เส้นใยประสาทนำเข้า
เส้นใยประสาทนำเข้า (Afferent nerve fiber) | |
---|---|
เซลล์ประสาทนำเข้าและเซลล์ประสาทนำออก เซลล์ประสาทนำเข้ามีเส้นใยประสาทที่นำข้อมูลความรู้สึกจากผิวหนังไปยังไขสันหลัง | |
รายละเอียด | |
ระบบ | ระบบประสาท |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | neurofibrae afferentes |
TA98 | A14.2.00.017 |
TH | H2.00.06.1.00015 |
FMA | 76570 |
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์ |
เส้นใยประสาทนำเข้า[1] (อังกฤษ: afferent nerve fiber) หมายถึงแอกซอนที่ส่งเข้าไปยังบริเวณสมองบริเวณหนึ่ง ๆ เทียบกับเส้นใยประสาทนำออก (efferent nerve fiber) ซึ่งหมายถึงแแอกซอนที่ส่งออกจากบริเวณสมองบริเวณหนึ่ง ๆ คำเหล่านี้มีความหมายต่างกันเล็กน้อยสำหรับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (PNS) และระบบประสาทกลาง (CNS)
ใน PNS เส้นใยประสาทนำเข้าและเส้นใยประสาทนำออกจะมองจากไขสันหลัง (ดูรูป) เส้นใยประสาทนำเข้าก็คือแอกซอนของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่ส่งข้อมูลความรู้สึกจากร่างกายเข้าไปยังไขสันหลัง ส่วนเส้นใยประสาทนำออกก็คือเซลล์ประสาทสั่งการที่ไขสันหลังซึ่งส่งกระแสประสาทสั่งการเคลื่อนไหวจากไขสันหลังไปยังกล้ามเนื้อ[2][3][4]
ใน CNS เส้นใยประสาทนำเข้าและเส้นใยประสาทนำออกอาจมองจากบริเวณสมองส่วนใดส่วนหนึ่งก็ได้ ซึ่งก็คือ สมองแต่ละเขตจะมีเส้นใยประสาทนำเข้าและเส้นใยประสาทนำออกเป็นของตน ๆ จะจำให้ง่ายก็คือ จากมุมมองของสมองส่วนใดส่วนหนึ่ง afferents เป็นเส้นใยประสาทที่เข้ามาถึง (arriving) และ efferents เป็นเป็นเส้นใยประสาทที่ออกไป (exiting)
โครงสร้าง
[แก้]เซลล์ประสาทนำเข้าเป็นเซลลประสาทขั้วเดียวเทียม (pseudounipolar neuron) ซึ่งมีแอกซอนเดียวที่ออกจากตัวเซลล์แล้วแบ่งเป็น 2 สาขา สาขายาวส่งไปที่อวัยวะรับความรู้สึก และสาขาสั้นส่งไปทางระบบประสาทกลาง (เช่นไขสันหลัง)[5] เซลล์เช่นนี้ไม่มีเดนไดรต์[6] มีตัวเซลล์ (soma) กลมเรียบอยู่ที่ปมประสาท (ganglion) ของระบบประสาทนอกส่วนกลางนอกไขสันหลังเล็กน้อย มีเซลล์ประสาทนำเข้าอยู่รวมกันเป็นพัน ๆ เป็นปมที่รากหลังของประสาทไขสันหลังซึ่งเรียกว่า ปมประสาทรากหลัง (dorsal root ganglion)[5][6]
แอกซอนจากปมประสาทรากหลัง (dorsal root ganglion) ซึ่งเป็นเส้นใยประสาทนำเข้า ใช้ส่งข้อมูลความรู้สึกทางกาย รวมทั้งความเจ็บปวด สัมผัส อุณหภูมิ ความคัน และแรงยืด ยกตัวอย่างเช่น มีใยประสาทพิเศษชนิดหนึ่งเรียกว่า intrafusal muscle fiber เป็นเซลล์ประสาทนำเข้าที่อยู่ขนานกับ extrafusal muscle fibers และทำหน้าที่เป็นตัวรู้ความยืด (stretch receptor) โดยตรวจจับความยาวของกล้ามเนื้อ[5]
ความรู้สึกทั้งหมดเหล่านี้ดำเนินไปทางวิถีประสาทต่าง ๆ กันไปยังสมอง เช่น วิถีประสาทหนึ่งที่เรียกว่า dorsal column-medial lemniscus pathway ส่งข้อมูลเกี่ยวกับสัมผัสละเอียดและอากัปกิริยาจากร่างกายรวมศีรษะครึ่งหลัง ผ่านเส้นใยประสาทนำเข้าของปมประสาทรากหลัง (เป็น first order neuron) ผ่านไขสันหลังไปยังทาลามัส แล้วต่อไปยังคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย โดย first order neuron ส่งแอกซอนขึ้นผ่าน dorsal column ในไขสันหลังซีกร่างกายเดียวกันไปยัง second order neuron ที่ dorsal column nuclei ในก้านสมองซีกกายเดียวกัน ซึ่งก็ส่งแอกซอนข้ามไขว้ทแยง (decussate) ที่ medulla (ในก้านสมองเช่นกัน) ผ่าน medial lemniscus ไปยัง third order neuron ในทาลามัสซึ่งก็จะส่งแอกซอนไปสุดที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (somatosensory cortex/postcentral gyrus) ของสมองกลีบข้าง[7]
- ดูเพิ่มที่ วิถีประสาทของระบบรับความรู้สึกทางกาย
ประเภท
[แก้]ประเภทของใยประสาทนำเข้ารวมทั้ง general somatic afferent fibers (GSA), general visceral afferent fibers (GVA), special somatic afferent fibers (SSA) และ special visceral afferent fibers (SVA)
อนึ่ง ในระบบรับความรู้สึก ใยประสาทนำเข้าจะมีขนาดต่าง ๆ โดยจัดเป็นหมวด ๆ ขึ้นอยู่ว่าเป็นใยประสาทจากกล้ามเนื้อหรือที่ผิวหนัง[8][9]
ปลอกไมอีลิน | เส้นผ่าศูนย์กลาง (µm) | ความเร็ว (m/s) | จากกล้ามเนื้อ | จากผิวหนัง | ตัวรับความรู้สึก |
