ข้ามไปเนื้อหา

เสียงเสียดแทรก หลังปุ่มเหงือก ก้อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เสียงเสียดแทรกก้องที่เกิดบริเวณส่วนหลังของปุ่มเหงือกประกอบด้วยเสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือกเพดานแข็ง ก้อง [ʒ], เสียงเสียดแทรก ไม่อุสุม หลังปุ่มเหงือก ก้อง [ɹ̠˔], เสียงเสียดแทรก ลิ้นม้วน ก้อง [ʐ] และเสียงเสียดแทรก เพดานแข็งปุ่มเหงือก ก้อง [ʑ] บทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะสองเสียงแรก

เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือกเพดานแข็ง ก้อง

[แก้]
เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือกเพดานแข็ง ก้อง
ʒ
หมายเลขไอพีเอ135
การเข้ารหัส
เอนทิตี (ฐาน 10)ʒ
ยูนิโคด (ฐาน 16)U+0292
เอกซ์-แซมปาZ
เคอร์เชินบอมZ
ตัวอย่างเสียง

 

เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือกเพดานแข็ง ก้อง (อังกฤษ: voiced palato-alveolar fricative) เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาโรมาเนีย, ภาษาเช็ก, ภาษาเซิร์บ-โครแอต, ภาษาตุรกี, ภาษาเปอร์เซีย เป็นต้น

สัญลักษณ์ในชุดสัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ ⟨ʒ⟩ และสัญลักษณ์เอกซ์-แซมปาที่ตรงกันคือ Z

เสียงเสียดแทรก ไม่อุสุม หลังปุ่มเหงือก ก้อง

[แก้]
เสียงเสียดแทรก ไม่อุสุม หลังปุ่มเหงือก ก้อง
ɹ̠˔
ɹ̝˗
หมายเลขไอพีเอ151 414 429
การเข้ารหัส
เอกซ์-แซมปาr\_-_r

 

เสียงเสียดแทรก ไม่อุสุม หลังปุ่มเหงือก ก้อง (voiced postalveolar non-sibilant fricative) เป็นเสียงพยัญชนะเสียงหนึ่ง พบเป็นหน่วยเสียงย่อยแบบหนึ่งของหน่วยเสียง /r/ ในภาษาดัตช์[1]

เนื่องจากชุดสัทอักษรสากลไม่มีสัญลักษณ์แยกต่างหากสำหรับเสียงหลังปุ่มเหงือก (สัญลักษณ์ตัวเดียวกันนั้นใช้แทนเสียงโคโรนัลทุกเสียงที่ไม่มีการยกลิ้นสู่เพดานแข็ง) จึงมักถอดเสียงนี้โดยใช้เครื่องหมายเสริมเป็น ɹ̠˔ (retracted constricted [ɹ]) สัญลักษณ์เอกซ์-แซมปาที่ตรงกันคือ r\_-_r

อ้างอิง

[แก้]
  1. Goeman, Ton; van de Velde, Hans (2001), "Co-occurrence constraints on /r/ and /ɣ/ in Dutch dialects", ใน van de Velde, Hans; van Hout, Roeland (บ.ก.), 'r-atics, Brussels: Etudes & Travaux, pp. 94–98, 101–102, ISSN 0777-3692