จ่าง แซ่ตั้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จ่าง แซ่ตั้ง
จ่าง แซ่ตั้ง ผู้ทำงานบทกวีรูปธรรมและงานศิลปนามธรรมเป็นคนแรก
เกิด1 พฤษภาคม พ.ศ. 2477
เสียชีวิต26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 (56 ปี)
สัญชาติไทย ไทย
อาชีพนักเขียน กวี จิตรกร
มีชื่อเสียงจากเป็นศิลปินอิสระที่ทำงานด้านบทกวีรูปธรรม และภาพวาดนามธรรมคนแรกของประเทศไทย
คู่สมรสนางเซี๊ยะ แซ่ตั้ง

จ่าง แซ่ตั้ง (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533) เป็นศิลปิน นักเขียนบทกวี และจิตรกร เขามีเชื้อสายจีน โดยบิดาอพยพมาจากประเทศจีน ส่วนมารดาเป็นคนจีนเกิดในประเทศไทย จ่างเกิดที่ตลาดสมเด็จ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี เข้าเรียนหนังสือระดับชั้นมูลที่โรงเรียนเทศบาลสอง วัดพิชัยญาติ แต่เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง จึงไม่ได้เรียนหนังสือที่ไหนอีก

จ่าง แซ่ตั้ง สมรสกับนางเซี้ยะ แซ่ตั้ง มีบุตร 7 คน เสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 อายุ 56 ปี

การทำงาน[แก้]

จ่าง แซ่ตั้ง ชื่นชอบการวาดรูปมาตั้งแต่เด็ก และได้ฝึกฝนฝีมือการวาดภาพด้วยตัวเอง ใน พ.ศ. 2505 เริ่มเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังสีน้ำมันขนาดใหญ่ โดยใช้นิ้วมือแทนพู่กัน เป็นภาพเจ้าแม่โพธิสัตว์ ที่มูลนิธิโรงพยาบาลเทียน โดยเขาเริ่มเขียนเรื่องสั้นใน พ.ศ. 2506 เรื่อง “เวลาอันยาวนาน” พิมพ์ในหนังสือรับน้องใหม่ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 เริ่มเขียนบทกวี ที่มีลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เรียกว่า "กวีรูปธรรม" (concrete poetry) ซึ่งมีที่มาจากการเป็นจิตรกรวาดภาพมาแต่เดิม ลักษณะเฉพาะของบทกวีของจ่าง คือไม่ใช้ไม้ยมกแทนคำซ้ำ แต่กลับเขียนคำซ้ำ ๆ กัน และมีลักษณะคล้ายการเขียนรูป ซึ่งเป็นความแปลกใหม่ที่ไม่มีใครทำมาก่อน ทั้งนี้ จ่าง แซ่ตั้ง ถือว่าเป็นคนแรกในประเทศไทย ที่ได้สร้างงานศิลปะประเภทนามธรรมและมีอิทธิพลต่อวงการศิลปะไทยเป็นอันมาก

ในปี พ.ศ. 2510 มีการแปลผลงานกวีของจ่าง แซ่ตั้งเป็นภาษาอังกฤษ และได้รับเชิญไปร่วมงานประชุมกวรโลกที่กรุงแคนเบอร์รา ออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2514 ต่อมานิตยสาร “ลุคอิส” ได้มาทำสารคดีเกี่ยวกับชีวิต การทำงานและความเป็นอยู่ ของจ่าง รวมทั้งนำภาพสีพิมพ์เป็นปกเพื่อจำหน่ายขายทั่วโลก

ผลงาน[แก้]

