ข้ามไปเนื้อหา

ปมประสาทรากหลัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปมประสาทรากหลัง (Dorsal root ganglion)
ปมประสาทรากหลังของตัวอ่อนของไก่มีอายุได้ประมาณ 7 วันหลังจากการฟักตัวคืนหนึ่งในสารมี nerve growth factor, ย้อมสีด้วย anti-neurofilament antibody สามารถมองเห็นแอกซอนที่งอกออกมาจากปมประสาทได้
ใยประสาทไขสันหลังพร้อมกับรากด้านหน้าและด้านหลัง ปมประสาทรากหลังมีป้ายว่า "spinal ganglion" ถัดจากรากหน้าและรากหลัง
รายละเอียด
คัพภกรรมneural crest
ตัวระบุ
ภาษาละตินganglion sensorium nervi spinalis
MeSHD005727
TA98A14.2.00.006
TA26167
FMA5888
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ในกายวิภาคศาสตร์และประสาทวิทยาศาสตร์ ปมประสาทรากหลัง หรือ ปมประสาทไขสันหลัง (อังกฤษ: dorsal root ganglion หรือ spinal ganglion, ganglion sensorium nervi spinalis, ตัวย่อ DRG) เป็นปุ่มเล็กๆ บนรากหลัง (dorsal root) ของไขสันหลัง ที่มีเซลล์ประสาทซึ่งส่งสัญญาณจากอวัยวะรับความรู้สึก ไปยังศูนย์รวบรวมสัญญาณที่เหมาะสมในระบบประสาทกลาง ใยประสาทที่นำสัญญาณไปยังระบบประสาทกลาง (คือสมองหรือไขสันหลัง) เรียกว่า ใยประสาทนำเข้า (afferent nerve fiber)

โครงสร้างมีขั้วเดียวที่ไม่เหมือนใคร

[แก้]

แอกซอนของเซลล์ประสาทในปมประสาทรากหลังเรียกว่า ใยประสาทนำเข้า (afferent nerve fiber) ในระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nervous system) ใยประสาทนำเข้าหมายถึงแอกซอนที่ส่งข้อมูลความรู้สึกไปยังระบบประสาทกลาง (คือสมองหรือไขสันหลัง) เซลล์ประสาทเหล่านี้เป็นประเภท "มีขั้วเดียวเทียม (pseudo-unipolar)" ซึ่งหมายความว่ามีแอกซอนเดียวที่แบ่งออกเป็นสองสาขาที่เรียกว่า "ส่วนยืดปลาย (distal process)" และ "ส่วนยืดประชิด (proximal process)"

เซลล์ประสาทอาจมีส่วนประกอบ 3 คือ

  1. เดนไดรต์ที่รับแล้วส่งข้อมูลไปยังตัวเซลล์ (soma)
  2. ตัวเซลล์ (soma) - ตัวของเซลล์ประสาท
  3. แอกซอน ซึ่งส่งข้อมูลไปจากตัวเซลล์

ในเซลล์ประสาทหนึ่งๆ เดนไดรต์รับข้อมูลมากจากแอกซอนของอีกเซลล์ประสาทหนึ่งผ่านไซแนปส์ แล้วก็ส่งข้อมูลไปยังเดนไดรต์ของอีกเซลล์ประสาทหนึ่ง

แต่โดยที่ไม่เหมือนเซลล์ประสาทส่วนมากในระบบประสาทกลาง ศักยะงานในปมประสาทรากหลังอาจจะเริ่มที่ส่วนยืดปลาย (distal process) ไม่เดินทางผ่านตัวเซลล์ แต่เดินทางต่อไปตามส่วนยืดประชิด (proximal process) จนกระทั่งถึง synaptic terminal (ปลายไซแนปส์) ในปีกหลังของไขสันหลัง (posterior horn of spinal cord[1])

ส่วนยืดปลาย

[แก้]