---|---|---|---|---|---|
หนา | 12-20 | 72-120 | I | Aα | ตัวรับแรงกลเกี่ยวกับอากัปกิริยา (Muscle spindle, Golgi tendon organ) |
กลาง | 6-12 | 35-75 | II | Aβ | Merkel, Meissner, Pacinian, Ruffini, Muscle spindle (secondary ending) |
บาง | 1-6 | 4-36 | III | Aδ | ปลายประสาทอิสระ |
ไม่มี | 0.2-1.5 | 0.4-2.0 | IV | C | ปลายประสาทอิสระ |
หน้าที่
[แก้]ระบบประสาทเป็นระบบ "วงจรปิด" ที่มีการรับความรู้สึก การตัดสินใจ และการตอบสนอง เป็นกระบวนการเนื่องกับการทำงานของเซลล์ประสาทรับความรู้สึก (sensory neuron), อินเตอร์นิวรอน และเซลล์ประสาทสั่งการ (motor neuron) ยกตัวอย่างเช่น สัมผัสหรือตัวกระตุ้นที่ทำให้เจ็บ สมองจะรู้สึกก็ต่อเมื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นผ่านเส้นใยประสาทนำเข้า
วลีและคำช่วยจำ
[แก้]คำว่า afferent มาจากรูปกิริยาขยาย (participle) ของคำละตินว่า afferentem (af- = ad- : to + ferre : แบก, ถือ) ซึ่งหมายความว่า แบก/ถือเข้าไปยัง คำอุปสรรค ad และ ex จึงสามารถใช้เป็นเครื่องช่วยจำแนกระหว่างคำ afferent กับ efferent คือ afferent = arrives (มาถึง) และ efferent = exits (ออก)[10]
วลีช่วยจำอีกอย่างสำหรับเส้นใยประสาทนำเข้าและนำออกที่ออกมาจากรากสองรากที่ไขสันหลังก็คือ SAME DAVE ขยายว่า Sensory Afferent Motor Efferent (ใยประสาทนำเข้าเป็นใยรับความรู้สึก ใยประสาทนำออกเป็นใยประสาทสั่งการ), Dorsal Afferent Ventral Efferent (ใยประสาทนำเข้าเข้าไปที่รากหลัง ใยประสาทนำออกออกมาจากรากหน้า)
อนึ่ง afferent และ efferent ยังเชื่อมกับคำว่า affect (มีผล) และ effect (ทำให้เกิดผล) เพราะมีรากเดียวกัน ดังนั้น afferent nerves affect the subject (ใยประสาทนำเข้า เช่นความรู้สึก มีผลต่อบุคคล) เทียบกับ efferent nerves allow the subject to effect change (ประสาทสั่งการให้เคลื่อนไหวทำให้บุคคลสามารถทำผลให้เกิด)
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑
- "fibre, nerve", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕,
(แพทยศาสตร์) เส้นใยประสาท
- "afferent", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕,
(แพทยศาสตร์) -นำเข้า
- "fibre, nerve", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕,
- ↑ Mader, SS (2000). Human biology. New York: McGraw-Hill. ISBN 0-07-290584-0.
- ↑ Hall, JE; Guyton, AC (2006). Textbook of medical physiology (11th ed.). St. Louis, Mo: Elsevier Saunders. ISBN 0-7216-0240-1.
- ↑ Warrell, DA; Cox, TM; Firth, JD (2010). The Oxford Textbook of Medicine (5th ed.). Oxford University Press.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Carlson, Neil. Physiology of Behavior. Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Education, Inc. ISBN 9780205239399.
- ↑ 6.0 6.1 MacCallum, Don. "Peripheral Nervous System". Histology and Virtual Microscopy Learning Resources. University of Michigan Medical School. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-07. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
- ↑ Gardner & Johnson (2013), pp. 488–495
- ↑ Gardner & Johnson (2013), p. 477
- ↑ Pearson, Keir G; Gordon, James E (2013). "35 - Spinal Reflexes". ใน Kandel, Eric R; Schwartz, James H; Jessell, Thomas M; Siegelbaum, Steven A; Hudspeth, AJ (บ.ก.). Principles of Neural Science (5th ed.). United States: McGraw-Hill. Table 35-1 Classification of Sensory Fibers from Muscle, p. 796. ISBN 978-0-07-139011-8.
- ↑ MedicalMnemonics.com (วลึช่วยจำทางการแพทย์): 3502 3463 367 115
อ้างอิงอื่น ๆ
[แก้]- Gardner, Esther P; Johnson, Kenneth O (2013). "22 - The Somatosensory System: Receptors and Central Pathway". ใน Kandel, Eric R; Schwartz, James H; Jessell, Thomas M; Siegelbaum, Steven A; Hudspeth, AJ (บ.ก.). Principles of Neural Science (5th ed.). United States: McGraw-Hill. ISBN 978-0-07-139011-8.