การแสดงศิลปะ-วรรณกรรม

  • พ.ศ. 2503

- นิทรรศการศิลปกรรมไทย-จีนแห่งประเทศไทยที่กรุงเทพฯ

  • พ.ศ. 2509
    • นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยครั้งที่ 1 “รวมศิลปินร่วมสมัย”หอศิลป์ปทุมวัน กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2510
    • การแสดงศิลปกรรมไทยร่วมสมัยที่สิงคโปร์
    • การแสดงศิลปกรรมไทยร่วมสมัยที่มาเลเซีย
    • นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยครั้งที่ 3 “5 ศิลปินร่วมสมัย” หอศิลป์ปทุมวัน กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2511
    • นิทรรศการศิลปะเพื่อการกุศล “จ่าง แซ่ตั้ง ลูกศิษย์ และลูกลูก” บ้านเด็กกำพร้าบ้านกิ่งแก้ว จ.เชียงใหม่
    • นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัย “จ่าง แซ่ตั้ง และลูกลูก”แกลเลอรี่ 20 กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2512
    • การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัย รายการเชื้อเชิญศิลปินของ โรงเรียนเพาะช่าง
    • นิทรรศการศิลปกรรม “จ่าง แซ่ตั้ง และลูกลูก”ครั้งที่๑ห้องแสดงนิทรรศการศิลปะบ้านจ่าง แซ่ตั้ง กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2513
    • นิทรรศการจิตรกรรมและบทกวี “จ่าง แซ่ตั้ง” ครั้งที่ 2 ห้องแสดงนิทรรศการศิลปะ บ้านจ่าง แซ่ตั้ง กรุงเทพฯ
    • นิทรรศการศิลปกรรม-บทกวี “จ่าง แซ่ตั้ง” ครั้งที่ 3 รวมจิตรกรรมและบทกวี (2503-2513) ห้องแสดงศิลปะบ้านจ่าง แซ่ตั้งกรุงเทพฯ
    • นิทรรศการศิลปะ บทกวี บทปรัชญา “จ่าง แซ่ตั้ง” สถานทูตสหรัฐอเมริกา AN INTRODUCTION TO TANG CHANG POET ARTIST AND PHILOSOPHER
  • พ.ศ. 2514
    • นิทรรศการศิลปกรรม “จ่าง แซ่ตั้ง ศิษย์ และบทกวีของลูกลูก”ครั้งที่ 4 ห้องแสดงนิทรรศการศิลปะ บ้าน จ่าง แซ่ตั้ง กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2515
    • นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัย“จ่าง แซ่ตั้ง ลูกศิษย์ และลูกลูก” โรงภาพยนตร์วอร์เนอร์ กรุงเทพฯ
    • แสดงบทกวีนิพนธ์ร่วมสมัย ที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2516
    • นิทรรศการศิลปะกลางแจ้ง “จ่าง แซ่ตั้ง ลูกศิษย์ และลูกลูก”แสดงบนทางเดินเท้ารอบสนามหลวง กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2517
  • พ.ศ. 2518
    • แสดงบทกวีนิพนธ์ “แม่”นิสิตนักศึกษาชมรมพุทธมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ
    • กวีสัมพันธ์ ไทย จีน อังกฤษ แห่งประเทศไทย”อ่านบทกวีนิพนธ์ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ
    • แสดงบทกวีรูปธรรม (CONCRETE POETRY) และอ่านบทกวีนิพนธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2524
    • การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 27 กรุงเทพฯ ในฐานะ “ศิลปินเชื้อเชิญ”
  • พ.ศ. 2528
    • อ่านบทกวีนิพนธ์ สมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา (A.U.A.) กรุงเทพฯ
    • ก่อตั้ง “หอศิลป กวี จ่าง แซ่ตั้ง”กรุงเทพฯ
    • แสดงศิลปกรรม บทกวีนิพนธ์ ย้อนหลัง จ่าง แซ่ตั้ง (2500 − 2528) หอศิลป กวี จ่าง แซ่ตั้ง กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2534
    • “พลังแห่งสัจจะ” จ่าง แซ่ตั้ง : ประเทือง เอมเจริญ ณ ศูนย์สรรพสินค้าริเวอร์ซิตี้
  • พ.ศ. 2537
    • “งานสีของ จ่าง แซ่ตั้ง” ณ สุขุมวิท 20 กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2538
    • “ศิลปะสมัยใหม่” (Asian Modernism) 28 ตุลาคม – 3 ธันวาคม ณ Japan Foundation Forum, Tokyo จัดโดย The Japan Foundation Asia Center
  • พ.ศ. 2539
    • “ศิลปะสมัยใหม่” (Asian Modernism) 6 กุมภาพันธ์ – 6 มีนาคม ณ Metropolitan Museum of Manila จัดโดย Metropolitan Museum of Manila, Embassy of Japan, The Philippines, The Japan Foundation
    • “ศิลปะสมัยใหม่” (Asian Modernism) 8-28 พฤษภาคม ณ หอศิลปแห่งชาติ กรุงเทพฯ จัดโดย กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ และ The Japan Foundation
    • “ศิลปะสมัยใหม่” (Asian Modernism) 1 มิถุนายน – 31 กรกฎาคม ณ Gedung Pameran Seni Rupa, Department Pendidikan dan Kebudayaan, Jakarta, Indonesia จัดโดย Diroctorate General for Culture, Ministry of Education and Culture, Republic of Indonesia, The Japan Foundation
  • พ.ศ. 2543
    • “จ่าง แซ่ตั้ง ก็คือ จ่าง แซ่ตั้ง” ภาพใบหน้าตัวเอง 400 ชิ้น พ.ศ. 2497-2530 ณ เดอะ เมอร์คิวรี่ อาร์ต แกเลอรี่ เพลินจิต กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2544
    • “จิตรกร ไล่จับ แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด แสงแดด ใส่ไว้ในภาพ” 25 มิถุนายน - 22 กรกฎาคม ณ Open Arts Space เดอะสีลม แกเลอเรีย
  • พ.ศ. 2545
    • นิทรรศการศิลปะ “เวลาอันยาวนาน” 17-30 กันยายน ณ ห้องศิลปนิทรรศมารศี วังสวนผักกาด กรุงเทพฯ 1-14 ตุลาคม ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ 16 ราชดำเนิน กรุงเทพฯ 11 กันยายน – 6 ตุลาคม ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ สุขุมวิท 55 กรุงเทพฯ และผลงานได้สัญจรไปจัดนิทรรศการในส่วนภูมิภาค 1-15 พฤศจิกายน ณ หอศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก 20 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 9-23 ธันวาคม 2545 ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษา อุบลราชธานี
  • พ.ศ. 2550
    • นิทรรศการศิลปกรรม “โลกทรรศน์จากภายใน : จ่าง แซ่ตั้ง” (World View from Within : Tang Chang) ผลงานจิตรกรรม 120 ชิ้น จากผลงานจิตรกรรมรูปธรรมสู่นามธรรมที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงปี 2501-2525 จัดแสดง ณ หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551
    • งานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น 2-4 พฤศจิกายน 2551 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  • พ.ศ. 2556
    • นิทรรศการ “เพราะฉันต้องการ ที่ว่างของฉัน” 5 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม ณ หอศิลป์ ศุภโชค ดิ อาร์ต เซนเตอร์ สุขุมวิท 33 กรุงเทพฯ
    • นิทรรศการ “จิตรกรรมนามธรรม บทกวีรูปธรรม” 15 กุมภาพันธ์ – 28 เมษายน ณ หอศิลป์ G23 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร กรุงเทพฯ

