนายอำเภอหรือปลัดอำเภอเป็นผู้ปกครอง โดยราษฎรได้เลือกบุคคลซึ่งเป็นที่เคารพนับถือขึ้นเป็นหัวหน้าในตำบลนั้น เรียกว่า "จางวางปกครอง"

ในสมัยรัชกาลที่ 5 กระทรวงมหาดไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ตั้งเป็นอำเภอขนานนามว่า "อำเภอบ้านทวาย" มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง และกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าชื่ออำเภอบ้านทวายมีสำเนียงเป็นภาษาต่างด้าว จึงเรียกชื่อเสียใหม่ว่า "อำเภอยานนาวา" โดยถือหลักตาม วัดยานนาวาขึ้นเป็นนามของอำเภอ

ปี พ.ศ. 2515 ได้เปลี่ยนชื่อเรียกว่า "เขตยานนาวา" ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 และแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 แขวง คือ แขวงช่องนนทรี แขวงบางโพงพาง แขวงยานนาวา แขวงทุ่งมหาเมฆ แขวงทุ่งวัดดอน แขวงบางคอแหลม แขวงบางโคล่ และแขวงวัดพระยาไกร

ต่อมาในปี 2532 ได้จัดตั้งสำนักงานเขตสาขาขึ้น 2 สาขา คือ

สำนักงานเขตยานนาวา สาขา 1 แขวงยานนาวา (ปัจจุบันคือเขตสาทร)

สำนักงานเขตยานนาวา สาขา 2 แขวงบางคอแหลม (ปัจจุบันคือเขตบางคอแหลม) เริ่มเปิดทำการเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2532 มีพื้นที่การปกครอง 3 แขวง คือ แขวงบางคอแหลม แขวงวัดพระยาไกร และแขวงบางโคล่

สำนักงานเขตบางคอแหลม จัดตั้งขึ้นโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2532 โดยใช้สถานที่อาคารบางส่วนของวัดและโรงเรียนวัดราชสิงขรเป็นที่ทำการชั่วคราว จนกระทั่ง พ.ศ. 2537 ได้ย้ายมา ณ ที่ทำการถาวรเป็นอาคารสูง 9 ชั้น ชั้นใต้ดิน 1 ชั้น ในเนื้อที่ 3 ไร่ 3 งาน 86 ตารางวา ซึ่งได้เปิดให้บริการประชาชนตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2537

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ขตบางคอแหลมแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่

หมาย
เลข
ชื่อภาษาไทย ชื่อภาษาอังกฤษ พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
1.
บางคอแหลม Bang Kho Laem
2.749
21,451
7,803.20
แผนที่
2.
วัดพระยาไกร Wat Phraya Krai
2.300
22,268
9,681.74
3.
บางโคล่ Bang Khlo
5.872
33,954
5,782.36
ทั้งหมด
10.921
77,673
7,112.26

ประชากร[แก้]

ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน แต่ก็มีชาวมุสลิมอยู่มากตามแนวถนนเจริญกรุง

การคมนาคม[แก้]

ถนนสายหลัก
ถนนสายรอง

นอกจากนี้ เขตบางคอแหลมยังมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 2 แห่ง คือ สะพานกรุงเทพและสะพานพระราม 3 ซึ่งเชื่อมระหว่างแขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กับแขวงสำเหร่และแขวงดาวคะนอง เขตธนบุรี

สถานที่สำคัญ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 27 มกราคม 2567.
  2. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°41′35″N 100°30′07″E / 13.693°N 100.502°E / 13.693; 100.502