ข้ามไปเนื้อหา

การาวัจโจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คาราวัจจิโอ)
การาวัจโจ
Chalk portrait of Caravaggio, ป. 1621
เกิดมีเกลันเจโล เมรีซี (หรือ อเมรีกี) ดา การาวัจโจ
29 กันยายน ค.ศ. 1571
มิลาน ดัชชีมีลาโน จักรวรรดิสเปน[1]
เสียชีวิต18 กรกฎาคม ค.ศ. 1610(1610-07-18) (38 ปี)
ปอร์โต แอร์โกเล รัฐแปรซีดี จักรวรรดิสเปน
การศึกษาซีโมเน เปแตร์ซาโน
มีชื่อเสียงจากจิตรกรรม
ผลงานเด่นรายชื่อภาพเขียนโดยการาวัจโจ
ขบวนการบารอก
Patron(s)พระคาร์ดินัล ฟรันเชสโก มารีอา เดล มอนเต
อาลอฟ เดอ วิญญากูร์
ลายมือชื่อ

มีเกลันเจโล เมรีซี ดา การาวัจโจ (อิตาลี: Michelangelo Merisi da Caravaggio ค.ศ. 1571 - 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1610) เป็นจิตรกรสมัยบาโรกคนสำค้ญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความสำคัญในการเขียนภาพสีน้ำมัน ผู้มีผลงานส่วนใหญ่ที่ โรม เนเปิลส์ ซิซิลี และประเทศมอลตา ระหว่างปี ค.ศ. 1593 ถึงปี ค.ศ. 1610

แม้แต่เมื่อการาวัจโจ ยังมีชีวิตอยู่ก็มีได้ชื่อว่าเป็นผู้ยากที่จะเข้าใจได้ (enigmatic) น่าทึ่ง ไม่ยอมอยู่ในระบบ และออกจะอันตราย ตั้งแต่เริ่มทำงานเมื่อปี ค.ศ. 1600 การาวัจโจก็มีคนจ้างตลอดแต่การรักษาสัญญาของการาวัจโจก็ออกจะมีปัญหา ซึ่งจะเห็นได้จากใบประกาศที่พิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1604 ที่บรรยายวิถีชีวิตของการาวัจโจสามปีก่อนหน้านั้นว่า หลังจากทำงานได้สองอาทิตย์ก็เที่ยวลอยชายถือดาบโดยมีคนรับใช้ติดตามสักเดือนสองเดีอน พร้อมจะหาเรื่องทะเลาะหรือต่อสู้ จึงเป็นการยากที่จะเข้ากับการาวัจโจได้ [2] เมื่อปี ค.ศ. 1606 การาวัจโจฆ่าชายหนุ่มหลังจากทะเลาะกันจนต้องหนีไปโรมเพราะมีค่าหัว เมื่ออยู่ที่มาลตาเมื่อปี ค.ศ. 1608 คาราวัจโจก็ไปมีเรื่อง และเมื่อไปอยู่ที่เนเปิลส์เมื่อปี ค.ศ. 1609 ว่ากันว่ามีคนพยายามฆ่าการาวัจโจโดยศัตรูที่เราไม่รู้ ต่อมาอึกปีหนึ่งหลังจากเขียนภาพได้เพียงสิบปีกว่าๆ คาราวัจโจก็เสียชีวิต

ในกรุงโรมระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีการสร้างทั้งวัดและวังขนาดใหญ่ๆ กันขนานใหญ่ เมื่อมีสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ ก็มีความต้องการภาพเขียนเพื่อใช้ตกแต่งสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ โบสถ์ที่สร้างที่เป็นผลจากการปฏิรูปคาทอลิกก็มีความต้องการภาพเขียนทางศาสนาเพื่อจะตอบโต้อิทธิจากการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ และงานเขียนภาพแบบแมนเนอริสม์ ที่มีอิทธิพลมาร่วมร้อยปีก็ไม่เป็นการเพียงพอต่อการแสดงออกที่ต้องการ ลักษณะงานของการาวัจโจที่ต่างจากงานรุ่นก่อนโดยใช้ความเป็นธรรมชาติ (Naturalism) ผสมกับความเป็นนาฏกรรมที่เห็นได้จากการใช้แสงเงาที่ตัดกันอย่างชัดเจน (chiaroscuro)

การาวัจโจมึชื่อเสียงและมีอิทธิพลสำคัญในระหว่างที่มีชีวิตอยู่แต่ก็ลืมกันไปจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่องานของการาวัจโจมาเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นงานที่มีความสำคัญต่อการวิว้ฒนาการทางศิลปะตะวันตก งานของคาราวัจโจมีความสำคัญอย่างลึกซึ้งต่อลักษณะแบบบาโรกที่รุ่งเรืองขึ้นมาจากศิลปะแมนเนอริสม์ อันเดร เบิร์น-จอฟฟรอย (Andre Berne-Joffroy) ผู้เป็นเลขานุการของพอล วาเลรี (Paul Valéry) กล่าวกับเบิร์น-จอฟฟรอยว่า ภาพเขียนของคาราวัจโจพูดง่ายๆ ก็คือภาพเขียนสมัยใหม่นี่เอง[3]

ชีวิตประวัติ

[แก้]

ชีวิตเบื้องต้น (ค.ศ. 1571–ค.ศ. 1592)

[แก้]
เด็กชายปอกผลไม้” ซึ่งเป็นงานเขียนเท่าที่ทราบว่าเป็นงานเขียนชิ้นแรก ราว ค.ศ. 1592. สีน้ำมันบนผ้าใบ, 64.2 x 51.4 ซม. มูลนิธิโรเบอร์โต ลอนกีห์, ฟลอเรนซ์

การาวัจโจเกิดที่มิลาน[4] ที่พ่อแฟร์โม เมรีชีเป็นผู้บริหารกิจการภายในและสถาปนิก-นักตกแต่งแก่มาร์ควิสแห่งการาวัจโจ ลูเชีย อาราตอรีแม่ของการาวัจโจมาจากครอบครัวผู้มีอันจะกินในบริเวณเดียวกัน ในปี ค.ศ. 1576 ครอบครัวก็ย้ายไปคาราวัจโจในลอมบาร์ดีเพื่อหนีโรคระบาดในมิลาน พ่อของคาราวัจโจเสียชีวิตที่นั่นในปี ค.ศ. 1577 และแม่ในปี ค.ศ. 1584 จึงสันนิษฐานว่าการาวัจโจเติบโตที่การาวัจโจแต่ครอบครัวยังรักษาความสัมพันธ์กับตระกูลสฟอร์ซา (Sforza) และตระกูลโคโลนา (Colonna) ที่เป็นครอบครัวที่มีอิทธิพลและเป็นพันธมิตรกับตระกูลสฟอร์ซาจากการแต่งงาน ครอบครัวนี้ต่อมามีความสำคัญต่อในชีวิตของการาวัจโจ

ใน ค.ศ. 1584 การาวัจโจฝึกงานเป็นเวลาสี่ปีกับจิตรกรชาวลอมบาร์ดชื่อซีโมเน เปแตร์ซาโน (Simone Peterzano) ผู้ที่บรรยายตัวเองในสัญญาการฝึกงานว่าเป็นลูกศิษย์ของทิเชียน ดูเหมือนว่าการาวัจโจจะพำนักอยู่ที่บริเวณมิลาน-การาวัจโจหลังจากฝึกงานเสร็จ แต่ก็เป็นไปได้ว่าได้ไปเวนิสและได้ไปเห็นงานของ จอร์โจเนผู้ที่เฟเดอริโค ซูคคาริกล่าวหาว่าเลียนแบบ[5] และของทิเชียน นอกจากนั้นการาวัจโจก็ยังมีความคุ้นเคยกับงานมีค่าต่างๆ ของมิลาน รวมทั้งงาน “พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี และงานของลอมบาร์ดีซึ่งมีจะไปทางที่เรียบง่ายและเป็นธรรมชาติที่ใกล้กับลักษณะธรรมชาตินิยมของเยอรมันกว่าลักษณะอันหรูหราใหญ่โตแบบแมนเนอริสม์ของโรม[6]