ส่วนยืดปลาย (distal process) ของแอกซอนอาจจะมีลักษณะเป็นปลายประสาทอิสระ หรือถูกหุ้มอยู่ในแคปซูล ที่ช่วยส่งข้อมูลเฉพาะบางอย่างไปทางใยประสาท ยกตัวอย่างเช่น Meissner's corpuscle หรือ Pacinian corpuscle อาจจะเป็นตัวหุ้มปลายประสาท ทำให้ส่วนยืดปลายมีความไวต่อตัวกระตุ้นเชิงกล คือการสัมผัสเบาๆ หรือแรงสั่นสะเทือนตามลำดับ[2]

ตำแหน่ง

[แก้]

ปมประสาทรากหลังอยู่ตามลำกระดูกสันหลัง (vertebral column)

การพัฒนาในเอ็มบริโอ

[แก้]

ปมประสาทรากหลังมีการพัฒนาในตัวอ่อนจากเซลล์ neural crest ไม่ใช่ neural tube ดังนั้น ปมประสาทไขสันหลังสามารถพิจารณาได้ว่าเป็นเนื้อเทาของไขสันหลัง เป็นเนื้อเทาที่ย้ายมาอยู่ในส่วนรอบนอกของระบบประสาทกลาง

โนซิเซ็ปชั่น

[แก้]

Proton-sensing G protein-coupled receptors (ตัวรับโปรตอนคู่กับโปรตีนจี) ปรากฏด้วยการแสดงออกของยีน (gene expression[3]) บนเซลล์ประสาทรับความรู้สึก (sensory neuron) ของปมประสาทรากหลัง และอาจมีบทบาทในโนซิเซ็ปชั่นที่ตอบสนองต่อสารกรด[4]

ประตูไวแรงกล

[แก้]

ปลายประสาทของเซลล์ประสาทในปมประสาทรากหลัง (DRG) มีตัวรับรู้ความรู้สึกหลายประเภทที่ตอบสนองต่อตัวกระตุ้นเชิงกล เชิงอุณหภูมิ เชิงเคมี และตัวกระตุ้นอันตราย (noxious stimuli)[5]

ในเซลล์ประสาทรับความรู้สึกเหล่านี้ มีประตูไออนกลุ่มหนึ่ง ที่สันนิษฐานกับว่า มีหน้าที่ถ่ายโอน[6]การกระทบสัมผัส. แรงกดดันที่ DRG ของตัวกระตุ้นเชิงกลย่อมลดระดับศักย์ขีดเริ่มเปลี่ยนของเยื่อหุ้มเซลล์ ที่จำเป็นในการเหนี่ยวนำการตอบสนองและการยิงศักยะงานของ DRG[7] และการยิงศักยะงานนี้อาจจะดำเนินต่อไปหลังจากที่นำตัวกระตุ้นออกไปแล้ว[7]

มีการค้นพบประตูไอออนไวแรงกล (mechanosensitive ion channel) 2 ประเภทในเซลล์ประสาทของ DRG ประตูทั้งสองนั้นจำแนกอย่างคร่าวๆ ว่าเป็นแบบขีดเริ่มเปลี่ยนสูง (high-threshold ตัวย่อ HT) หรือแบบขีดเริ่มเปลี่ยนต่ำ (low threshold ตัวย่อ LT)[5] โดยไปเป็นตามชื่อนั่นแหละ ประตูทั้งสองมีขีดเริ่มเปลี่ยนและความไวต่อแรงกดดันในระดับแตกต่างกัน ประตูแคตไอออนเหล่านี้ ปรากฏว่ามีการทำงานที่ถูกควบคุมโดยการทำงานอย่างถูกต้องของระบบเส้นใยของเซลล์ (cytoskeleton) และโปรตีนที่สัมพันธ์กับระบบเส้นใยของเซลล์[5] ความมีอยู่ของประตูเหล่านี้ใน DRG เป็นเหตุผลให้เชื่อได้ว่า เซลล์ประสาทรับความรู้สึกประเภทอื่นๆ อาจจะมีประตูเหล่านี้เช่นกัน

