เซเชลส์เชื้อสายจีน
เจมส์ มันชัม | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
---|---|
มงต์เฟลอรี[1] ประเทศเซเชลส์ | |
ภาษา | |
ภาษาเครโอลเซเชลส์ ภาษาจีน พบผู้ใช้น้อยมาก[1] | |
ศาสนา | |
โรมันคาทอลิก[1] |
ชาวเซเชลส์เชื้อสายจีน เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ของประเทศเซเชลส์ ในช่วงปี พ.ศ. 2542 ได้มีการประมาณจำนวนคนเชื้อสายจีนในเซเชลส์ ซึ่งมีประมาณ 1,000 คน จัดเป็นชุมชนเชื้อสายจีนขนาดเล็กแห่งหนึ่งของทวีปแอฟริกา[2]
ประวัติ
[แก้]ในปี พ.ศ. 2429 ได้มีชาวจีนกลุ่มแรกอพยพเข้ามาในเซเชลส์ โดยชาวจีนกลุ่มดังกล่าวนั้นได้โยกย้ายมาจากมอริเชียส[1] จนต่อมาในปี พ.ศ. 2483 ชาวจีนในมอริเชียสได้นำญาติของพวกเขาจากเมืองจีนเข้ามาทำธุรกิจในมอริเชียส หลังจากที่พวกเขานั้นคุ้นเคยกับการค้าในช่วงยุคล่าอาณานิคม พวกเขาจะส่งจดหมายแนะนำการกู้ยืม และเงินทุนดังกล่าวจะถูกใช้เพื่อเริ่มต้นกิจการในภูมิภาคใกล้เคียงซึ่งนั่นคือเซเชลส์[3]
เช่นเดียวกับชาวจีนกลุ่มอื่น ๆ เซเชลส์มีการแข่งขันกันในกลุ่มชาวจีนสองกลุ่มคือกวางตุ้งและแคะ ซึ่งทั้งสองกลุ่มไม่ใคร่จะลงรอยกัน และจะไม่อาศัยร่วมพื้นที่เดียวกัน ซ้ำยังปฏิเสธการแต่งงานข้ามกลุ่มกันในหมู่ชาวจีน แต่ทั้งสองกลุ่มกลับสมัครใจที่จะสมรสกับสตรีพื้นเมืองแอฟริกัน ชาวจีนในเซเชลส์เริ่มต้นการประกอบอาชีพด้วยการเพาะปลูกวานิลลา แต่ปัจจุบันได้หันไปทำร้านโชห่วย, การขนส่ง และการประมง[1]
ภาษาและวัฒนธรรม
[แก้]ในปี พ.ศ. 2488 ริชาร์ด มันชัม (บิดาของเจมส์ มันชัม – ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีคนแรกของเซเชลส์) ได้ขออนุญาตจากรัฐบาลเพื่อทำการเปิดโรงเรียนจีนขึ้นในเซเชลส์ แต่รัฐบาลกลับเฉยเมยต่อแนวคิดดังกล่าว[1] จนในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการเริ่มการศึกษาภาษาจีนขึ้นในเซเชลส์ เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ส่งครูผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญ รวมไปถึงการศึกษาทางไกลจากกระทรวงศึกษาธิการของเซเชลส์เอง[4]
แต่ในปัจจุบันชาวเซเชลส์เชื้อสายจีนได้ละทิ้งภาษาดั้งเดิมของตนไปเสียแล้ว และชนเชื้อสายจีนส่วนใหญ่โดยเฉพาะรุ่นใหม่ในเซเชลส์ไม่สามารถพูดหรือทำความเข้าใจกับภาษาจีนได้เลย[1] คนเชื้อสายจีนรุ่นเก่าส่วนมากนับถือลัทธิขงจื๊อ[1] หรือศาสนาพุทธ[5] ส่วนคนเชื้อสายจีนรุ่นใหม่ที่เป็นลูกผสม ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์[1]
ชาวเซเชลส์เชื้อสายจีนที่มีชื่อเสียง
[แก้]- เจมส์ มันชัม – ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีคนแรกของเซเชลส์ สืบเชื้อสายจีนมาจากปู่[6]
- เฟรนช์ ชังฮิม – อัครมุขนายกนิกายแองกลิคัน สืบเชื้อสายจีนจากบิดา[1]
อ้างอิง
[แก้]บรรณานุกรม
[แก้]- An, Ran (2007-09-12), "塞席爾領導人工作勤勉 首任總統有1/4中國血統", China Radio International, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-24, สืบค้นเมื่อ 2008-10-31
{{citation}}
: CS1 maint: date and year (ลิงก์) - Mahoune, Jean-Claude Pascal (2000), "Seychellois of Asian Origin", International Institute for Asian Studies Newsletter, 20, สืบค้นเมื่อ 2008-10-31
- Wang, Xingye (2008-01-28), "我是塞舌尔第一位正式汉语教师 (I was Seychelles' first official Chinese language teacher)", Overseas Chinese Net, People's Republic of China: Chinese Language Educational Foundation, สืบค้นเมื่อ 2008-10-31
{{citation}}
: CS1 maint: date and year (ลิงก์) - Yap, Melanie; Leong Man, Dianne (1996), Colour, Confusion, and Concessions: The History of the Chinese in South Africa, Hong Kong University Press, ISBN 978-962209424-6
- Chinese Language Educational Foundation (1999), "1999年底非洲国家和地区华侨、华人人口数 (1999 year-end statistics on Chinese expatriate and overseas Chinese population numbers in African countries and territories)", Overseas Chinese Net, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-31, สืบค้นเมื่อ 2008-10-30
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Benedict, B. (1979), "Family firms and firm families: a comparison of Indian, Chinese, and Creole firms in Seychelles", ใน Greenfield, Sidney M.; Strickon, Arnold; Aubey, Robert T. (บ.ก.), Entrepreneurs in Cultural Context, University of New Mexico Press, ISBN 978-0-82630504-6
- Fane, Ly-Tio (1985), La Diaspora chinoise dans l'Ocean Indien occidental (The Chinese Diaspora in the western Indian Ocean), Mauritius: Editions de l'Ocean Indien