ในกลางปี ค.ศ. 1592 การาวัจโจหนีจากมิลานหลังจากเหตุการณ์บางอย่างที่คาราวัจโจไปทำร้ายตำรวจ การาวัจโจมาถึงกรุงโรมอย่าง “ตัวเปล่าเล่าเปลือยและมีแต่ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น ... โดยไม่มีที่อยู่ที่ถาวรและอาหารการกิน ... ไม่มีเงินติดตัว”[7] สองสามเดือนต่อมาคาราวัจโจก็ได้ทำงาน “เขียนดอกไม้และผลไม้”[8] ให้กับจุยเซ็ปปิ เซซาริช่างเขียนคนโปรดของสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 8 ผู้เป็นช่างเขียนที่มีความสำเร็จดีในเวิร์คช็อพที่คล้ายโรงงาน งานเขียนจากช่วงนี้ก็ได้แก่งานเขียนชิ้นเล็ก “เด็กชายปอกผลไม้” ซึ่งเป็นงานเขียนเท่าที่ทราบว่าเป็นงานเขียนชิ้นแรก, “เด็กชายกับตะกร้าผลไม้” และ “บาคคัสไม่สบาย” ซึ่งว่ากันว่าเป็นภาพเหมือนตนเองระหว่างที่นอนป่วยหนักอยู่ จนในที่สุดต้องหยุดทำงานให้กับเซซาริ งานทั้งสามแสดงให้เห็นลักษณะการเขียนร่างกายอย่างหนึ่ง—ที่เป็นลักษณะเหมือนจริง—ซึ่งกลายมาเป็นลักษณะที่มีเด่นของการเขียนภาพของคาราวัจโจ ศาสตราจารย์ทางพืชสวนคนหนึ่งวิจัยตะกร้าผลไม้ในภาพพบว่าสามารถบอกทุกสิ่งทุกอย่างในภาพได้ถูกต้องจนแม้แต่ “... ใบฟิกใหญ่ที่มีรอยรา (cingulataanthracnose) ไหม้อยู่บนใบ”[9]

การาวัจโจเลิกทำงานกับเซซารีในเดือนมกราคม ค.ศ. 1594 และตั้งใจที่จะอยู่บนขาของตัวเองแต่สถานะการณ์ขณะนั้นยังอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่มาก ในขณะเดียวกันการาวัจโจก็ได้ทำความรู้จักกับเพื่อนสองสามคนที่ต่อมามามีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อคาราวัจโจ: จิตรกรโพรสเปโร ออร์ซิ (Prospero Orsi) สถาปนิกโอโนริโอ โลงกิ (Onorio Longhi) และศิลปินซิซิลีอายุสิบหกปี มาริโอ มินนิติ (Mario Minniti) ออร์ซิขณะนั้นมีชื่อเสียงแล้วก็ได้แนะนำคาราวัจโจแก่นักสะสมผู้มีอิทธิพลคนสำคัญหลายคน; โลงกิที่ร้ายกว่าแนะนำให้รู้จักชีวิตการทะเลาะเบาะแว้งตามถนนในกรุงโรม; และมินนิติเป็นตัวอย่างที่ดีแก่การาวัจโจและหลายปีต่อมาเป็นเครื่องมือที่ทำให้การาวัจโจได้รับงานจ้างสำคัญๆ ในซิซิลี[10]

คนโกงไพ่”, ราว ค.ศ. 1594. สีน้ำมันบนผ้าใบ, 107 x 99 ซม. พิพิธภัณฑ์ศิลปะคิมเบลล์, ฟอร์ทเวิร์ธ, เท็กซัส

หมอดู” เป็นภาพแรกที่เขียนที่มีตัวแบบมากกว่าหนึ่งตัวในภาพ เป็นภาพของมาริโอถูกหลอกโดยหญิงยิปซี ซึ่งเป็นหัวเรื่องการเขียนที่ยังใหม่สำหรับโรมและเป็นภาพที่ต่อมามีอิทธิพลต่อมาต่อนักเขียนผู้อื่นอีกกว่าร้อยปี แต่ในขณะนั้นยังไม่เป็นที่รู้จักและคาราวัจโจขายได้เพียงไม่กี่สตางค์ “คนโกงไพ่” — เป็นภาพเด็กที่ไม่ใช่เด็กจากครอบครัวชนชั้นสูงที่ตกเป็นเหยื่อของการโกงไพ่ — ซึ่งเป็นภาพที่เพิ่มความซับซ้อนทางจิตวิทยามากขึ้นและอาจจะถือได้ว่าเป็นงานเขียนชิ้นเอกชิ้นแรกของคาราวัจโจที่แท้จริงก็ได้ เช่นเดียวกับภาพ “หมอดู” “คนโกงไพ่” เป็นภาพที่เป็นที่นิยมกันมากและยังมีอีกกว่า 50 ภาพที่ยังคงอยู่ แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือการที่ทำให้คาราวัจโจเป็นที่สนใจของคาร์ดินัลฟรานเชสโค มาเรีย เดล มอนเตผู้เป็นนักสะสมศิลปะคนสำคัญคนหนึ่งของโรม คาราวัจโจเขียนภาพชีวิตประจำวันแบบนี้ให้กับเดล มอนเตและคนในวงการที่ร่ำรวยหลายภาพเช่น — “นักดนตรี”, “คนเล่นลูท”, “บาคคัส” เมา, และอุปมานิทัศน์แต่เหมือนจริงในภาพ “เด็กถูกจิ้งเหลนกัด” — ที่ใช้มินนิติและเด็กผู้ชายคนอื่นๆ เป็นแบบ[11] บรรยากาศที่ดูเหมือนจะสื่อความสัมพันธ์ระหว่างเพศชายในภาพเหล่านี้เป็นหัวข้อของการถกเถียงกันมากในหมู่นักวิชาการและนักเขียนชีวประวัติตั้งแต่มีผู้เสนอความคิดเมื่อหลังครึ่งคริสต์ศตวรรษที่ 20[12]

ลักษณะการเขียนของความเป็นจริงเช่นนี้มาปรากฏในภาพเขียนแรกๆ ที่เป็นภาพเขียนเกี่ยวกับศาสนาที่สื่อความรู้สึกศรัทธาทางใจที่เห็นได้ชัด งานชิ้นแรกๆก็ได้แก่ “แมรี แม็กดาเลนเศร้า” ที่เป็นภาพนักบุญแมรี แม็กดาเลนในชั่วขณะที่เปลี่ยนจากการเป็นผู้หญิงในราชสำนักที่นั่งร้องไห้บนม้านั่งเตี้ยๆ โดยมีเครื่องประดับกระจัดกระจายอยู่รอบตัว “ดูไม่เหมือนภาพทางศาสนาเลย ... หญิงสาวนั่งบนม้าไม้เตี้ยขณะที่ทำผมให้แห้ง ... ความรู้สึกผิด ... ความรู้สึกทรมาน ... คำสัญญาว่าจะได้รับการไถ่บาปอยู่ที่ไหน?”[13] การวาดยังเป็นลักษณะไม่ตึงตังที่เป็นการเขียนลักษณะลอมบาร์ด ที่ต่างกับการเขียนแบบประวัติศาสตร์ของลักษณะการเขียนของโรมในขณะนั้น ภาพเขียนนี้ตามด้วยภาพเขียนลักษณะเดียวกันอีกหลายภาพ: “นักบุญแคทเธอรินแห่งอเล็กซานเดรีย”, “มาร์ธาและแมรี แม็กดาเลน”, “จูดิธตัดหัวโฮโลเฟิร์นเนส”, “สังเวยไอแซ็ค”, “นักบุญฟรานซิสปลื้ม” และ “พักระหว่างหนีไปอียิปต์” งานเขียนแม้จะอยู่ในหมู่คนวงแคบแต่ก็เริ่มสร้างชื่อเสียงให้คาราวัจโจในหมู่นักสะสมภาพและเพื่อนศิลปินด้วยกัน แต่ถ้าจะให้มีชื่อเสียงจริงแล้วคาราวัจโจก็ต้องได้รับงานจากสาธารณะซึ่งหมายความว่าก็ต้องหันไปหาวัด

“จิตรกรผู้มีชื่อเสียงที่สุดในโรม” (ค.ศ. 1600–1606)

