คณะประชาชนปลดแอก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะประชาชนปลดแอก
ชื่อย่อFree People
ก่อตั้ง14 พฤศจิกายน 2562 (4 ปี 165 วัน)
ในชื่อประชาชนปลดแอก
ประเภทกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง
วัตถุประสงค์
  • หยุดคุกคามประชาชน
  • ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย
  • ยุบสภาผู้แทนราษฎรและยกเลิกวุฒิสภา
  • ไม่ยอมรับรัฐบาลแห่งชาติและรัฐประหาร
  • แก้ไขพระราชอำนาจและกฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย [1]
ที่ตั้ง
หัวหน้า
เว็บไซต์

คณะประชาชนปลดแอก (อังกฤษ: Free People) เป็นกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ไม่มีแกนนำอย่างเป็นทางการ ก่อตั้งขึ้นเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และต่อต้านการบริหารประเทศที่ล้มเหลวของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62[4] โดยมีบทบาทอย่างมากในการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 ที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน โดยได้เป็นผู้จัดการชุมนุมใหญ่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในวันที่ 18 กรกฎาคม และ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2563

คณะประชาชนปลดแอกมีกลุ่มพันธมิตร เช่น เยาวชนปลดแอก-FreeYouth,[5] สมัชชาคนจน,[6] สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย,[7] สมัชชาแรงงานแห่งชาติ, คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และอื่น ๆ

ต่อมาได้ร่วมมือกับแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม จัดตั้งเป็นคณะราษฎร[8] แต่แกนนำที่ร่วมเป็นกระบอกเสียงให้มวลชน ต่างถูกดำเนินคดี และเกิดความรุนแรงและการปะทะกับเจ้าหน้าที่ จากแกนนำบางกลุ่มทำให้มวลชนในการร่วมการชุมนุมมีจำนวนที่ลดลง เนื่องจากกังวลเรื่องความปลอดภัย และเป้าหมายของแกนนำได้เปลี่ยนไปจากการเรียกร้องประชาธิปไตยเป็นการปฏิรูปสถาบัน ทำให้มวลชนบางส่วนไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว และหลังการสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวันก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กลุ่มราษฎร เพื่อชุมนุมต่อไปโดยไม่มีแกนนำ[9]

ประวัติ[แก้]

คณะเยาวชนปลดแอก ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 มีสาเหตุมาจากการที่กลุ่มเยาวชนไม่พอใจในการบริหารประเทศที่ล้มเหลวของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และการยุบพรรคอนาคตใหม่ที่กลุ่มเห็นว่าไม่เป็นธรรม และนำไปสู่การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 โดยในช่วงแรก คาดการเพียงเจาะจงเฉพาะกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ ในชื่อว่า เยาวชนปลดแอก (อังกฤษ: Free Youth) แต่ภายหลัง มีผู้เข้าร่วมเป็นกลุ่มวัยกลางคน และผู้สูงอายุมากขึ้น ทางแกนนำของกลุ่มต่างๆจึงได้มีมติเห็นชอบในการก่อตั้ง คณะประชาชนปลดแอก และถือเป็นการประกาศยกระดับการชุมนุมเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563[10] ส่วนชื่อเยาวชนปลดแอกนั้น ยังคงใช้ในสื่อออนไลน์ของทางกลุ่มที่แยกออกมาจากคณะประชาชนปลดแอกขึ้นมา

การถูกคุกคาม[แก้]

ตำรวจใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวัน

แกนนำคณะประชาชนปลดแอก อย่างน้อย 16 คน ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่สถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ และอื่น ๆ ควบคุมตัวหลังจากปราศัยต่อต้านรัฐบาล[11] หนึ่งในนั้นคือ ทนายอานนท์ นำภา ในข้อหายุยงปลุกปั่น มาตรา 116[12]

วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ตำรวจได้นำรถฉีดน้ำแรงดันสูงใส่ผู้ชุมนุมที่แยกปทุมวัน โดยไม่สามารถระบุได้ว่า น้ำที่ใช้ทำการสลายการชุมนุมนั้น ผสมสารที่เป็นอันตรายหรือไม่[13] นับเป็นการสลายการชุมนุมที่รุนแรงที่สุดในปี พ.ศ. 2563

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. คณะประชาชนปลดแอก ออกแถลงการณ์ปิดการชุมนุม ย้ำ 3 ข้อ 2 จุดยืน 1 ความฝัน
  2. "ยิ่งกว่าดอกเห็ด ม็อบนศ.ลุกฮือหลายจังหวัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-14. สืบค้นเมื่อ 2020-08-30.
  3. แกนนำประชาชนปลดแอกเดินทางไป สน.สำราญราษฎร์ เรียกร้องให้ ตร.นำหมายจับออกมาจับกุม หลังยุติการชุมนุมบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
  4. ประชาชนปลดแอก: ย้อนความเคลื่อนไหว 25 ปี สมัชชาคนจน ก่อนร่วมหนุนประชาชนปลดแอก
  5. เยาวชนปลดแอก - Free YOUTH อยู่บน Facebook
  6. สมัชชาคนจนประกาศร่วม "พันธมิตรฯ" เต็มตัว
  7. "สนท.-เยาวชนปลดแอก" ยังคงชุมนุมต่อเนื่อง
  8. "คณะราษฎร: ประกาศ 3 ข้อเรียกร้องก่อนชุมนุมใหญ่ 14 ตุลา ประยุทธ์ลาออก-เปิดสภาแก้ รธน.-ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์". บีบีซีไทย. 2020-10-08. สืบค้นเมื่อ 2021-03-13.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "ม็อบ 17 ตุลา พรึ่บ! 5 แยกลาดพร้าว อุดมสุข วงเวียนใหญ่ "ไล่นายกฯ" ลือ "เคอร์ฟิว" ประกาศ 2 ทุ่มแยกย้าย". พีพีทีวี. 2020-10-17. สืบค้นเมื่อ 2021-03-13.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. 'เยาวชนปลดแอก' ประกาศจัดตั้ง 'คณะประชาชนปลดแอก'
  11. อานนท์ นำภา: ศาลอนุมัติหมายจับแกนนำ-ผู้ปราศรัยในการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลอย่างน้อย 7 คน
  12. จับรอบ 2 ทนายอานนท์ ตร.ชนะสงครามดักรอหน้าศาล แจ้ง 4 ข้อหา
  13. ชมภาพชุด'สมรภูมิแยกปทุมวัน'ประมวลสถานการณ์ชุมนุม 16 ตุลาฯ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]