ข้ามไปเนื้อหา

แอลลิเกเตอร์อเมริกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอลลิเกเตอร์อเมริกา
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 8–0Ma สมัยไมโอซีน–ปัจจุบัน
เสียงร้อง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
ไม่ได้จัดลำดับ: Archosauria
อันดับ: Crocodilia
วงศ์: Alligatoridae
สกุล: Alligator
สปีชีส์: A.  mississippiensis
ชื่อทวินาม
Alligator mississippiensis
(Daudin, 1802)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
  • Crocodilus mississipiensis [sic] Daudin, 1802
  • Alligator mississippiensis Holbrook, 1842

แอลลิเกเตอร์อเมริกา หรือ จระเข้ตีนเป็ดอเมริกา (อังกฤษ: American alligator, gator) เป็นสัตว์เลื้อยคลานเฉพาะถิ่นที่พบเฉพาะในทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา เป็นแอลลิเกเตอร์หนึ่งในสองชนิดที่ยังหลงเหลืออยู่ในโลก จัดอยู่ในสกุล Alligator วงศ์ Alligatoridae มีขนาดใหญ่กว่าแอลลิเกเตอร์จีน (A. sinensis) ที่พบในประเทศจีน

แอลลิเกเตอร์อเมริกา มีฟันที่แหลมคมในปาก สามารถงอกใหม่ทดแทนกันได้ทันที ประมาณว่ามีทั้งหมดราว 1,000 ฟันตลอดทั้งชีวิต[2] อายุขัยโดยเฉลี่ย 30-50 ปี ตัวผู้โตเต็มที่มีความยาว 3.4 เมตร (11 ฟุต) ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า มีความยาวประมาณ 2.6 เมตร (8.5 ฟุต) บางครั้งตัวผู้ที่มีอายุมากอาจยาวได้มากกว่า 4 เมตร (13 ฟุต)[3][4][5][4]

แอลลิเกเตอร์อเมริกา อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา เช่น อุทยานแห่งชาติเอเวอร์เกลดส์ ในรัฐฟลอริดา เป็นสัตว์ที่ออกหากินในเวลากลางคืน สามารถซ่อนตัวในโคลนตมหรือดงหญ้าได้เป็นอย่างดี กินอาหารได้หลากหลาย ทั้ง ปลา, กวาง, งูหลาม แม้กระทั่งเต่า ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีกระดองแข็งหุ้มตัว[2] เพราะจากการมีส่วนปลายของหัวแผ่กว้างและสั้นจึงหุบปาก จึงทำให้มีแรงงับจากกรามรุนแรงมาก[6]

แอลลิเกเตอร์อเมริกา อาศัยอยู่ในถิ่นที่อยู่ที่มีอากาศอบอุ่น แต่ในฤดูหนาวที่ผิวหน้าน้ำแข็งตัวเป็นน้ำแข็ง ในระยะแรกเชื่อกันว่าในช่วงนี้แอลลิเกเตอร์อเมริกาจะเสาะหาพื้นที่ใต้น้ำหรือใช้โพรงดินเพื่อหลบเลี่ยงอากาศหนาว การศึกษาโดยใช้วิทยุติดตามตัวจึงทราบว่า แท้ที่จริงแล้วแอลลิเกเตอร์อเมริกาได้เคลื่อนย้ายตัวเองไปยังบริเวณน้ำตื้นและโผล่เฉพาะช่องเปิดจมูกขึ้นมาเหนือผิวน้ำเพื่อหายใจ เนื่องจากไม่สามารถลดระดับเมตาบอลิซึมในช่วงเวลาดังกล่าวได้จึงต้องใช้ออกซิเจนตลอดเวลาและหายใจโดยโผล่เฉพาะช่องเปิดจมูกขึ้นมาเหนือผิวน้ำ และขึ้นจากน้ำในเวลากลาสงวันเพื่อพึ่งแดด ซึ่งตรงกันข้ามกับพฤติกรรมของแอลลิเกเตอร์จีน ที่ในช่วงเวลาดังกล่าวจะใช้วิธีการจำศีลภายในโพรงที่ขุดขึ้นมา มีทั้งโพรงแห้งและโพรงน้ำ ระบบภายในโพรงมีความซับซ้อน[7]

เป็นสัตว์ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร เป็นสัตว์ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้ และเคยมีแอลลิเกเตอร์อเมริกางับแขนนักท่องเที่ยวขาดมาแล้วในสวนสัตว์ และเคยมีกรณีบุกเข้าไปอยู่ในเขตที่อยู่อาศัยอย่างบ้านเรือนของมนุษย์ เช่น สระว่ายน้ำ หรือแม้แต่ในท่อระบายน้ำ[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Crocodile Specialist Group (1996). Alligator mississippiensis. In: IUCN 1996. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 24 February 2009.
  2. 2.0 2.1 Giant Python Invader, "Austin Stevens Adventures". ทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: จันทร์ที่ 7 มกราคม 2556
  3. Crocodiles and Alligators edited by S Charles A. Ross & Stephen Garnett. Checkmark Books (1989), ISBN 978-0816021741.
  4. 4.0 4.1 Wood, Gerald (1983). The Guinness Book of Animal Facts and Feats. ISBN 978-0-85112-235-9.
  5. "Crocodilian Species—American Alligator (Alligator mississippiensis)". Flmnh.ufl.edu. สืบค้นเมื่อ 2008-10-14.
  6. หน้า 147, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (2552) ISBN 978-616-556-016-0
  7. หน้า 368-369, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (2552) ISBN 978-616-556-016-0
  8. Alligators in the Sewers.เรียกข้อมูลเมื่อ 2013-1-8.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]