[แก้]
พระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว”. ค.ศ. 1599- ค.ศ. 1600. สีน้ำมันบนผ้าใบ, 322 x 340 ซม. ชาเปลคอนทาเรลลิ, ซานลุยจิ เดอิ ฟรานเชซิ, โรม ลำแสงที่ส่องเข้ามาในภาพจากหน้าต่างในภาพแสดงความเปลี่ยนใจของนักบุญแม็ทธิวในชั่ววินาทีที่ได้เห็น โดยไม่ต้องมีเทวดาบินว่อนหรือเมฆเบิกแสงหรือสัญญาณอื่นๆ ประกอบ

อาจจะด้วยอิทธิพลของคาร์ดินัลเดล มอนเตก็เป็นได้ที่การาวัจโจได้รับสัญญาจ้างให้ตกแต่งชาเปลคอนทราเรลลิในซันลุยจีเดย์ฟรันเชซี ในปี ค.ศ. 1599 ที่เป็นงานเขียนภาพสองภาพ “การพลีชีพของนักบุญแม็ทธิว” และ “พระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว” ที่เขียนเสร็จในปี ค.ศ. 1600 ที่เป็นงานที่เป็นที่ต้อนรับเป็นอย่างดี คาราวัจโจใช้ลักษณะการเขียนที่เรียกว่าภาพสว่างในความมืด (tenebrism) (ลักษณะที่หนักกว่าการใช้ ค่าต่างแสง (chiaroscuro)) ที่ช่วยเพิ่มความเป็นนาฏกรรมของภาพยิ่งขึ้น ขณะเดียวกับที่ยังรักษารายละเอียดของความเป็นจริงที่ทำให้การสื่อความหมายทางความรู้สึกยิ่งรุนแรงหนักขึ้น แต่ความเห็นในบรรดาเพื่อนศิลปินด้วยกันแตกต่างกันไป บ้างก็วิจารณ์จุดอ่อนต่าง ๆ ที่เห็นเช่นติการเน้นการเขียนจากชีวิตจริงโดยไม่ได้ร่าง แต่ส่วนใหญ่แล้วคาราวัจโจก็ได้รับการสรรเสริญว่าเป็นผู้มาช่วยชุบชีวิตศิลปะ: “จิตรกรที่โรมต่างก็ประทับใจในแนวการเขียนใหม่ของจิตรกรหนุ่ม และรุ่นเด็กลงไปต่างก็มาล้อมรอบตัวคาราวัจโจและสรรเสริญว่าเป็นมีเอกลักษณ์ในการเขียนเลียนแบบธรรมชาติและมองงานของคาราวัจโจว่าเป็นงานปาฏิหาริย์”[14]

หลังจากนั้นการาวัจโจก็ได้รับสัญญาจ้างเขียนภาพศาสนาอีกมากมายที่เป็นภาพเกี่ยวกับการขัดแย้งทางใจ, การทรมานที่น่าสยดสยอง, และการตายการทรมาน ส่วนใหญ่แล้วงานที่เขียนก็เพิ่มความมีชื่อเสียงของคาราวัจโจยิ่งขึ้น มีเพียงไม่กี่ภาพเท่านั้นที่ถูกปฏิเสธโดยผู้จ้างที่คาราวัจโจต้องนำกลับมาเขียนใหม่และขายให้ลูกค้าคนใหม่ หัวใจของปัญหาอยู่ที่ความรุนแรงของความเป็นนาฏกรรมของภาพและความเป็นจริงของภาพที่ยังยากที่จะเป็นที่ยอมรับของผู้จ้าง ผู้ที่บางคนที่ยังเห็นว่าเป็นลักษณะการเขียนภาพศาสนาที่ขาดความเคารพ[15] เช่นภาพฉบับแรกของ “นักบุญแม็ทธิวและเทวดา” ที่เป็นภาพนักบุญแม็ทธิวในลักษณะที่เป็นชาวบ้านหัวล้านแข้งขาสกปรกกับผู้นั่งชื่นชมรอบๆ ข้างที่เป็นชายที่แต่งกายหลวมๆ หน้าตาราวเทวดาที่คาราวัจโจชอบวาด แต่ภาพถูกผู้จ้างไม่ยอมรับงาน คาราวัจโจต้องนำกลับไปเขียนแต่งใหม่เป็น “แรงบันดาลใจของนักบุญแม็ทธิว” หรืออีกภาพหนึ่ง “มโนทัศน์ของนักบุญพอล” ที่ถูกปฏิเสธและขณะที่ฉบับอื่นของหัวข้อเดียวกัน “มโนทัศน์ของนักบุญพอลบนถนนสู่ดามาสคัส” ได้รับการยอมรับ ที่เป็นภาพของม้าที่ก้มลงมาดูนักบุญพอลที่ม้าดูจะมีความสำคัญในภาพมากกว่าตัวนักบุญพอลเอง ความขัดแย้งในการยอมรับหรือไม่ยอมรับทำให้คาราวัจโจหมดแรงกับเจ้าหน้าที่ของซันตามาเรียเดลโปโปโล: “ทำไมถึงเอาม้าไว้กลางรูปและให้นักบุญพอลนอนบนพื้น?” “เพราะ!” “ม้าเป็นม้าของพระเจ้าหรือ?” “เปล่า, แต่มันยืนขวางแสงของพระเจ้า!”[16]

มรณกรรมของพระแม่มารี”. ค.ศ. 1601 - ค.ศ. 1606. สีน้ำมันบนผ้าใบ, 396 x 245 ซม. พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีส

งานอื่นๆ ก็ได้แก่ “ชะลอร่างจากกางเขน”, “พระแม่มารีโลเร็ตโต” (หรือที่รู้จักกันในชื่อ “พระแม่มารีแห่งนักแสวงบุญ”), “พระแม่มารีและพระบุตรกับนักบุญอันนา” และ “มรณกรรมของพระแม่มารี” ประวัติของสองภาพหลังแสดงให้เห็นถึงปฏิกิริยาการรับหรือไม่ยอมรับงานบางชิ้นของคาราวัจโจจากนายจ้างในช่วงเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่นภาพ “พระแม่มารีและพระบุตรกับนักบุญอันนา” หรือที่รู้จักกันในชื่อ พระแม่มารีพาลาเฟรนิเอริ เขียนสำหรับแท่นบูชาขนาดย่อมที่มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรม ที่ตั้งแสดงอยู่ได้เพียงสองวันก็ถูกนำลง คาร์ดินัลเขียนว่า: “ภาพเขียนนี้ไม่มีอะไรนอกไปจากความหยายคาย, ความลบหลู่ศาสนา, ความขาดความเคารพ และความน่าขยะแขยง...เราน่าจะกล่าวได้ว่าเป็นงานที่เขียนโดยจิตรกรที่เขียนได้ดี, แต่มีจิตวิญญาณที่มืด, และเป็นผู้ที่ห่างเหินจากความนับถือในพระเจ้า, จากความชื่นชมในตัวของพระองค์, และจากความคิดอันดี...”

