ข้ามไปเนื้อหา

ทิวเขาตีตีวังซา

พิกัด: 5°58′12″N 101°19′37″E / 5.9699°N 101.3269°E / 5.9699; 101.3269
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เทือกเขาสันกาลาคีรี)
ทิวเขาตีตีวังซา
ทิวเขาสันกาลาคีรี
ทิวเขาตีตีวังซาใกล้แม่น้ำสลิมในมาเลเซีย
จุดสูงสุด
ยอดเขาโกร์บู
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
2,183 เมตร (7,162 ฟุต)
ข้อมูลเชิงขนาด
ยาว480 กม. (298 ไมล์) ตะวันตกเฉียงเหนือ/ตะวันออกเฉียงใต้
กว้าง120 กม. (75 ไมล์) ตะวันออกเฉียงเหนือ/ตะวันตกเฉียงใต้
ชื่อ
ชื่อท้องถิ่นสันกาลาคีรี, ตีตีวังซา, บันจารันเบอซาร์
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ประเทศ ไทย และ  มาเลเซีย
พิกัดเทือกเขา5°58′12″N 101°19′37″E / 5.9699°N 101.3269°E / 5.9699; 101.3269
เทือกเขาทิวเขาตะนาวศรี
ติดต่อกับไทย-มาเลเซีย
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
อายุหินยุคเพอร์เมียน, ยุคไทรแอสซิก
ประเภทหินหินแกรนิต, หินปูน

ทิวเขาตีตีวังซา (มลายู: Banjaran Titiwangsa) ซึ่งยังเป็นที่รู้จักกันในท้องถิ่นในชื่อ บันจารันเบอซาร์ (Banjaran Besar; แปลว่า ทิวเขาใหญ่) เป็นภูเขาซึ่งก่อตัวเป็นแนวยาวคล้ายกระดูกสันหลังของคาบสมุทรมลายูตอนล่าง ส่วนเหนือของทิวเขาที่อยู่ในภาคใต้ของไทยมีชื่อเรียกว่า ทิวเขาสันกาลาคีรี

ทิวเขาตีตีวังซาทำหน้าที่เป็นปราการธรรมชาติที่แบ่งมาเลเซียตะวันตกเช่นเดียวกับตอนใต้สุดของไทยออกเป็นฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก โดยมีความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 480 กิโลเมตร ยอดเขาที่สูงที่สุดในทิวเขานี้คือ เขาโกร์บู (Gunung Korbu) มีความสูง 2,183 เมตร อยู่ในเขตรัฐเประ

ทิวเขาสันกาลาคีรี

[แก้]

ทิวเขาสันกาลาคีรี เป็นส่วนเหนือของทิวเขาตีตีวังซาซึ่งกั้นพรมแดนไทยกับมาเลเซียเกือบตลอดทั้งแนว ทอดตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเริ่มต้นจากริมฝั่งทะเลอันดามันในจังหวัดสตูล ทอดตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างจังหวัดสตูล จังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาสของไทย กับรัฐปะลิส รัฐเกอดะฮ์ รัฐเประ และรัฐกลันตันของมาเลเซีย จนกระทั่งสิ้นสุดที่เขาเยลีใกล้ต้นน้ำโก-ลก รวมความยาวประมาณ 470 กิโลเมตร[1] ยอดเขาที่สูงที่สุดในทิวเขานี้คือ เขาฮูลูติติปาซา มีความสูงประมาณ 1,500 เมตร[2] อยู่ระหว่างเขตจังหวัดยะลากับรัฐเประ

ชื่อ สันกาลาคีรี หมายถึง "ภูเขาอันเป็นที่สิงสถิตของพระอิศวร"[3] คำว่า สัน หรือ สัง เป็นคำภาษามลายูแปลว่า "เทพเจ้า" กับคำว่า กาลา เป็นคำภาษาสันสกฤตแปลว่า "พระอิศวร"[3] บ้างว่าชื่อ สันกาลาคีรี อาจจะมาจากคำว่า สาครา หรือ สาคร ซึ่งแปลว่า "ทะเล" หรือ "มหาสมุทร" และคำว่า คีรี ซึ่งแปลว่า "ภูเขา" รวมกันจะมีความหมายว่า "ภูเขาที่ใกล้ทะเลหรือมหาสมุทร"[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๑ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2557, หน้า 107.
  2. ราชบัณฑิตยสถาน. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๑ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2557, หน้า 99.
  3. 3.0 3.1 3.2 ประพนธ์ เรืองณรงค์. "บทผนวกเกียรติยศ". ใน รัฐปัตตานีใน "ศรีวิชัย" เก่าแก่กว่ารัฐสุโขทัยในประวัติศาสตร์. สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มติชน, 2547, หน้า 357