ข้ามไปเนื้อหา

เรือประจัญบาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูเอสเอส ไอโอวา (BB-61) ในปี ค.ศ. 1984

เรือประจัญบาน คือเรือรบหุ้มเกราะขนาดใหญ่ที่มีอาวุธประจำเรือเป็นปืนใหญ่มีระยะยิงไกล ในช่วงปลายสตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 เรือประจัญบานถือเป็นเรือรบที่มีพลานุภาพที่สุดในบรรดาเรือรบทั้งหลาย และการมีฝูงเรือประจัญบานถือว่ามีความสำคัญมาก สำหรับประเทศใดๆก็ตามที่ต้องการคงไว้ซึ่งความเป็นใหญ่ทางทะเล

คำว่า เรือประจัญบาน ถูกกำหนดขึ้นเมื่อราว ปี 1794 และเป็นคำลดรูปมาจาก เรือรบเข้ากระบวน (ship of the line) อันเป็นเรือรบต่อด้วยไม้ ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดใน ยุคสมัยของเรือใบ (Age of Sail)[1] คำดังกล่าวเข้ามาสู่การใช้อย่างเป็นทางการในปลายทศวรรษที่ 1880 เพื่อใช้บรรยาย เรือรบหุ้มเกราะ (ironclad warship) ประเภทหนึ่ง[2] ซึ่งปัจจุบันได้รับการอ้างถึงโดยนักประวัติศาสตร์ว่า "เรือประจัญบาญยุคก่อนเดร็ดนอท" ในปี 1906 คำสั่งให้ต่อ เรือหลวงเดร็ดนอท (1906) (HMS Drednought) นับว่าเป็นการเปิดศักราชใหม่ในการออกแบบเรือประจัญบาน

ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มีการสร้างเรือประจัญบานที่ขับเคลื่อนด้วยพลังกลจักรไอน้ำ และติดอาวุธที่ทรงอานุภาพ เช่น ปืนใหญ่โฮชวิตเซอร์ และปืนครก ที่มีระยะยิงไกล และมีอำนาจการยิงรุนแรง

ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการติดตั้งเกราะเหล็กให้กับเรือประจัญบาน และมีการติดตั้งป้อมปืนใหญ่ที่หมุนยิงได้รอบ กระสุนปืนใหญ่มีการพัฒนากระสุนแบบต่างๆ และก็เข้าสู่ยุคการสร้างเรือประจัญบานด้วยเหล็กทั้งลำ และในยุคเดียวกัน กองทัพเรืออังกฤษได้สร้างเรือประจัญบาน เรือหลวงเดรดนอต (HMS Dreadnought) ที่ติดปืนใหญ่ขนาด 12 นิ้ว (305 มม.) ที่ยิงได้ทั่วทุกทิศ ทุกชาติต่างพากันสร้างเรือประจัญบาน

ในยุคสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1914-1918) ชาติต่าง ๆ ที่เข้าร่วมสงคราม ได้สร้างเรือประจัญบาน (เดรดนอต) ขึ้นมา เช่น เบราน์ชไวค์ ของเยอรมนี, เดรดนอต ของสหราชอาณาจักร, นิวยอร์ก ของสหรัฐ, คาวาชิ ของญี่ปุ่น, เซนต์อิสตแวน ของออสเตรีย-ฮังการี, พรอว็องส์ ของฝรั่งเศส, ปอลตาวา ของรัสเซีย, และเคานต์แห่งกาวูร์ ของอิตาลี

นางาโตะมุตสึเนลสันร็อดนีย์
โคโลราโดแมริแลนด์เวสต์เวอร์จิเนีย
สุดยอดเรือประจัญบานสุดแกร่งทั้ง 7 (Big 7) ตามสนธิสัญญานาวิกวอชิงตัน ประกอบด้วย: นางาโตะ, มุตสึ, เนลสัน, ร็อดนีย์, โคโลราโด, แมริแลนด์ และเวสต์เวอร์จิเนีย

หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้มีสนธิสัญญาจำกัดการสร้างเรือประจัญบานขึ้นมาหลายข้อ เช่น สนธิสัญญานาวิกวอชิงตัน ที่ห้ามสร้างเรือรบที่มีขนาดเรือเกิน 35,000 ตัน และห้ามติดปืนใหญ่ขนาดเกิน 16 นิ้ว (406 มม.) สนธิสัญญาแวร์ซายซึ่งจำกัดการสร้างเรือของเยอรมนีที่แพ้สงคราม โดยห้ามสร้างเรือที่มีขนาดเกิน 10,000 ตัน และห้ามติดปืนใหญ่ขนาดเกิน 11 นิ้ว (280 มม.)

สุดยอดเรือประจัญบานสุดแกร่งทั้ง 7 (Big 7) ตามสนธิสัญญานาวิกวอชิงตัน ประกอบด้วย:

ทางเยอรมนีก็ได้สร้างเรือประจัญบานขนาดกระเป๋าชั้น "ดอยช์ลันช์" ขึ้นมา โดยขนาดเรือกว่า 14,000 ตัน ติดปืนใหญ่ 11 นิ้ว 6 กระบอก ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล ทำให้สามารถทำความเร็วได้สูง

ในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1939-1945) ชาติต่าง ๆ ที่ร่วมสงคราม ต่างสร้างเรือประจัญบานขึ้นมา เช่น บิสมาร์ค ของเยอรมนี, พระเจ้าจอร์จที่ 5 ของสหราชอาณาจักร, ไอโอวา ของสหรัฐ, ยามาโตะ ของญี่ปุ่น, ริเชอริเยอ ของฝรั่งเศส, และวิตโตรีโอเวเนโต ของอิตาลี

อดีตประเทศประจำการ

[แก้]

รูปภาพกองเรือประจัญบานในประวัติศาสตร์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "battleship" The Oxford English Dictionary. 2nd ed. 1989. OED Online. Oxford University Press. April 4, 2000.
  2. Stoll, J. Steaming in the Dark?, Journal of Conflict Resolution Vol. 36 No. 2, June 1992.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]