มรณกรรมของพระแม่มารี” เป็นภาพที่คาราวัจโจได้รับจ้างจากเลร์ซิโอ อัลเบร์ติ (Laerzio Alberti) ทนายความของพระสันตะปาปาในปี ค.ศ. 1601 สำหรับชาเปลส่วนตัวภายในซันตามาเรียเดลลาสกาลาซึ่งเป็นอารามคณะคาร์เมไลท์ที่ ทรัสเตเวเร (Trastevere) ในกรุงโรมซึ่งเป็นอารามใหม่ของคณะคาร์เมไลท์ แต่ถูกปฏิเสธโดยนักบวชในปี ค.ศ. 1606 จุยเลียโน มันชินิ (Giulio Mancini) ผู้ร่วมสมัยของคาราวัจโจ บันทึกว่าสาเหตุที่ถูกปฏิเสธเป็นเพราะการาวัจโจใช้โสเภณีผู้มีชื่อเสียงเป็นแบบสำหรับพระแม่มารีย์;[17] แต่จิโอวานนิ บากลิโอเนจิตรกรร่วมสมัยอีกคนหนึ่งกล่าวว่าเป็นเพราะช่วงขาที่ออกจะเปิดเผยของพระแม่มารี[18] — ทั้งสองกรณีอ้างมาตรฐานของสังคมขณะนั้น แต่นักวิชาการการาวัจโจ จอห์น แกชตั้งข้อเสนอว่าปัญหาของนักบวชคาร์เมไลท์อาจจะไม่ใช่ความพอใจหรือไม่พอใจในความสวยงามของภาพ แต่ข้อขัดแย้งมีรากฐานมาจากความแตกต่างทางมุมมองของปรัชญาทางศาสนา ที่นักบวชคาร์เมไลท์มีความเห็นว่าภาพของการาวัจโจละเลยความเชื่อในเรื่องแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ ภาพเขียนที่นำมาแทนเป็นงานเขียนของผู้ติดตามของการาวัจโจเอง คาร์โล ซาราเชนิ (Carlo Saraceni) แสดงภาพพระแม่มารีที่มิได้นอนเสียชีวิตเช่นในภาพของการาวัจโจ แต่เป็นภาพที่ทรงนั่งเสียชีวิต แต่ภาพนี้ก็ยังถูกปฏิเสธและแทนด้วยภาพที่พระแม่มารีที่มิได้มรณะและขึ้นสวรรค์พร้อมกับหมู่ทูตสวรรค์ แต่จะอย่างไรก็ตามการปฏิเสธก็ไม่ได้หมายความว่างานของการาวัจโจไม่เป็นที่นิยม ไม่นานหลังจากที่ถูกปฏิเสธดยุกแห่งมานทัวก็ซื้อภาพ “มรณกรรมของพระแม่มารี” ตามคำแนะนำของปีเตอร์ พอล รูเบนส์ และต่อมาโดยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ก่อนที่จะตกไปเป็นของงานสะสมของหลวงในฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1671

งานชิ้นหนึ่งในช่วงนี้ที่มิใช่งานศาสนาคือ “ชัยชนะของความรัก” ที่เขียนในปี ค.ศ. 1602 ให้วินเช็นโซ จุสติเนียนิบุคคลในวงเดล มอนเต ตัวแบบบ่งไว้ในบันทึกในต้นคริสต์ศตวรรที่ 17 ว่าชื่อ “เช็คโค” ซึ่งเป็นชื่อเล่นสำหรับฟรานเชสโค ผู้อาจจะเป็นฟรานเชสโค โบเนริที่มีชื่อเกี่ยวพันกับจิตรกรที่ทำงานระหว่าง ค.ศ. 1610-ค.ศ. 1625 ที่รู้จักกันในชื่อเช็คโค เดล คาราวัจโจ (Cecco del Caravaggio) [19] คิวปิดถือคันธนูและศรยืนครึ่งนั่งครึ่งยืนเปลือยเปล่าอยู่บนสัญลักษณ์ของศิลปะ, วิทยาศาสตร์ของการสงคราม และความสงบ แต่เป็นการยากที่จะยอมรับใบหน้าที่ยิ้มเยาะว่าเป็นใบหน้าของคิวปิดเทพโรมัน – และยากที่จะยอมรับว่าเป็นใบหน้าของชายหนุ่มต่างๆ ที่แทบจะไม่สวมอะไรบนร่างกายของที่การาวัจโจเขียนเป็นเทวดาที่สวมปีกปลอมภาพอื่นๆ การวาดลักษณะนี้แสดงความหมายของความกำกวมของงานของการาวัจโจที่ภาพเป็นคิวปิดหรือเทพโรมันแต่ในขณะเดียวกันก็เป็นเช็คโคด้วย หรือภาพพระแม่มารีที่ขณะเดียวกับที่เป็นพระมารดาของพระเยซูก็เป็นสตรีในราชสำนักด้วย

ลี้ภัยและความตาย (ค.ศ. 1606–ค.ศ. 1610)

[แก้]
ชัยชนะของความรักค.ศ. 1602-ค.ศ. 1603. สีน้ำมันบนผ้าใบ. 156 x 113 ซม. Gemäldegalerie, เบอร์ลิน. คาราวัจโจแสดงคิวปิดเหนือ ศาสตร์สำคัญของมนุษย์: สงคราม, ดนตรี, วิทยาศาสตร์, การปกครอง
ชุบชีวิตลาซารัส” (1609), พิพิธภัณฑ์เรจิโอนาเล, เมสสินา
นักบุญปีเตอร์ปฏิเสธพระเยซู”, ราว ค.ศ. 1610 สีน้ำมันบนผ้าใบ, 94 x 125 ซม. พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน, นครนิวยอร์ก ในภาพสตรีในเงาชี้สองนิ้วไปยังนักบุญปีเตอร์ขณะที่ทหารชี้นิ้วที่สาม ซึ่งเป็นการที่คาราวัจโจเล่าเรื่องการที่นักบุญปีเตอร์ปฏิเสธพระเยซูสามครั้งโดยการใช้สัญลักษณ์การชี้นิ้วสามนิ้วแทนที่จะวาดภาพเหตุการณ์

คาราวัจโจมีชีวิตที่ออกจะยุ่งเหยิงเพราะความมีชื่อเสียงว่าชอบทะเลาะเบาะแว้ง หลักฐานจากช่วงนั้นกล่าวถึงบันทึกรายงานของตำรวจและการขึ้นศาลเป็นหลายหน้า และเมื่อวันที่ 29 May ค.ศ. 1606 คาราวัจโจก็ฆ่าชายหนุ่มชื่อรานุชชิโอ โทมัสโซนิซึ่งอาจจะโดยไม่ได้ตั้งใจ[20] ก่อนหน้านั้นเมื่อมีเรื่องมีราวอะไรผู้อุปถัมภ์ผู้มีอำนาจก็มักจะช่วยปกป้องให้ แต่ครั้งนี้เหตุที่เกิดขึ้นรุนแรงเกินกว่าที่ผู้ใดจะช่วยได้ คาราวัจโจผู้กลายเป็นคนนอกกฎหมายจึงต้องหนีไปเนเปิลส์ซึ่งอยู่ภายนอกการครอบคลุมของกฎหมายโรม และไปอยู่ภายใต้การคุ้มครองของตระกูลโคลอนนา จิตรกรผู้มีชื่อเสียงที่สุดของโรมจึงกลายเป็นจิตรกรผู้มีชื่อเสียงที่สุดของเนเปิลส์ ความเกี่ยวข้องกับตระกูลโคลอนนาทำให้คาราวัจโจได้รับงานสำคัญๆ หลายชิ้นจากวัดรวมทั้งงาน “พระแม่มารีแห่งโรซารี” และ “การทำความดีเจ็ดอย่าง

แม้ว่าจะประสพความสำเร็จในเนเปิลส์ แต่คาราวัจโจก็พำนักอยู่เพียงสองสามเดือนหลังก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังมอลตาอันเป็นศูนย์กลางของคณะอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าเพื่อหวังว่าจะได้รับการอุปถัมภ์จากอลอฟ เด วินยาคอร์ท (Alof de Wignacourt) ผู้เป็นแกรนด์มาสเตอร์ของอัศวินแห่งลัทธิเซนต์จอห์น และซึ่งคาราวัจโจอาจจะหวังว่าเป็นผู้ที่อาจจะมีอำนาจพอที่จะขออภัยโทษในเรื่องการสังหารโทมัสโซนิ เด วิยาคอร์ทมีความประทับใจกับผลงานคาราวัจโจและมีความภูมิใจในการที่มีจิตรกรสำคัญเป็นช่างเขียนประจำลัทธิจนถึงกับแต่งตั้งให้คาราวัจโจเป็นสมาชิก นักชีวประวัติเบลโลริบันทึกว่าการาวัจโจเองก็มีความพอใจกับความสำเร็จที่ได้รับ งานสำคัญในช่วงที่พำนักอยู่ที่มอลตาก็รวมทั้งภาพเขียนขนาดใหญ่ “การตัดหัวนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์” (ภาพเขียนเดียวที่ลงนาม) และ “ภาพเหมือนของอลอฟ เด วิยาคอร์ตและเด็กรับใช้” และภาพเหมือนของอัศวินคนสำคัญอื่นๆ แต่ในเดือนสิงหาคมของปี ค.ศ. 1608 คาราวัจโจก็ไปมีเรื่องมีราวอีกจนถูกจับเข้าคุก สาเหตุของการจับกุมและการกักขังไม่เป็นที่ทราบแน่นอน แต่จากการสืบสวนเมื่อไม่นานมานี้กล่าวว่ามีสาเหตุมาจากการทะเลาะเบาะแว้งอีกครั้งหนึ่งที่ทำให้มีการพังประตูและทำให้อัศวินผู้หนึ่งบาดเจ็บ[21] ภายในเดือนธันวาคมการาวัจโจก็ถูกปลดจากการเป็นสมาชิกและถูกขับออกจากมอลตาอย่างอัปยศ[22]