ประตูไวแรงกลมีขีดเริ่มเปลี่ยนสูง

[แก้]

ประตูที่มีขีดเริ่มเปลี่ยนสูง (HT) อาจมีบทบาทในโนซิเซ็ปชั่น ประตูเหล่านี้พบได้โดยมากในเซลล์ประสาทรับความรู้สึกเล็กๆ ใน DRG และเริ่มทำงานโดยแรงดันระดับสูง ซึ่งเป็นคุณสมบัติสองอย่างของโนซิเซ็ปเตอร์[5]

ยิ่งกว่านั้นแล้ว ขีดเริ่มเปลี่ยนของประตู HT ลดระดับลงเมื่อประสบกับ Prostaglandin E2 ซึ่งเป็นสารประกอบที่เพิ่มความไวให้กับเซลล์ประสาท ต่อตัวกระตุ้นเชิงกลและการรู้สึกเจ็บมากกว่าปกติ (hyperalgesia) ที่เกิดจากตัวกระตุ้นเชิงกล เป็นหลักฐานอีกอย่างหนึ่งที่สนับสนุนบทบาทของประตู HT ในการถ่ายโอน[6]ตัวกระตุ้นเชิงกลไปเป็นสัญญาณประสาทในกระบวนการโนซิเซ็ปชั่น[5][7][8]

ดู

[แก้]

หมายเหตุและอ้างอิง

[แก้]
  1. ปีกหลังของไขสันหลัง (posterior horn of spinal cord) เป็นปีกเนื้อเทาด้านหลังของไขสันหลัง มีหน้าที่รับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้สึกต่างๆ จากกาย รวมทั้งความสัมผัสเบา การรับรู้อากัปกิริยา (proprioception) และความสั่นสะเทือน ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้สึกเหล่านี้มาจากหน่วยรับความรู้สึกที่ผิวหนัง กระดูก และข้อต่อ ของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่มีตัวเซลล์อยู่ที่ปมประสาทรากหลัง
  2. Kandel ER, Schwartz JH, Jessell TM. Principles of Neural Science, 4th ed., p.431-433. McGraw-Hill, New York (2000). ISBN 0-8385-7701-6
  3. การแสดงออกของยีน (gene expression) คือขบวนการที่ข้อมูลต่างๆ ของยีน ถูกนำมาใช้เพื่อการสังเคราะห์โปรตีนและกรดไรโบนิวคลีอิก (RNA) อันเป็นผลิตภัณฑ์ของยีน
  4. Huang CW, Tzeng JN, Chen YJ, Tsai WF, Chen CC, Sun WH (2007). "Nociceptors of dorsal root ganglion express proton-sensing G-protein-coupled receptors". Mol. Cell. Neurosci. 36 (2): 195–210. doi:10.1016/j.mcn.2007.06.010. PMID 17720533.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 PMID 11850451 (PMID 11850451)
    Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand
  6. 6.0 6.1 การถ่ายโอน ในสรีรวิทยา (อังกฤษ: Transduction (Physiology)) คือการเปลี่ยนตัวกระตุ้นแบบหนึ่งไปยังอีกแบบหนึ่ง การถ่ายโอนในระบบประสาทมักจะหมายถึงการส่งสัญญาณเพื่อแจ้งการตรวจพบตัวกระตุ้น โดยที่ตัวกระตุ้นเชิงกล ตัวกระตุ้นเชิงเคมี หรือเชิงอื่นๆ ถูกเปลี่ยนเป็นศักยะงานประสาท แล้วส่งไปทางแอกซอน ไปสู่ระบบประสาทกลางซึ่งเป็นศูนย์รวบรวมสัญญาณประสาทเพื่อประมวลผล
  7. 7.0 7.1 7.2 PMID 8893432 (PMID 8893432)
    Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand
  8. PMID 10579219 (PMID 10579219)
    Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand

ภาพต่างๆ

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่นๆ

[แก้]