นิทรรศการในต่างประเทศ[แก้]

  • พ.ศ. 2557
    • ได้รับเชิญเข้าร่วมแสดงในมหกรรมศิลปะ “เซี่ยงไฮ้ เบียนนาเล่” ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน 2557 – 31 มีนาคม 2558 ณ Power Station of Art เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • พ.ศ. 2558
    • ร่วมแสดงในนิทรรศการ "The World is our Home" ณ Parasite เขตปกครองพิเศษฮ่องกง
  • พ.ศ. 2559
    • ร่วมแสดงในนิทรรศการ "Reframing Modernism" ณ National Gallery Singaport
  • พ.ศ. 2560
    • ร่วมแสดงในนิทรรศการ "Misfits : Pages from loose-leaf modernity" ณ HKW กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
  • พ.ศ. 2561
    • นิทรรศการแสดงเดี่ยว "Tang Chang : The Painting That is Painted With Poetry is Beautiful" ณ The Smart Museum ชิคาโก สหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2562
    • Awakenings: Art in Society in Asia 1960s–1990s ณ National Gallery Singapore และ National Museum of Modern and Contemporary Art กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
  • พ.ศ. 2563
    • Awakenings: Art in Society in Asia 1960s–1990s ณ The National Museum of Modern Art กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
  • พ.ศ. 2566
    • นิทรรศการแสดงเดี่ยว Tang Chang (1934-1990): Non-Forms ณ Centre Pompidou กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ผลงานในชุดจัดเก็บสาธารณะ[แก้]

