กิ้งก่ามอนิเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กิ้งก่ามอนิเตอร์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไมโอซีน ถึง ปัจจุบัน
Lace monitor (Varanus varius)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: กิ้งก่าและงู
วงศ์: เหี้ย
สกุล: Varanus
Merrem, 1820
ชนิดต้นแบบ
Varanus varius
Shaw, 1790
สกุลย่อย
  • Empagusia
  • Euprepiosaurus
  • Odatria
  • Papusaurus
  • Philippinosaurus
  • Polydaedalus
  • Psammosaurus
  • Solomonsaurus
  • Soterosaurus
  • Varaneades
  • Varanus

(see text for species)

รวมการกระจายของกิ้งก่ามอนิเตอร์ทั้งหมด

กิ้งก่ามอนิเตอร์ (อังกฤษ: Monitor lizard) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับกิ้งก่าและงู (Squamata) สกุลหนึ่ง ในวงศ์เหี้ย (Varanidae) ในวงศ์ย่อย Varaninae[1] โดยใช้ชื่อสกุลว่า Varanus (/วา-รา-นัส/) ซึ่งคำ ๆ นี้มีที่มาจากภาษาอาหรับคำว่า "วารัล" (ورل) ซึ่งแปลงเป็นภาษาอังกฤษได้หมายถึง "เหี้ย" หรือ "ตะกวด"[2]

จัดเป็นเพียงสกุลเดียวในวงศ์นี้ที่ยังสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากสกุลอื่น ๆ ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว โดยกำเนิดมาตั้งแต่ยุคครีเตเชียสมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสัตว์เลื้อยคลานยุคก่อนประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่อย่างโมซาซอร์และงู[3][4] มีลักษณะโดยรวมคือ กระดูกพอเทอรีกอยด์ไม่มีฟัน มีกระดูกอยู่ในถุงอัณฑะ และมีตาที่สาม[1]

มีขนาดความยาวแตกต่างหลากหลายกันไป ตั้งแต่มีความยาวเพียง 12 เซนติเมตร คือ ตะกวดหางสั้น (V. brevicauda) ที่พบในพื้นที่ทะเลทรายของประเทศออสเตรเลีย และใหญ่ที่สุด คือ มังกรโคโมโด (V. komodoensis) ที่พบได้เฉพาะหมู่เกาะโคโมโด ในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น ที่มีความยาวได้ถึง 3.1 เมตร และจัดเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดของวงศ์นี้และอันดับกิ้งก่าและงู โดยชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เมกะลาเนีย (V. priscus) ที่มีความยาวถึง 6 เมตร แต่ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ปัจจุบันพบได้เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ออสเตรเลีย[1]

มีส่วนหัวเรียวยาว คอยาว ลำตัวยาวและหางเรียวยาว ส่วนใหญ่อาศัยบนพื้นดิน แต่มีบางชนิดมีพฤติกรรมที่อาศัยอยู่บนต้นไม้มากกว่า หลายชนิดดำรงชีวิตแบบสะเทินน้ำสะเทินบกและมีหางแบนข้างมากสำหรับใช้ในการว่ายน้ำ ส่วนมากเป็นสัตว์หากินในเวลากลางวัน เป็นสัตว์กินเนื้อที่ล่าเหยื่อด้วยฟันที่ยาวโค้งแหลมคมและมีขากรรไกรแข็งแรง กินอาหารได้หลากหลายทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและสัตว์มีกระดูกสันหลัง รวมถึงซากสัตว์ด้วย[1] โดยในทางชีววิทยาจัดเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเนื่องเป็นผู้สิ่งปฏิกูล กำจัดซากสิ่งแวดล้อม กิ้งก่ามอนิเตอร์ทุกชนิดสืบพันธุ์ด้วยการวางไข่[5]

พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ทั้งซับสะฮารา, จีน, เอเชีย และคาบสมุทรอินโดออสเตรเลียนไปจนถึงออสเตรเลีย[1]

