ข้ามไปเนื้อหา

เมกะลาเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เมกะลาเนีย
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไพลสโตซีน, 1.5–0.05Ma
โครงกระดูกเมกะลาเนียที่ประกอบขึ้นใหม่ในพิพิธภัณฑ์เมลเบิร์น
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: กิ้งก่าและงู
วงศ์: เหี้ย
สกุล: Varanus

Owen, 1859[1]
สปีชีส์: Varanus priscus
ชื่อทวินาม
Varanus priscus
Owen, 1859[1]
ชื่อพ้อง
  • Megalania prisca (Owen, 1859)
  • Notiosaurus dentatus Owen, 1884
  • Varanus dirus de Vis, 1889
  • Varanus warburtonensis Zeitz, 1899

เมกะลาเนีย (อังกฤษ: Megalania; ชื่อวิทยาศาสตร์: Varanus priscus) เป็นกิ้งก่ามอนิเตอร์ยักษ์ชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว[1] เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเมกะเฟานาที่อาศัยอยู่ในทวีปออสเตรเลียช่วงสมัยไพลสโตซีน ถือเป็นกิ้งก่าบกที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยมีความยาวประมาณ 3.5 ถึง 7 เมตร (11.5 – 23 ฟุต) และน้ำหนักระหว่าง 97–1,940 กิโลกรัม (214–4,277 ปอนด์) แต่ลักษณะซากที่หลงเหลือแบบไม่เป็นชิ้นเป็นอันที่ทราบทำให้การประมาณการมีความไม่แน่นอนสูง

คาดกันว่าเมกะลาเนียอาศัยอยู่ในนิเวศวิทยาที่คล้ายกับมังกรโคโมโด (Varanus komodoensis) ฟอสซิลหลงเหลือของกิ้งก่ามอนิเตอร์ยักศ์อายุน้อยที่สุดในออสเตรเลียมีอายุประมาณ 50,000 ปีก่อน[2] ผู้ตั้งถิ่นฐานพื้นเมืองกลุ่มแรกของออสเตรเลียอาจเผชิญกับเมกะลาเนีย[3] และเป็นปัจจัยต่อการสูญพันธุ์ของเมกะลาเนีย[4][2][5] ในขณะที่เดิมที่เมกะลาเนียถือเป็นสมาชิกเดียวในวงศ์ "Megalania" ปัจจุบันถือเป็นสมาชิกของสกุล Varanus โดยมีความใกล้ชิดกับกิ้งก่ามอนิเตอร์ออสเตรเลียชนิดอื่น ๆ

ทีมาของชื่อ

[แก้]

สำหรับคำว่าเมกะลาเนียนั้นตั้งโดย เซอร์ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยาชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้ที่ทำการศึกษา และได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ด้วย โดยมาจากคำในภาษากรีก (ἠλαίνω, ēlainō, ผู้เดินทาง) ทำให้มีความหมายรวมว่า "ผู้เดินทางที่ยิ่งใหญ่"

การพบร่องรอยและในวัฒนธรรมสมัยนิยม

[แก้]

อย่างไรก็ตาม ได้มีรายงานว่าในป่าดิบชื้นของออสเตรเลียและนิวกินีพบสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่คล้ายเมกะลาเนียอยู่เป็นระยะ ๆ หลังจากเมกะลาเนียได้เป็นที่รู้จักกันเป็นครั้งแรก แต่ทว่าก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันได้ถึงการมีอยู่จริง ๆ อีกทั้งก็ไม่ได้รับการยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์อีกด้วย[6][7][8]

ในปี ค.ศ. 2009 สารคดีของดิสคัฟเวอรี่ แชนนอล ในชุด Lost Tapes (นำมาออกอากาศในประเทศไทยช่วงกลางปีเดียวกัน ) ซึ่งเป็นสารคดีเกี่ยวเรื่องราวของสัตว์ประหลาดที่โจมตีใส่มนุษย์ชนิดต่าง ๆ ก็มีเรื่องของเมกะลาเนียด้วย ในชื่อตอนว่า Devil Dragon[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Owen R. (1859). "Description of Some Remains of a Gigantic Land-Lizard (Megalania Prisca, Owen) from Australia". Philosophical Transactions of the Royal Society of London. 149: 43–48. doi:10.1098/rstl.1859.0002. JSTOR 108688.
  2. 2.0 2.1 Price, Gilbert J.; Louys, Julien; Cramb, Jonathan; Feng, Yue-xing; Zhao, Jian-xin; Hocknull, Scott A.; Webb, Gregory E.; Nguyen, Ai Duc; Joannes-Boyau, Renaud (2015-10-01). "Temporal overlap of humans and giant lizards (Varanidae; Squamata) in Pleistocene Australia". Quaternary Science Reviews. 125: 98–105. Bibcode:2015QSRv..125...98P. doi:10.1016/j.quascirev.2015.08.013.
  3. Hideaki Kato (2021). 図解大事典 絶滅動物. 新星出版社. p. 229. ISBN 9784405073432.
  4. Dick, Taylor J. M.; Clemente, Christofer J. (2016-02-18). "How to build your dragon: scaling of muscle architecture from the world's smallest to the world's largest monitor lizard". Frontiers in Zoology. 13: 8. doi:10.1186/s12983-016-0141-5. ISSN 1742-9994. PMC 4758084. PMID 26893606.
  5. "Wildfacts - Megalania, giant ripper lizard". BBC. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-27. สืบค้นเมื่อ 2012-03-22.
  6. Australian Giant Reptilian Monsters - Queensland Reports
  7. Cryptomundo.com » Megalania
  8. Cryptozoology.com
  9. DEVIL DRAGON

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Varanus priscus ที่วิกิสปีชีส์