  • The Art Institute of Chicago ชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • Musée national d’art moderne - Centre de création industrielle ,Centre Pompidou กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
  • National Gallery Singapore ประเทศสิงคโปร์

งานสังคมและความเคลื่อนไหว[แก้]

  • พ.ศ. 2503
    • เขียนภาพเหมือนช่วยการกุศลงานกาชาด กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2504
    • เขียนภาพเหมือนช่วยการกุศลงานกาชาด กรุงเทพฯ
    • ริเริ่มภาพจิตรกรรมสีดำบนสีดำ (นามธรรม)
  • พ.ศ. 2505
    • ริเริ่มภาพจิตรกรรมสีขาวบนขาว (นามธรรม)
    • สร้างภาพจิตรกรรมสีน้ำมันขนาดใหญ่
    • เรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าแม่โพธิสัตว์ (ด้วยนิ้วมือ) จำนวน 12 ภาพ ปัจจุบันอยู่ที่มูลนิธิโรงพยาบาลเทียนหัว สามแยก กรุงเทพฯ
    • เขียนภาพเหมือนช่วยการกุศลงานกาชาด กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2510
    • ริเริ่มบทกวีสมัยใหม่ CONCRETE POETRYในนิตยสารช่อฟ้ารายเดือน
  • พ.ศ. 2513
    • นิตยสาร QUADRANT ของ AUSTRALIA ตีพิมพ์เผยแพร่ประวัติและผลงาน
    • หนังสือบทประพันธ์แห่งเอเซียตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานกวีนิพนธ์
    • สำนักข่าวสาร U.P.I. ส่งผู้สื่อข่าวชื่อ BOB NOOR บรรณาธิการข่าวภาพของสหรัฐอเมริกา ถ่ายภาพจิตรกรรมของจ่าง แซ่ตั้ง เผยแพร่ทั่วโลก
  • พ.ศ. 2514
    • เป็นตัวแทนชาวไทยที่ได้รับคัดเลือกผลงานกวีนิพนธ์เข้าร่วม “การประชุมใหญ่ผู้เชี่ยวชาญและนักศึกษาทางด้านภาคตะวันออกของโลก”ประเทศออสเตรเลีย (CONGRESS OF ORIENTALISTS- 1971, CANBERRA, AUSTALIA)
    • นิตยสาร LOOK EASTตีพิมพ์บทกวีนามธรรม-ภาพจิตรกรรมของจ่าง แซ่ตั้งเผยแพร่ทั่วโลก
  • พ.ศ. 2531
    • สาธารณรัฐประชาชนจีน โดย อาจารย์ฟู่เจิงโหย่ว แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ขอประวัติ จ่าง แซ่ตั้ง ไปลงในพจนานุกรมผู้มีชื่อเสียงทางวิชาการของลูกจีนในประเทศไทยในแขนงกวีและนักจิตวิทยา
    • เป็นตัวแทนชาวไทย ซึ่งได้รับเกียรติรับมอบประกาศนียบัตรยกย่องความสามารถจาก ประธานสถาบันกวีนานาชาติอินเดีย ในการประชุมกวีโลกครั้งที่ 10 ณ กรุงเทพฯ

ผลงานทางวรรณกรรม[แก้]