การจำแนก[แก้]

ตะกวด หรือ แลน (V. bengalensis) เป็นหนึ่งใน 4 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย
ตุ๊ดตู่ (V. dumerilii) เป็นชนิดที่เล็กที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย
เหี้ย (V. salvator) เป็นชนิดที่พบได้ในประเทศไทย และเป็นชนิดที่พบได้หลากหลายที่สุด[1]

ปัจจุบันจำแนกออกได้ประมาณ 78 ชนิด โดยแบ่งออกเป็นหลายสกุลย่อยรวมถึงหลายชนิดย่อย โดยในประเทศไทยพบ 4 ชนิด

† หมายถึงชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

สกุลย่อย Empagusia:

  • V. bengalensis, ตะกวด หรือ แลน (เป็นชนิดที่พบในประเทศไทย)
    • V. b. bengalensis, ตะกวดเหนือ
    • V. b. nebulosus หรือ E. nebulosus, ตะกวดใต้ หรือ ตะกวดลายเมฆ
  • V. dumerilii, ตุ๊ดตู่ (เป็นชนิดที่พบในประเทศไทย)
  • V. flavescens, ตะกวดเหลือง หรือ แลนดอน (เป็นชนิดที่พบในภูมิภาคเอเชียใต้ และเคยมีรายงานพบในประเทศไทยด้วย)
  • V. rudicollis, เห่าช้าง

สกุลย่อย Euprepiosaurus:

สกุลย่อย Odatria:

สกุลย่อย Papusaurus:

สกุลย่อย Philippinosaurus:

สกุลย่อย Polydaedalus:

สกุลย่อย Psammosaurus:

สกุลย่อย Soterosaurus:

  • V. cumingi, เหี้ยหัวเหลือง
  • V. samarensis
  • V. marmoratus, เหี้ยฟิลิปปินส์
  • V. nuchalis, เหี้ยหัวขาว หรือ เหี้ยเกล็ดใหญ่
  • V. palawanensis เหี้ยปาลาวัน
  • V. rasmusseni
  • V. salvator, เหี้ย (เป็นชนิดที่พบในประเทศไทย และเป็นชนิดที่พบได้หลากหลายที่สุด)
    • V. s. salvator, เหี้ยศรีลังกา
    • V. s. andamanensis, เหี้ยอันดามัน
    • V. s. bivittatus, เหี้ยชวา หรือ เหี้ยสองแถบ
    • V. s. macromaculatus, เหี้ยดำ หรือ มังกรดำ
    • V. s. ziegleri, เหี้ยซิกเลอร์
  • V. togianus
  • V. dalubhasa
  • V. bangonorum, เหี้ยมินโดโร

สกุลย่อย Varaneades:

สกุลย่อย Varanus:

ชนิดที่ยังไม่ได้จัดลำดับ:

  • V. spinulosus, ตะกวดหางหนามเกาะโซโลมอน[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 วีรยุทธ์ เลาหะจินดา (2552). วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. p. 397. ISBN 978-616-556-016-0.
  2. Pianka, Eric R.; King, Dennis; King, Ruth Allen (2004). Varanoid Lizards of the World. Indiana University Press. p. 588. ISBN 0-253-34366-6.
  3. "Monitor Lizards". BBC Nature. BBC. สืบค้นเมื่อ 2014-03-05.
  4. Smith, Kerri. "Dragon virgin births startle zoo keepers". Nature. สืบค้นเมื่อ 2006-12-20.
  5. ""ตุ๊ดตู่" ที่แท้แค่ "เหี้ย" จำพวกหนึ่ง". ผู้จัดการออนไลน์. 21 May 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-30. สืบค้นเมื่อ 13 June 2015.
  6. Varanus keithhornei, The Reptile Database
  7. Mappress.com
  8. Varanus prasinus, The Reptile Database
  9. Varanus baritji, The Reptile Database
  10. Varanus spinulosus, The Reptile Database

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Varanus ที่วิกิสปีชีส์