คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 47

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะรัฐมนตรีอานันท์
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 47 แห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2534 - 2535
วันแต่งตั้ง9 มีนาคม พ.ศ.​ 2534
วันสิ้นสุด7 เมษายน​ พ.ศ. 2535
(1 ปี 29 วัน)
บุคคลและองค์กร
พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
ประวัติ
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 46
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 48

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 47 ของไทย (2 มีนาคม พ.ศ. 2534 - 22 มีนาคม พ.ศ. 2535)

นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2535[1] พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ประธานคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ[2]

รายชื่อคณะรัฐมนตรี[แก้]

ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี
(จนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี)
รัฐมนตรีว่าการ
รัฐมนตรีช่วยว่าการ
รัฐมนตรีลอย
ออกจากตำแหน่ง
เปลี่ยนแปลง/โยกย้าย
แต่งตั้งเพิ่ม
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 47 ของไทย[3]
ตำแหน่ง รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
นายกรัฐมนตรี นายอานันท์ ปันยารชุน 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
รองนายกรัฐมนตรี นายเสนาะ อูนากูล 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
พลตำรวจเอกเภา สารสิน 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
สำนักนายกรัฐมนตรี หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
นายไพจิตร เอื้อทวีกุล 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
นายมีชัย วีระไวทยะ 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
นางสายสุรี จุติกุล 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
กระทรวงกลาโหม พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณจันทร์ 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
พลเอกวิมล วงศ์วานิช 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
พลอากาศเอกพิศิษฐ์ ศาลิคุปต์ 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
กระทรวงการคลัง นายสุธี สิงห์เสน่ห์ 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
นายวีรพงษ์ รามางกูร 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
กระทรวงการต่างประเทศ นายอาสา สารสิน 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
นายวิเชียร วัฒนคุณ 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์
นายอาณัติ อาภาภิรม 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
นายอาชว์ เตาลานนท์ 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
กระทรวงคมนาคม นายนุกูล ประจวบเหมาะ 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
หม่อมหลวงเชิงชาญ กำภู 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
พลเอกวิโรจน์ แสงสนิท 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
พลอากาศเอกสุเทพ เทพรักษ์ 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
กระทรวงพาณิชย์ นายอมเรศ ศิลาอ่อน 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
กระทรวงมหาดไทย พลเอกอิสระพงศ์ หนุนภักดี 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
พลอากาศเอกอนันต์ กลินทะ 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
พลเรือเอกวิเชษฐ การุณยวณิช 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
นายเจริญจิตต์ ณ สงขลา 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
กระทรวงยุติธรรม นายประภาศน์ อวยชัย 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน นายสง่า สรรพศรี 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
กระทรวงศึกษาธิการ นายก่อ สวัสดิพาณิชย์ 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
นายสมชัย วุฑฒิปรีชา 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
กระทรวงสาธารณสุข นายไพโรจน์ นิงสานนท์ 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
นายอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
กระทรวงอุตสาหกรรม นายสิปปนนท์ เกตุทัต 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
นายวีระ สุสังกรกาญจน์ 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
ทบวงมหาวิทยาลัย นายเกษม สุวรรณกุล 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535

การปรับคณะรัฐมนตรี[แก้]

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี คณะที 47 ของไทย[แก้]

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากมีการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 คณะรัฐมนตรีชุดนี้จึงพ้นจากตำแหน่งไปตามวาระ

อ้างอิง[แก้]

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (นายอานันท์ ปันยารชุน)
  2. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 1 เล่มที่ 108 ตอนที่ 42 เรื่อง พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ประกาศเมื่อ 2 มีนาคม พ.ศ. 2534
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2019-10-27.
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (แต่งตั้งให้ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (สมัย นายอานันท์ ปันยารชุน))
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (แต่งตั้งให้ นายเจริญจิตต์ ณ สงขลา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (สมัย นายอานันท์ ปันยารชุน))

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]