  • 2563
    • ทัศนะศิลปะ-ทัศนะกวี, นครปฐม: สำนักพิมพ์ลูก-หลาน จ่าง แซ่ตั้ง.
  • 2556
    • จ่าง แซ่ตั้ง: จิตรกรรมนามธรรม บทกวีรูปธรรม, นครปฐม: พิพิธภัณฑ์ จ่าง แซ่ตั้ง.
    • จ่าง แซ่ตั้ง: เพราะฉันต้องการ ที่ว่างของฉัน, นครปฐม: พิพิธภัณฑ์ จ่าง แซ่ตั้ง.
  • 2553
    • บทกวีของฉัน, นครปฐม: สำนักพิมพ์ลูก-หลาน จ่าง แซ่ตั้ง.
    • ตำราพิชัยสงครามของท่านซุ่นวุ่,นครปฐม: สำนักพิมพ์ลูก-หลาน จ่าง แซ่ตั้ง.
    • โลกทรรศน์จากภายใน: ผลงานจิตรกรรม พ.ศ. 2501-2525, นครปฐม: พิพิธภัณฑ์ จ่าง แซ่ตั้ง.
  • 2545
    • เวลาอันยาวนาน, นครปฐม: พิพิธภัณฑ์ จ่าง แซ่ตั้ง.
  • 2543
    • จ่าง แซ่ตั้ง ก็คือ จ่าง แซ่ตั้ง, กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์ จ่าง แซ่ตั้ง.
  • 2530
    • ปรมัตถ์เต๋า, กรุงเทพ: สำนักพิมพ์วันใหม่.
    • เด็กคนนั้น 2, กรุงเทพ: สำนักพิมพ์วันใหม่.
  • 2529
    • “ด้านวรรณศิลป์” ใน รายงานการสัมมนาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาและการวิจัยทางศิลปะกับสังคมไทย, กรุงเทพฯ: สภาวิจัยแห่งชาติ
    • วันใหม่, กรุงเทพ: สำนักพิมพ์วันใหม่.
    • เวิ้งฟ้า, กรุงเทพ: สำนักพิมพ์วันใหม่.
  • 2528
    • ยามเช้า, กรุงเทพ: สำนักพิมพ์วันใหม่.
  • 2518
    • อา Q, กรุงเทพ: จ่าง แซ่ตั้ง
  • 2517
    • บทกวีจีน, กรุงเทพ: จ่าง แซ่ตั้ง.
    • ภาพพจน์ที่ผ่านมา, กรุงเทพ: จ่าง แซ่ตั้ง.
  • 2516
    • คัมภีร์เต้าเต้อจิง, กรุงเทพ: จ่าง แซ่ตั้ง.
  • 2515
    • แม่กับลูก, กรุงเทพ: จ่าง แซ่ตั้ง.
  • 2512
    • เด็กคนนั้น, กรุงเทพ: จ่าง แซ่ตั้ง.
    • อภิปรัชญาศิลปะของท่านเต้าฉี, กรุงเทพ: จ่าง แซ่ตั้ง.
  • 2511
    • ปกดำ, กรุงเทพ: จ่าง แซ่ตั้ง.

อ้างอิง[แก้]

  • ประทีป เหมือนนิล. 100 นักประพันธ์ไทย. กรุงเทพ : สุวีริยาสาส์น, 2542. หน้า 479. ISBN 974-8267-78-4

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • พิพิธภัณฑ์ จ่าง แซ่ตั้ง เก็บถาวร 2009-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Tang Chang The Original, The Original Tang Chang! นิทรรศการแสดงผลงานของ จ่าง แซ่ตั้ง, มีนาคม-เมษายน 2543
  • จ่าง แซ่ตั้ง ก็คือ จ่าง แซ่ตั้ง (ภาพใบหน้าตนเอง 400 ชิ้น พ.ศ. 2497 - 2530),ซีดีรอมรวมผลงาน จัดทำโดย The Mercury Art Gallery.
  • สูจิบัตรประกอบนิทรรศการ "จ่าง แซ่ตั้ง : เพราะฉันต้องการ ที่ว่างของฉัน" และ "จ่าง แซ่ตั้ง : จิตรกรรมนามธรรม บทกวีรูปธรรม"

ข้อเขียนเกี่ยวกับจ่าง แซ่ตั้ง ในภาษาไทย[แก้]

