เวนิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เวนิส

Venezia
Venesia หรือ Venexia
เทศบาลเวนิส
ทัศนียภาพของเวนิส: at the top left is the Piazza San Marco, followed by a view of the city, then the Grand Canal, and (smaller) the interior of La Fenice and, finally, the Island of San Giorgio Maggiore
ทัศนียภาพของเวนิส: at the top left is the Piazza San Marco, followed by a view of the city, then the Grand Canal, and (smaller) the interior of La Fenice and, finally, the Island of San Giorgio Maggiore
ธงของเวนิส
ธง
ตราราชการของเวนิส
ตราอาร์ม
แผนที่แสดงที่ตั้งของเวนิส
แผนที่
ประเทศอิตาลี
แคว้นเวเนโต
จังหวัดนครบาลเวนิส
FrazioniChirignago, Favaro Veneto, Mestre, Marghera, Murano, Burano, Giudecca, Lido, Zelarino
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีLuigi Brugnaro (independent)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด414.57 ตร.กม. (160.07 ตร.ไมล์)
ความสูง1 เมตร (3 ฟุต)
ประชากร
 (2014)[2]
 • ทั้งหมด264,579 คน
 • ความหนาแน่น640 คน/ตร.กม. (1,700 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมเวเนเชียน
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัสไปรษณีย์30100
รหัสเขตโทรศัพท์041
นักบุญองค์อุปถัมภ์มาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร
วันสมโภชนักบุญ25 เมษายน
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ
เวนิสและแอ่งน้ำ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
Venice in spring, with the Rialto Bridge in the background.
ประเทศอิตาลี
ภูมิภาค **ยุโรปและอเมริกาเหนือ
ประเภททางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณาi, ii, iii, iv, v, vi
อ้างอิง394
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียนค.ศ. 1987 (คณะกรรมการสมัยที่ 11)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

เวนิส (อังกฤษ: Venice; /ˈvɛnɪs/ veh-niss) หรือ เวเน็ตเซีย (อิตาลี: Venezia; [veˈnɛttsja] ( ฟังเสียง); เวเนโต: Venesia หรือ Venexia) เป็นเมืองหลักของแคว้นเวเนโต ประเทศอิตาลี มีประชากร 271,663 คน (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม 2547) เมืองเวนิสได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งทะเลเอเดรียติก (Queen of the Adriatic), เมืองแห่งสายน้ำ (City of Water), เมืองแห่งสะพาน (City of Bridges) และเมืองแห่งแสงสว่าง (The City of Light)

เมืองเวนิสถูกสร้างขึ้นจากการเชื่อมเกาะเล็ก ๆ จำนวนมากเข้าด้วยกันในบริเวณทะเลสาบเวนิเทีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเอเดรียติก ในภาคเหนือของประเทศอิตาลี ทะเลสาบน้ำเค็มนี้ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งระหว่างปากแม่น้ำโปกับแม่น้ำปลาวี มีผู้อยู่อาศัยโดยประมาณ 272,000 คน ซึ่งนับรวมหมดทั้งเวนิส โดยมี 62,000 คนในบริเวณเมืองเก่า 176,000 คนในแตร์ราแฟร์มา (Terraferma) และ 31,000 คนในเกาะอื่น ๆ ในทะเลสาบ

ประวัติศาสตร์[แก้]

เวนิสก่อตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 5 โดยผู้ลี้ภัยที่หลบหนีการบุกรุกจากทางเหนือ พวกเขาได้สร้างถิ่นฐานที่เป็นเอกลักษณ์ในหมู่เกาะเวนิสเพื่อป้องกันการจู่โจมจากภายนอก เวนิสเป็นเมืองบริวารของจักรวรรดิไบเซนไทน์จนกระทั่งศตวรรษที่ 10 เริ่มต้นด้วยการเป็นเส้นทางการค้าไปยังลิแวนต์ เวนิสเริ่มเป็นที่รู้จักหลังสงครามครูเสดที่ 4 (ค.ศ. 1202-1204) ในฐานะเจ้าอาณานิคมในจักรวรรดิที่รวมเกาะครีต ยูบีอา ซิคละดีส หมู่เกาะไอโอเนียน และ ฐานที่มั่นในโมเรียและ อิพิรัสเข้าด้วยกัน