ก่อนที่จะถูกขับการาวัจโจก็หนีไปซิซิลิไปหาเพื่อนเก่ามาริโน มินนิติที่ขณะนั้นแต่งงานแล้วและพำนักอยู่ที่ไซราคิวส์ จากที่นั่นคาราวัจโจและมินนิติก็ออกเดินทางที่ได้รับความสำเร็จตั้งแต่ไซราคิวส์ไปจนถึงเมสสินาและต่อไปยังพาร์เลอโม ในแต่ละเมืองคาราวัจโจก็ได้รับงานสำคัญๆ และค่าจ้างเขียนอย่างสูง งานในช่วงนี้บางชิ้นก็ได้แก่ “การฝังนักบุญลูซิ”, “ชุบชีวิตลาซารัส” และ “การชื่นชมของคนเลี้ยงแกะ

ลักษณะการเขียนของคาราวัจโจก็ยังคงวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ โดยการแสดงตัวแบบหรือกลุ่มตัวแบบบนฉากหลังใหญ่ที่ว่างเปล่า “งานฉากแท่นบูชาชิ้นเอกในซิซิลี คาราวัจโจวางตัวแบบในบริเวณที่กว้างใหญ่และมืดซึ่งเป็นการสื่อความหวาดหวั่นและความบอบบางของมนุษย์ แต่ในขณะเดียวกันก็สื่อความอ่อนโยนและความงามในความถ่อมตัวของร่างเล็กๆ ที่จะมาครองโลกต่อมา”[23] บันทึกมันชินิของผู้ร่วมสมัยกล่าวถึงความประพฤติของการาวัจโจว่ายิ่งประหลาดขึ้นทุกวัน เช่นนอนหลับทั้งๆ ที่ยังสวมเสื้อผ้กและมีพกอาวุธเต็มที่ หรือฉีกภาพเขียนทิ้งถ้าใครมาติแม้แต่นิดเดียว หรือเที่ยวเยาะเย้ยช่างเขียนท้องถิ่น[24]

หลังจากที่พำนักอยู่ที่ซิซิลีได้เพียงเก้าเดือนการาวัจโจก็กลับไปเนเปิลส์ จากบันทึกชีวประวัติกล่าวว่เป็นเพราะถูกไล่ตามโดยศัตรูที่ไปก่อขึ้นในซิซิลี นอกจากนั้นการอยู่ที่เนเปิลส์ก็ทำให้การาวัจโจรู้สึกปลอดภัยกว่าภาพใต้การพิทักษ์ของตระกูลโคโลนนาจนกว่าจะได้รับการอภัยโทษจากพระสันตะปาปาและกลับไปโรม[25]

ที่เนเปิลส์การาวัจโจเขียน “นักบุญปีเตอร์ปฏิเสธพระเยซู”, “นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ (บอร์เกเซ)” และภาพสุดท้าย “การพลีชีพของนักบุญเออร์ซูลา” ลักษณะการวาดก็ยังคงวิวัฒนาการต่อไป — คาราวัจโจจับภาพนักบุญเออร์ซูลาในขณะที่เต็มไปด้วยสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น--ภาพขณะที่ลูกศรที่ปลิวจากศรที่ยิงโดยกษัตริย์ฮันไปปักทะลุหน้าอก ซึ่งไม่เหมือนภาพที่วาดกันมาก่อน ที่เป็นการวางท่าที่จัดไว้ล่วงหน้าของช่างเขียน ฝีแปรงที่ใช้เป็นอิสระกว่าเดิมและเป็นแบบอิมเพรสชันนิสต์ ถ้าคาราวัจโจมีชีวิตยืนยาวอยู่ต่อมางานเขียนก็คงจะมีอะไรใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีก

ขณะที่พำนักอยู่ที่เนเปิลส์ก็มีคนพยายามสังหารการาวัจโจ ถึงกับมีข่าวที่โรมว่าจิตรกรคนสำคัญการาวัจโจเสียชีวิตเสียแล้วแต่ก็พบว่ายังมีชีวิตอยู่แต่ใบหน้าถูกทำร้ายจนเสียรูป ระหว่างนั้นคาราวัจโจก็เขียน “ซาโลเมและหัวของนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์” (มาดริด) แสดงหัวตัวเองบนถาดและจัดส่งภาพไปให้เด วิยาคอร์ทเพื่อเป็นการขอขมา ในช่วงเดียวกันการาวัจโจก็อาจจะเขียน “เดวิดกับหัวโกไลแอธ” (เวียนนา) ซึ่งเป็นภาพที่แสดงเดวิดเมื่อยังหนุ่มที่แสดงสีหน้าออกจะเศร้าที่มองไปทางหัวที่บาดเจ็บของโกไลแอธ ภาพนี้อาจจะเป็นภาพที่ส่งไปให้หลานของคาร์ดินัลสคิปิโอเน บอร์เกเซ (Scipione Borghese) ผู้มีอำนาจการให้อภัยโทษ[26]

ในหน้าร้อนปี ค.ศ. 1610 การาวัจโจก็ลงเรือขึ้นเหนือพร้อมกับภาพสามภาพสำหรับคาร์ดินัลสคิปิโอเนเพื่อไปรับใบอภัยโทษที่น่าจะได้รับจากอิทธิพลของเพื่อนผู้มีอำนาจในโรม[27] แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นออกจะสับสน ในวันที่ 28 กรกฎาคม หนังสือพิมพ์ส่วนบุคคล (avviso) จากโรมรายงานไปยังสำนักดยุกแห่งเออร์บิโนถึงการเสียชีวิตของการาวัจโจ สามวันต่อมาหนังสือพิมพ์อีกฉบับหนึ่งกล่าวว่าเสียชีวิตเพราะไข้ นี่เป็นรายงานข่าวแรกเกี่ยวกับการตายอย่างสั้นๆ แต่ต่อมามีการขยายความกันอย่างใหญ่โต แต่ไม่พบร่าง[28] เพื่อนที่เป็นกวีกล่าวว่าคาราวัจโจเสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม และงานการค้นคว้าเมื่อเร็วๆ นี้อ้างว่าได้พบประกาศการเสียชีวิตของศิลปินด้วยไข้ที่พอร์โต เออร์โคเล[29] ใกล้โกรสเซตโตในทัสกานี

ศิลปินการาวัจโจ

[แก้]

กำเนิดบาโรก

[แก้]
พระเยซูถูกจับ” ค.ศ. 1602. หอกศิลป์แห่งไอร์แลนด์, ดับลิน การใช้ค่าต่างแสงของคาราวัจโจแสดงให้เห็นจากใบหน้าและเสื้อเกราะ แต่จะไม่เห็นที่มาของลำแสง คนทางขวาสุดเป็นภาพเหมือนตนเอง
พระกระยาหารค่ำที่เอ็มมัส” ค.ศ. 1601. สีน้ำมันบนผ้าใบ, 139 x 195 ซม. หอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอน

การาวัจโจ “ใส่เงา (oscuro) ในการสร้างค่าต่างแสง”[30] ค่าต่างแสงเป็นกรรมวิธีการเขียนที่มีใช้กันมานานก่อนหน้านั้นแต่คาราวัจโจเป็นผู้ที่ทำให้เป็นกรรมวิธีที่มีความหมายที่ชัดเจนขึ้น โดยการทำให้เงามืดขึ้นและวางตัวแบบในแสงที่จัดจ้า การวาดเช่นนี้ทำให้ผู้เขียนต้องเพิ่มความสังเกตความเป็นจริงทางด้านสรีระและทางจิตวิทยาของตัวแบบในภาพมากยิ่งขึ้น ความสามารถในการใช้ค่าต่างแสงของคาราวัจโจทำให้เป็นที่นิยมกันมากในหมู่ศิลปินแต่ก่อให้เกิดปัญหากับคณะกรรมการผู้จ้างงานทางศาสนาบ่อยครั้ง คาราวัจโจมีความสามารถในการเขียนภาพอย่างรวดเร็วจากตัวแบบจริงโดยเพียงแต่ร่างหยาบๆ บนผืนผ้าใบด้วยด้ามแปรง ซึ่งเป็นวิธีที่เป็นที่ชิงชังในบรรดาช่างเขียนผู้ชำนาญที่ติเตียนการไม่ยอมวาดจากภาพร่างและการที่ไม่ยอมวาดตัวแบบอย่างอุดมคติอย่างที่ช่างเขียนอื่นทำ แต่ตัวแบบของคาราวัจโจเป็นตัวแบบที่เป็นจริงเป็นจังตามที่คาราวัจโจเห็น บางตัวก็สามารถบอกได้ว่าเป็นใครรวมทั้งมาริโอ มินนิติ และฟรานเชสโค โบเนริ ทั้งสองคนเป็นเพื่อนศิลปินด้วยกัน มาริโอปรากฏในภาพหลายภาพในยุคแรกของการเขียน ฟรานเชสโคปรากฏเป็นเทวดา, นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์, และเดวิดในภาพเขียนหลังจากนั้น แบบสำหรับสตรีก็รวมทั้ง ฟิลลิเด เมลันโดรนิ, แอนนา บิอันชินิ, และมัดดาเลนา อันโตเย็ตติ (“ลีนา” ที่กล่าวถึงในเอกสารในศาลเกี่ยวกับกรณี “อาร์ติโชค”) [31] และเช่นฮาเร็มของคาราวัจโจ สตรีทั้งหมดเป็นโสเภณีมีชื่อ ผู้ปรากฏในภาพเป็นบุคคลในศาสนาต่างๆ เช่นพระแม่มารี และนักบุญต่างๆ[32] คาราวัจโจเองก็ปรากฏในภาพที่เขียนเองหลายภาพๆ สุดท้ายปรากฏเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ทางด้านขวาสุดของภาพ “การพลีชีพของนักบุญเออร์ซูลา[33]

คาราวัจโจมีความสามารถในการแสดงฉากภาพที่กระจ่างในชั่วขณะที่สำคัญที่สุดของเหตุการณ์อย่างที่ไม่มีผู้ใดเทียบเทียมได้ เช่นในภาพ “พระกระยาหารค่ำที่เอ็มมัส” ที่แสดงนาทีที่สาวกจำได้ว่าเป็นพระเยซู--วินาทีก่อนหน้านั้นทรงเป็นเพียงเพื่อนร่วมทางที่โศรกเศร้าต่อการจากไปของเมสไซยาห์แต่วินาทีถัดมาพระองค์กลายเป็นพระมหาไถ่ ในภาพ “พระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว” มือของนักบุญแม็ทธิวชี้อกตัวเองราวจะกล่าวว่า “ใคร, ข้าหรือ?” ขณะที่สายตาที่มองตรงไปยังพระเยซูกล่าวแล้วว่า “ตกลง, ข้าจะติดตามท่าน” และในภาพ “ชุบชีวิตลาซารัส” คาราวัจโจยิ่งก้าวต่อไปอีกก้าวหนึ่งโดยการแสดงกระบวนการชุบชีวิตระหว่างที่เกิดขึ้น ร่างของลาซารัสยังกึ่งแข็งจากที่เพิ่งเสียชีวิตไปได้สามวันและได้รับการชุบชีวิตขึ้นมา แต่มือและใบหน้าทำท่ารู้ว่าเป็นพระเยซูเหมือนมีชีวิต จิตรกรบาโรกสำคัญๆ หลายคนก็ใช้วิธีเดียวกันเช่นจานโลเรนโซ แบร์นินีผู้มีความสนใจอย่างจริงจังกับหัวเรื่องของวรรณกรรมของโอวิด “มหากาพย์เมตะมอร์ฟอร์ซิส

“กลุ่มคาราวัจโจ”

[แก้]
จูดิธตัดหัวโฮโลเฟิร์นเนส” ค.ศ. 1598-1599. หอศิลป์โบราณแห่งชาติ โรม

การตั้งภาพเขียนของนักบุญแม็ทธิวในชาเปลคอนตาเรลลิมีผลต่อนักเขียนรุ่นใหม่ในโรมทันที คาราวัจโจกลายเป็นผู้นำในการเขียนภาพแบบใหม่ของนักเขียนที่ทะเยอทะยานทุกคน “กลุ่มคาราวัจโจ” กลุ่มแรกรวมทั้งจิโอวานนิ บากลิโอเน (แต่ติดตามอยู่เพียงไม่นาน) และโอราซิโอ เจนติเลสชิ (Orazio Gentileschi) รุ่นต่อมาก็ได้แก่คาร์โล ซาราเชนิ (Carlo Saraceni), บาร์โทโลเมโอ มันเฟรดิ (Bartolomeo Manfredi) และโอราซิโอ บอร์จิอันนิ (Orazio Borgianni) แม้ว่าเจนติเลสชิจะอายุมากกว่ามากแต่เป็นจิตรกรคนเดียวที่อายุยืนกว่า ค.ศ. 1620 ไปมากและต่อมากลายมาเป็นจิตรกรประจำราชสำนักของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ลูกสาวของเจนติเลสชิอาร์เทมิเซีย เจ็นทิเลสชิก็มีความใกล้ชิดกับคาราวัจโจและเป็นผู้มีพรสวรรค์มากที่สุดคนหนึ่งในวิธีการเขียนแบบคาราวัจโจ แต่ในกรุงโรมและในอิตาลีขบวนการเขียนภาพของอันนิบาเล คารัคชีที่ผสานระหว่างศิลปะเรอเนสซองซ์สูงและการเขียนความเป็นจริงแบบลอมบาร์ดเป็นขบวนการที่มามีความนิยมเหนือกว่าวิธีการเขียนของคาราวัจโจ

ช่วงระยะเวลาสั้นที่คาราวัจโจพำนักอยู่ในเนเปิลส์ก็พอเพียงที่จะสร้างตระกูลการเขียนแบบคาราวัจโจแบบเนเปิลส์ที่รวมทั้งจิตรกรบัตติสเตลโล คารัคชิโอโล (Battistello Caracciolo) และ คาร์โบ เซลลิตโต (Carlo Sellitto) ขบวนการเขียนแบบคาราวัจโจสิ้นสุดลงเมื่อเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1656 และการติดต่อกับสเปนเพราะเนเปิลส์เป็นของสเปนก็ ทำให้อิทธิพลการเขียนของคารัคชิโอโลเผยแพร่ไปถึงสเปนด้วย

ทางเหนือกลุ่มศิลปินโรมันคาทอลิกจากอูเทรคช, “กลุ่มคาราวัจโจอูเทรคช” (Utrecht caravaggism) ถึงกับเดินทางไปโรมเพื่อไปศึกษากับคาราวัจโจในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และได้รับอิทธิพลการเขียนอย่างลึกซึ้งจางงานของคาราวัจโจเช่นที่เบลโลริบรรยาย แต่ก็เป็นเพียงระยะสั้นเมื่อมาแทนด้วยอิทธิพลการเขียนในคริสต์ทศวรรษ 1620 ที่รวมทั้งเฮ็นดริค เตอร์ บรูกเก็น (Hendrick ter Brugghen), เจอราร์ด ฟาน โฮนท์ฮอร์สต์ (Gerard van Honthorst), อันดรีส์ โบท (Andries Both) และเดิร์ค ฟาน บาบูเร็น