  • ดวงมน จิตร์จำนงค์. “วิเคราะห์พลังทางปัญญาในงานกวีนิพนธ์ของจ่าง แซ่ตั้ง” ใน กวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย: บทวิเคราะห์และสรรนิพนธ์. อัคคภาค เล้าจินตนาศรี (บรรณาธิการ), 457-499. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม, 2543
  • ดวงมน จิตร์จำนงค์ และ กอบกาญจน์ ภิญโญมารค. “โลกทัศน์เกี่ยวกับธรรมชาติในกวีนิพนธ์ร่วมสมัย : กรณีศึกษา อังคาร กัลยาณพงศ์ และ จ่าง แซ่ตั้ง” ใน วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 1, no.1 (2548): 1-25
  • นวภู แซ่ตั้ง (บรรณาธิการ). จ่าง ศึกษา. นครปฐม: สำนักพิมพ์ ลูก-หลาน จ่าง แซ่ตั้ง, 2563
  • นวภู แซ่ตั้ง. “จ่าง แซ่ตั้ง: ตัวตนกับการสร้างผลงานศิลปะ” ใน วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ 21, no.2 (2563): 10-19
  • ----------. “การจัดวาง จ่าง แซ่ตั้ง ในภาวะไม่ลงรอยของขนบศิลปะไทยสมัยใหม่.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562
  • ----------. “จ่าง แซ่ตั้ง: ยังมีอะไรให้ศึกษา ?. วารสารวิจิตรศิลป์ 10, no.2 (2562): 137-158
  • ----------. “จ่าง แซ่ตั้ง กับ โลกศิลปะก่อนและหลัง 14 ตุลาฯ 16. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 15, no.2 (2562): 112-136
  • นิพนธ์ ทวีกาญจน์. “จ่าง แซ่ตั้ง ศิลปินผู้อหังการ์บนเส้นทางของตนเอง.” ใน สารคดี 9, no.108 (2537): 165-170
  • บุญรัตน์ เจริญชัย. “ศิลปิน กวี จ่าง แซ่ตั้ง บทเรียนชีวิตของผู้มีความตั้งใจ” ใน ศิลปวัฒนธรรม 15, no.4 (2537): 47-50
  • ศภิสรา เข็มทอง. “อิทธิพลวัฒนธรรมจีนในงานจิตรกรรมของ จ่าง แซ่ตั้ง.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556
  • สินธุ์ชัย สุขสว่าง. “วิเคราะห์วรรณกรรมของ จ่าง แซ่ตั้ง.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2520
  • อนุสรณ์ในการฌาปนกิจศพ คุณพ่อ จ่าง แซ่ตั้ง, กรุงเทพฯ: ทิพย์ แซ่ตั้ง, 2533
  • อัจฉรา ตั้งพรประเสริฐ. “การศึกษาวิเคราะห์ผลงานจิตรกรรมของ จ่าง แซ่ตั้ง พ.ศ. 2497 - 2532.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2546
  • อำนาจ เย็นสบาย. “ฐานะทางประวัติศาสตร์ของ จ่าง แซ่ตั้ง” ใน Art Record in Thailand 1, no.2 (2537): 36-37

ข้อเขียนเกี่ยวกับจ่าง แซ่ตั้ง ในภาษาต่างประเทศ[แก้]

