ไททันโนโบอา
ไททันโนโบอา แซร์อาโฮนเอนซิส ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยพาลีโอซีนตอนกลางถึงตอนปลาย (Peligran-Itaboraian) ~60–58Ma | |
---|---|
กระดูกสันหลังของไททันโอโบอาในพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาJosé Royo y Gómez, Bogotá | |
ภาพวาดของไททันโอโบอา | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Reptilia |
อันดับ: | Squamata |
อันดับย่อย: | Serpentes |
วงศ์: | Boidae |
วงศ์ย่อย: | Boinae |
สกุล: | Titanoboa † Head et al., 2009 |
สปีชีส์: | T. cerrejonensis † |
ชื่อทวินาม | |
Titanoboa cerrejonensis † Head et al., 2009 |
ไททันโนโบอา แซร์อาโฮนเอนซิส (ชื่อวิทยาศาสตร์: Titanoboa cerrejonensis, ชื่อย่อ: ไททันโนโบอา (Titanoboa)) เป็นชื่องูขนาดใหญ่ที่ไม่มีพิษ ในวงศ์ Boidae ที่ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ถูกค้นพบโดยคณะนักวิทยาศาสตร์สาขาบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยโทรอนโต
นักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่า ไททันโนโบอา มีรูปร่างลักษณะและมีพฤติกรรมคล้ายงูอนาคอนดาซึ่งปัจจุบันพบในป่าดิบชื้นในทวีปอเมริกาใต้ โดยหากินในน้ำ ซึ่งอาหารได้แก่ จระเข้และปลาขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายคลึงกับงูอนาคอนดา แต่ทว่ามีความยาวกกว่ามาก โดยมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 13.5 เมตร และอาจยาวได้ถึง 15 เมตร หนักถึง 2.6 ตัน โดยชื่อของมันเป็นภาษาลาติน แปลได้ว่า "งูยักษ์จากแซร์อาโฮน" (Titanic boa from Cerrejon) ซึ่งมาจากชื่อเมืองแซร์อาโฮน ในประเทศโคลอมเบีย ซึ่งเป็นที่ค้นพบซากฟอสซิลของมันเป็นครั้งแรก
ซากฟอสซิลของไททันโนโบอา ที่ค้นพบเป็นกระดูกสันหลัง จำนวน 180 ชิ้น คาดว่าน่าจะเป็นของงูทั้งหมด 12 ตัว ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2007 ซึ่งกระดูกสันหลังนั้นมีขนาดใหญ่กว่ากระดูกสันหลังของงูอนาคอนดาไม่มากนัก[1]
จากการวิเคราะห์อายุชั้นหิน พบว่า ไททันโนโบอา มีชีวิตอยู่เมื่อราว 58 ถึง 60 ล้านปีก่อน ในสมัยพาลีโอซีนตอนกลางถึงตอนปลาย เป็นช่วงหลังจากเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดิบชื้น มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 32- 90 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของป่าดิบชื้น และสอดคล้องกับสภาพอากาศ ที่คาดว่ามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศปริมาณมาก[2]