แม้ว่าอิทธิพลของคาราวัจโจต่อนักเขียนรุ่นต่อมาจะลดน้อยลงไปแต่ก็ยังเห็นได้ในงานของปีเตอร์ พอล รูเบนส์ (ผู้ซื้อภาพหนึ่งของคาราวัจโจให้แก่กอนซากาแห่งมานตัวและเขียนงานก็อปปีภาพ “ชะลอร่างจากกางเขน”), โยฮันส์ เวร์เมร์, แรมบรังด์, และเดียโก เบลัซเกซ ผู้ที่อาจจะได้เห็นงานของคาราวัจโจระหว่างการเดินทางในอิตาลี

การสิ้นสุดและการรื้อฟื้นความนิยม

[แก้]
ชะลอร่างจากกางเขน” (ค.ศ. 1602-1603) พิพิธภัณฑ์วาติกัน

ชื่อเสียงของคาราวัจโจแทบจะไม่คงยาวไปกว่าเมื่อเสียชีวิต แต่ศิลปะบาโรกใช้เทคนิคการวาดค่าต่างแสงของคาราวัจโจแต่ปราศจากความเป็นจริงทางจิตใจ คาราวัจโจมีอิทธิพลโดยตรงต่อโอราซิโอ เจนติเลสชิและลูกสาวอาร์เทมิเซีย เจ็นทิเลสชิ และไกลไปยังฝรั่งเศสชอร์ช เดอ ลา ตูร์ และซิมง วูเอท์ (Simon Vouet) และในสเปนจุยเซ็ปเป ริเบอรา (Giuseppe Ribera) แต่เพียงไม่กี่สิบปีต่อมาอิทธิพลของคาราวัจโจก็สิ้นสุดลงหรือถูกละเลย ศิลปะบาโรกที่คาราวัจโจมีบทบาทในการก่อตั้งก็วิวัฒนาการต่อไป แต่เหตุหนี่งที่อิทธิพลของคาราวัจโจที่ไม่ยืนยาวอาจจะเป็นเพราะการที่คาราวัจโจไม่มีห้องเขียนภาพเช่นคารัคชิ จึงทำให้ไม่มีสถานที่ที่เป็นหลักแหล่งสำหรับการเผยแพร่ทฤษฎีการเขียนของตนเอง นอกจากนั้นคาราวัจโจก็ไม่มีโอกาสได้ก่อตั้งปรัชญาการเขียนอย่างเป็นทางการ ความเป็นจริงทางจิตวิทยาในการเขียนของคาราวัจโจจึงเพียงสิ่งที่เห็นได้จากงานเขียนที่ยังหลงเหลืออยู่เท่านั้น นอกจากนั้นชื่อเสียงก็ยังมาถูกทำให้หมองลงโดยนักเขียนชีวประวัติสองคน จิโอวานนิ บากลิโอเนจิตรกรคู่แข่งที่ออกจะเป็นศัตรูของคาราวัจโจ และจิโอวานนิ เบลโลรินักวิจารณ์ศิลปะผู้มีอิทธิพลของคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้ไม่รู้จักคาราวัจโจเป็นการส่วนตัวแต่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากนิโคลาส์ ปูแซนผู้ก็ไม่รู้จักคาราวัจโจเช่นกันแต่ไม่ชอบวิธีการเขียนภาพของคาราวัจโจ[34]

ในคริสต์ทศวรรษ 1920 นักวิจารณ์ศิลปะโรแบร์โต ลองกีฟื้นฟูความนิยมคาราวัจโจขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งโดยสรรเสริญว่า: “จุยเซ็ปเป ริเบอรา, โยฮันส์ เวร์เมร์, โยฮันส์ เวร์เมร์, ชอร์ช เดอ ลา ตูร์ และแรมบรังด์ไม่อาจจะมีชื่อเสียงได้ถ้าไม่มีคาราวัจโจ และศิลปะของเออแฌน เดอลาครัวซ์, กุสตาฟ คอร์แบท์ และเอดวด มาเนท์คงจะเป็นศิลปะที่แตกต่างไปจากที่เห็นเป็นอันมาก”[35] ซึ่งนักวิจารณ์ศิลปะเบอร์นาร์ด เบอร์เร็นสัน (Bernard Berenson) เห็นพ้องด้วย: “นอกไปจาก ไมเคิล แอนเจโลไปแล้วกก็ไม่มีจิตรกรอิตาลีคนใดที่มีอิทธิเกินไปกว่านั้น”[36]

วัฒนธรรมสมัยใหม่

[แก้]
การตัดหัวนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์” ค.ศ. 1608 มหาวิหารร่วมเซนต์จอห์น, วาลเล็ตตา

พิพิธภัณฑ์ศิลปะหลายพิพิธภัณฑ์เช่นที่ดีทรอยต์และนิวยอร์ก ต่างก็มีห้องแสดงงานของงานเขียนของจิตรกรที่แสดงวิธีการเขียนที่แสดงว่าได้รับอิทธิพลจากคาราวัจโจ—ฉากการวาดกลางคืน, การใช้แสงที่เป็นนาฏกรรม, การใช้คนธรรมดาเป็นแบบ, หรือการเขียนจากธรรมชาติโดยไม่มีการแต่งเติมเป็นต้น ในปัจจุบันจิตรกรเช่นช่างเขียนนอร์เวย์ออด เนอร์ดรุม (Odd Nerdrum) และชาวฮังการีทิบอร์ เซอร์นุส (Tibor Csernus) ต่างก็พยายามใช้วิธีเขียนของคาราวัจโจแต่ในขณะเดียวกันก็ปรับปรุงให้สมสมัยขึ้น และจิตรกรชาวอเมริกันดัก โอลสัน (Doug Ohlson) นักสร้างภาพยนตร์เดเร็ค จาร์แมน (Derek Jarman) สร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับชีวิตใน “คาราวัจโจ”; และจิตรกรปลอมภาพฮัน ฟาน เมเกอเร็น (Han van Meegeren) ใช้งานของคาราวัจโจเมื่อสร้างงานของจิตรกรผู้มีชื่อเสียง

งานเขียนของคาราวัจโจที่ยังมีอยู่มีเพียง 50 ชิ้น, “พระเยซูเรียกนักบุญปีเตอร์และนักบุญแอนดรูว์” เพิ่งพบว่าเก็บอยู่ที่พระราชวังแฮมพ์ตันที่ถูกบันทึกผิดไปว่าเป็นงานก็อปปี แต่ก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นงานต้นฉบับและได้รับซ่อมแซม บางภาพก็หายไปหรือบางภาพก็ถูกทำลายระหว่างสงคราม