ในปี ค.ศ. 1381 เวนิสได้พ่ายแพ้ให้กับเจนัวหลังจากที่มีการต่อสู้ทางการค้ายาวนานกว่าศตวรรษในลิแวนด์และเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก ในศตวรรษที่ 15 มีการรวบรวมเมืองต่าง ๆ ในภูมิภาคใกล้เคียง ทำให้สาธารณรัฐเวนิสกลายเป็นรัฐหนึ่งของอิตาลี เขตปกครองของเวนิสเดิมค่อย ๆ สูญเสียไปให้กลุ่มเติร์กทีละน้อยหลังจากการต่อสู้อย่างยาวนานถึงสามศตวรรษจนกระทั่งเสียดินแดนสุดท้ายที่อีเจียนให้แก่กลุ่มเติร์กในปี ค.ศ. 1715 ต่อมาในปี ค.ศ. 1797 เวนิสตกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออสเตรีย หลังจากเกิดการปฏิวัติในออสเตรีย เวนิสถูกปลดปล่อยคืนให้อิตาลีในปี ค.ศ. 1899 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เวนิสได้รับความเสียหายเล็กน้อย แต่มาเกิดความเสียหายรุนแรงช่วงปี ค.ศ. 1966 จากเหตุการณ์น้ำท่วมเนื่องจากน้ำล้นคลองที่มีอยู่หลายแห่งทั่วเวนิส การบูรณะและพยายามรักษาสถาปัตยกรรมดั้งเดิมซึ่งรวมถึงสถาปัตยกรรมรูปแบบอิตาลี อาหรับ ไบเซนไทน์และเรอเนซองค์ ทำได้ยากเนื่องจากระดับน้ำในทะเลสาบขึ้นสูงและเกิดน้ำท่วมในตัวเมืองเป็นประจำ

ปัจจุบันเวนิสมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่คึกคักและยังมีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจของแคว้นเวเนโต

ภูมิประเทศ[แก้]

ภูมิอากาศ[แก้]

เวนิสมีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเพราะอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี มีปริมาณน้ำฝนคงที่ตลอดทั้งปี ในฤดูร้อนจะอากาศจะค่อนข้างร้อน อุณหภูมิเฉลี่ย 21-26 องศาเซลเซียส บางวันอาจสูงถึง 30 องศาเซลเซียส ในฤดูหนาวอากาศจะหนาวเย็นอุณหภูมิเฉลี่ย 2-8 องศาเซลเซียส บางครั้งอาจจะต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง

ข้อมูลภูมิอากาศของเวนิส (ค.ศ. 1971–2000)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 6.6
(43.9)
8.6
(47.5)
12.5
(54.5)
16.1
(61)
21.5
(70.7)
24.9
(76.8)
27.7
(81.9)
27.5
(81.5)
23.5
(74.3)
18.0
(64.4)
11.6
(52.9)
7.4
(45.3)
17.2
(63)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 3.3
(37.9)
4.7
(40.5)
8.3
(46.9)
12.0
(53.6)
17.1
(62.8)
20.5
(68.9)
23.0
(73.4)
22.6
(72.7)
18.9
(66)
13.8
(56.8)
7.8
(46)
4.0
(39.2)
13.0
(55.4)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) −0.1
(31.8)
0.8
(33.4)
4.1
(39.4)
7.8
(46)
12.7
(54.9)
16.1
(61)
18.3
(64.9)
17.7
(63.9)
14.3
(57.7)
9.6
(49.3)
4.0
(39.2)
0.6
(33.1)
8.8
(47.8)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 47.0
(1.85)
48.3
(1.902)
48.8
(1.921)
70.0
(2.756)
66.0
(2.598)
78.0
(3.071)
63.9
(2.516)
64.8
(2.551)
72.0
(2.835)
73.5
(2.894)
65.5
(2.579)
50.6
(1.992)
748.4
(29.465)
ความชื้นร้อยละ 81 77 75 75 73 74 71 72 75 77 79 81 75.8
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 6.0 5.2 5.7 8.3 8.2 8.6 5.9 6.1 5.9 6.7 5.8 5.9 78.3
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 80.6 107.4 142.6 174.0 229.4 243.0 288.3 257.3 198.0 151.9 87.0 77.5 2,037.0
แหล่งที่มา: MeteoAM (sun and humidity 1961–1990)[3][4]

เวนิสเป็นเมืองที่มีการใช้คลองในการคมนาคมมากที่สุด มีอาคาร ร้าน บ้านเมืองตั้งริมคลอง มีเรือบริการในการเดินทางไปในที่ต่าง ๆ ของเมืองมีการบริการท่องเที่ยวชมทิวทัศน์ธรรมชาติของ 2 ฝั่งคลองโดยทางเรือ นับเป็นเมืองที่คลองมากกว่าถนนอีกเมืองหนึ่งของโลก

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

มหาวิหารเซนต์มาร์ก เรือกอนโดล่า

มหาวิหารซานมาร์โค (St.Mark’s Basilica) สัญลักษณ์แห่ง เวนิส

สะพาน Rialto แห่ง Grand Canal

ศิลปะ[แก้]

วัฒนธรรมของเวนิส[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Superficie di Comuni Province e Regioni italiane al 9 ottobre 2011". สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2019.
  2. "Popolazione Residente al 1° Gennaio 2018". สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2019.
  3. "Venezia/Tessera" (PDF). Italian Air Force National Meteorological Service. สืบค้นเมื่อ 5 December 2013.
  4. "Tabella CLINO". MeteoAM. สืบค้นเมื่อ 22 June 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]