  • d’Abbs, Peter. “Tang Chang: An Artist and His World,” LOOKEAST 1, no. 11 (October 1971), 14-21.
  • Art in the Reign of King Rama IX: 6 Decades of Thai Art. Bangkok: Rama IX Art Museum Foundation, 2006.
  • Archer, Pamela, and Giovanni Cutolo. Tang Chang. Milan: Istituto De Angeli, 1968.
  • Bae, Myungji, Yu Jin Seng and Katsuo Suzuki, eds. Awakenings: Art in Society in Asia, 1960s–1990s. Tokyo: National Museum of Modern Art, Tokyo; Seoul: National Museum of Modern and Contemporary Art, Korea; Singapore: National Gallery Singapore, 2019.
  • Cacchione, Orianna. Tang Chang: The Painting that is Painted with Poetry is Profoundly Beautiful. Chicago: Smart Museum of Art, the University of Chicago, 2018.
  • Cheng, Jia Yun. “Tang Chang.” In Reframing Modernism: Painting from Southeast Asia, Europe and Beyond, edited by Sarah Lee and Sara Siew, 214–219. Singapore: National Gallery Singapore, 2016.
  • Clark, John. “‘Tradition’ in Thai Modern Art.” Southeast of Now: Directions in Contemporary and Modern Art in Asia 4, no. 2 (2020): 39-89.
  • Costinas, Cosmin, and Inti Guerrero. The World is Our Home: A Poem on Abstraction: Robert Motherwell, Bruce Nauman, Tomie Ohtake, Tang Chang. Hong Kong: Para Site Art Space, 2011.
  • Franke, Anselm. 10th Shanghai Biennale: Social Factory. Shanghai: Power Station of Art, 2014.
  • Kumjim, Prapon. “Magpie Modernity in Thai Art.” In Art Studies 01: Cultural Rebellion in Asia 1960–1989, edited by Furuichi Yasuko, 54–59. Tokyo: Japan Foundation Asia Center, 2015.
  • Kunavichayanont, Luckana, and Apisak Sonjod. Krungthep 226: The Art from Early Days, Bangkok to the Imagined Future. Bangkok: Bangkok Art and Culture Centre, 2008.
  • Mashadi, Ahmad. “Brief Notes on Traditionalism in Modern Thai Art.” In Modernity and Beyond: Themes in Southeast Asian Art, edited by T.K. Sabapathy, 61–68. Singapore: Singapore Art Museum, 1996.
  • Mukdamanee, Vichoke, and Sutee Kunavichayanont. Rattanakosin Art: The Reign of King Rama IX. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company, 1997.
  • Poshyananda, Apinan. Modern Art in Thailand: Nineteenth and Twentieth Centuries. New York: Oxford University Press, 1992.
  • Rodboon, Somporn. “History of Modern Art in Thailand.” In Asian Modernism: Diverse Development in Indonesia, the Philippines, and Thailand, edited by Furuichi Yasuko and Nakamoto Kazumi, 243–251. Tokyo: The Japan Foundation Asia Center, 1995.
  • Praepipatmongkol, Chanon Kenji. “Postwar Abstraction and Practices of Knowledge: Fernando Zóbel and Chang Saetang.” PhD thesis, University of Michigan, 2020.
  • Shioda, Junichi. “Bangkok and Chiang Mai: Ways of Modernity.” In Asian Modernism: Diverse Development in Indonesia, the Philippines, and Thailand, edited by Furuichi Yasuko and Nakamoto Kazumi, 238–242. Tokyo: The Japan Foundation Asia Center, 1995.
  • Suwannakudt, Phaptawan. “Tang Chang in My Memories.” Unpublished manuscript, 2016, typescript.
  • Tang, Chang. “Questions, Humans, Art.” In The Modern in Southeast Asian Art: A Reader, edited by T.K. Sabapathy and Patrick Flores, 841–842. Singapore: National Gallery Singapore, 2023.
  • - Chang Sae-tang: Chittakam Nammatham – Bot Kawi Ruppatham | Tang Chang: Abstract Paintings – Concrete Poetry. Nakhonpathom: The Tang Chang Private Museum, 2013.
  • - Pro Chan Tongkan Thiwang Khong Chan | Tang Chang: It was My Desire to Have My Very Own Space. Nakhonpathom: The Tang Chang Private Museum, 2013.
  • - The Artist is Chasing, Chasing, Chasing, Chasing, Chasing, Chasing After, Chasing, Chasing, Chasing, Keep on Chasing, Chasing, Chasing, Chasing, and Chasing, to Seize the Sun Light for His Painting: Painting by Tang Chang. Bangkok: Open Arts Space, 2001.
  • Taylor, Nora A. “Tang Chang: The Painting that is Painted with Poetry is Profoundly Beautiful.” ArtAsiaPacific, no. 109 (2018): 113.
  • Teh, David. “The Preter-Natural: The Southeast Asian Contemporary and What Haunts It.” ARTMargins 6, no. 1 (2017): 33–63.
  • Teh, David et al. “Misfits”: Pages from a Loose-Leaf Modernity. Berlin: Haus der Kulturen der Welt, 2017.
  • - “Misfits”: lose blätter aus der geschichte der moderne: Rox Lee, Tang Chang und Bagyi Aung Soe. Berlin: Haus der Kulturen der Welt, 2017.
  • Tsui, Enid H. Y. “Tang Chang: A Reluctant ‘Outsider’ of Thai Modern Art.” World Art 12, no.1 (2022): 1–23.
  • - “Beyond the Mirror: Tang Chang’s Self-Portraits as Anti-Canonical Resistance.” MA thesis, University of Hong Kong, 2020.
  • Veal, Clare. “Chang sae Tang: The Material Conditions of the Archive.” Art Monthly Australasia 297 (2017): 22–27.