อ้างอิง

[แก้]
  1. Carminati, Marco (25 February 2007). "Caravaggio da Milano" (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
  2. Floris Claes van Dijk, a contemporary of Caravaggio in Rome in 1601, quoted in John Gash, "Caravaggio", p.13. The quotation originates in Carl (or Karel) van Mander's Het Schilder-Boek of 1604, translated in full in Howard Hibbard, "Caravaggio". The first reference to Caravaggio in a contemporary document from Rome is the listing of his name, with that of Prospero Orsi as his partner, as an 'assistente' in a procession in October 1594 in honour of St. Luke (see H. Waga "Vita nota e ignota dei virtuosi al Pantheon" Rome 1992, Appendix I, pp.219 and 220ff). The earliest informative account of his life in the city is a court transcript dated 11 July 1597 where Caravaggio and Prospero Orsi were witnesses to a crime near San Luigi de' Francesi. (See "The earliest account of Caravaggio in Rome" Sandro Corradini and Maurizio Marini, The Burlington Magazine, pp.25-28).
  3. Quoted in Gilles Lambert, "Caravaggio", p.8.
  4. Confirmed by the finding of the baptism certificate from the Milanese parish of Santo Stefano in Brolo: Rai International Online เก็บถาวร 2009-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Traditionally it was believed that he was born in the Lombardy hill town of คาราวัจโจ, hence his name.
  5. Harris, p. 21.
  6. Rosa Giorgi, "Caravaggio: Master of light and dark - his life in paintings", p.12.
  7. Quoted without attribution in Robb, p.35, apparently based on the three primary sources, Mancini, Baglione and Bellori, all of whom depict Caravaggio's early Roman years as a period of extreme poverty (see references below).
  8. Giovanni Pietro Bellori, “Le Vite de' pittori, scultori, et architetti moderni”, 1672: "Michele was forced by necessity to enter the services of Cavalier Giuseppe d'Arpino, by whom he was employed to paint flowers and fruits so realistically that they began to attain the higher beauty that we love so much today."
  9. Caravaggio's Fruit: A Mirror on Baroque Horticulture (Jules Janick, Department of Horticulture and Landscape Architecture, Purdue University, West Lafayette, Indiana)
  10. Catherine Puglisi, "Caravaggio", p.79. Longhi was with Caravaggio on the night of the fatal brawl with Tomassoni; Robb, "M", p.341, believes that Minniti was as well.
  11. The critic Robert Hughes memorably described Caravaggio's boys as "overripe bits of rough trade, with yearning mouths and hair like black ice cream."
  12. Donald Posner's "Caravaggio's Early Homo-erotic Works" (Art Quarterly 24 (1971), pp.301-26) was the first to broach the subject of Caravaggio's sexuality and its relationship to his art. The gay biographers and commentators generally take a homoerotic content for granted, but the subject is complex. For a perceptive and well-sourced discussion, see Brian Tovar's "Sins Against Nature:: Homoeroticism and the epistemology of Caravaggio" เก็บถาวร 2007-12-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน For an opposing viewpoint, see Maurizio Calvesi's "Caravaggio" (ArtDossier 1986, in Italian). Calvesi argues that the early work reflects the Del Monte's taste rather than Caravaggio's, in the era before the advent of the modern concept of self-expression.
  13. Robb, p.79. Robb is drawing on Bellori, who praises Caravaggio's "true" colours but finds the naturalism offensive: "He (Caravaggio) was satisfied with [the] invention of nature without further exercising his brain."
  14. Bellori. The passage continues: "[The younger painters] outdid each other in copying him, undressing their models and raising their lights; and rather than setting out to learn from study and instruction, each readily found in the streets or squares of โรม both masters and models for copying nature."
  15. For an outline of the Counter-Reformation Church's policy on decorum in art, see Giorgi, p.80. For a more detailed discussion, see Gash, p.8ff; and for a discussion of the part played by notions of decorum in the rejection of "St Matthew and the Angel" and "Death of the Virgin", see Puglisi, pp.179-188.
  16. Quoted without attribution in Lambert, p.66.
  17. Mancini: "Thus one can understand how badly some modern artists paint, such as those who, wishing to portray the Virgin Our Lady, depict some dirty prostitute from the Ortaccio, as Michelangelo da Caravaggio did in the Death of the Virgin in that painting for the Madonna della Scala, which for that very reason those good fathers rejected it, and perhaps that poor man suffered so much trouble in his lifetime."
  18. Baglione: "For the [church of] Madonna della Scala in Trastevere he painted the death of the Madonna, but because he had portrayed the Madonna with little decorum, swollen and with bare legs, it was taken away, and the Duke of Mantua bought it and placed it in his most noble gallery."
  19. While Gianni Papi's identification of Cecco del Caravaggio as Francesco Boneri is widely accepted, the evidence connecting Boneri to Caravaggio's servant and model in the early 1600s is circumstantial. See Robb, pp193-196.
  20. The circumstances of the brawl and the death of Ranuccio Tomassoni remain mysterious. Several contemporary avvisi referred to a quarrel over a gambling debt and a tennis game, and this explanation has become established in the popular imagination. But recent scholarship has made it clear that more was involved. Good modern accounts are to be found in Peter Robb's "M" and Helen Langdon's "Caravaggio: A Life". An interesting theory relating the death to Renaissance notions of honour and symbolic wounding has been advanced by art historian Andrew Graham-Dixon. [1] เก็บถาวร 2008-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  21. The discovery of the evidence for this brawl was reported by Dr Keith Sciberras of the University of Malta, in "Frater Michael Angelus in tumultu: the cause of Caravaggio’s imprisonment in Malta", The Burlington Magazine, CXLV, April 2002, pp.229-232, and "Riflessioni su Malta al tempo del Caravaggio", Paragone Arte, Anno LII N.629, July 2002, pp.3-20. Sciberras' findings are summarised online at Caravaggio.com เก็บถาวร 2006-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  22. This was the formal phrase used in all such cases. The senior knights of the Order convened on 1 December, 1608 and, after verifying that the accused had failed to appear although summoned four times, voted unanimously to expel their putridum et foetidum ex-brother. Caravaggio was expelled, not for his crime, but for having left Malta without permission (i.e., escaping).
  23. Langdon, p.365.
  24. Caravaggio displayed bizarre behaviour from very early in his career. Mancini describes him as "extremely crazy", a letter of Del Monte notes his strangeness, and Mario Minniti's 1724 biographer says that Mario left Caravaggio because of his behaviour. The strangeness seems to have increased after Malta. Susinno's early 18th century Le vite de' pittori Messinesi, "Lives of the Painters of Messina", provides several colourful anecdotes of Caravaggio's erratic behaviour in Sicily, and these are reproduced in modern full-length biographies such as Langdon and Robb. Bellori writes of Caravaggio's "fear" driving him from city to city across the island and finally, "feeling that it was no longer safe to remain," to Naples. Baglione says Caravaggio was being "chased by his enemy," but like Bellori does not say who this enemy was.
  25. Baglione says that Caravaggio in Naples had "given up all hope of revenge" against his unnamed enemy.
  26. According to a 17th century writer the painting the head of Goliath is a self-portrait of the artist, while David is il suo Caravaggino, "his little Caravaggio". This phrase is obscure, but it has been interpreted as meaning either that the boy is a youthful self-portrait, or, more commonly, that this is the Cecco who modelled for the Amor Vincit. The sword-blade carries an abbreviated inscription which has been interpreted as meaning Humility Conquers Pride. Attributed to a date in Caravaggio's late Roman period by Bellori, the recent tendency is to see it as a product on Caravaggio's second Neapolitan period. (See Gash, p.125).
  27. A letter from the Bishop of Caserta in Naples to Cardinal Scipione Borghese in Rome, dated 29 July 1610, informs the Cardinal that the Marchesa of Caravaggio is holding two John the Baptists and a Magdalene which were intended for Borghese. These were presumably the price of Caravaggio's pardon from Borghese's uncle, the pope.
  28. The avvisi placed Caravaggio's death at Porto Ercole while on his way from Naples to โรม. The letter from the Bishop of Caserta to Scipione Borghese on 29 July, one day after the first avviso, says that Caravaggio died "not in Procida but at Porto Ercole." The bishop goes on to deny an earlier (lost) report that Caravaggio had died in Procida, and to say that instead Caravaggio's boat had stopped in Palo, where he had been imprisoned; the boat had returned to Naples, and Caravaggio had bought his release and gone on to Porto Ercole, "perhaps walking," where he died. None of these are intelligible as landing places for a man on his way to โรม: Procida is an island near Naples, Palo was a garrison in the marshes near the mouth of the Tiber but not well connected to the city — Rome's port was at Civitavecchia, a little further north — and Porto Ercole lay a further hundred kilometres north of, and away from, โรม. See Robb, "M", p.473ff.
  29. "BBC News : ARTS : Caravaggio death certificate 'found'". BBC. สืบค้นเมื่อ 2005-12-22.There seems to be no later confirmation of this report.
  30. Lambert, p.11.
  31. Much of the documentary evidence for Caravaggio's life in โรม comes from court records; the "artichoke" case refers to an occasion when the artist threw a dish of hot artichokes at a waiter.
  32. Robb, passim, makes a fairly exhaustive attempt to identify models and relate them to individual canvases.
  33. Caravaggio's self-portraits run from the Sick Bacchus at the beginning of his career to the head of Goliath in the David with the Head of Goliath in Rome's Borghese Gallery. Previous artists had included self-portraits as onlookers to the action, but Caravaggio's innovation was to include himself as a participant.
  34. Also see criticism by fellow Italian Vincenzo Carducci (living in Spain) who nearly bemoans Caravaggio as an "Antichrist" of painting with "monstrous" talents of deception.
  35. Roberto Longhi, quoted in Lambert, op. cit., p.15
  36. Bernard Berenson, in Lambert, op. cit., p.8

ข้อมูลเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ คาราวัจโจ

สมุดภาพ

[แก้]