เจ้านครรัฐผู้คัดเลือก
คัวร์เฟือสท์ (เยอรมัน: Kurfürst, อังกฤษ: Prince-elector) หรือ เจ้านครรัฐผู้คัดเลือก[1] หมายถึงสมาชิกของคณะผู้คัดเลือกจักรพรรดิชาวโรมัน (จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) เจ้าผู้คัดเลือกมีฐานันดรเป็น เฟือสท์ (Fürst) ส่วนทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงของเจ้าผู้คัดเลือกเรียกว่า คัวร์พรินซ์ (Kurprinz)
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา เจ้าผู้คัดเลือกซึ่งมีอยู่ไม่กี่คนจะได้รับสิทธิพิเศษในการลงมติเลือกกษัตริย์แห่งชาวโรมัน หลังจากนั้นผู้ถูกเลือกก็จะมีฐานะเป็นกษัตริย์จนกว่าจะได้รับการสวมมหามงกุฎเป็นจักรพรรดิจากพระสันตะปาปา (ซึ่งเอาแบบอย่างจากปฐมจักรพรรดิชาร์เลอมาญ) รัชกาลสุดท้ายที่ผ่านโบราณราชประเพณีแบบนี้คือ คาร์ลที่ 5 (ถูกเลือกในปี 1519 และสวมมหามงกุฎในปี 1530) รัชกาลถัดจากนั้นอาศัยเพียงการลงมติแล้วประกาศตัวเป็น "จักรพรรดิชาวโรมันผู้ถูกเลือก" (Erwählter Römischer Kaiser) โดยไม่มีการสวมมหามงกุฎจากพระสันตะปาปา
เจ้าผู้คัดเลือกมีฐานันดรศักดิ์เป็นลำดับสองรองจากกษัตริย์หรือจักรพรรดิ และเป็นสมาชิกของมหาสภาจักรวรรดิ (Dieta Imperii) ซึ่งมหาสภาแบ่งเป็นสามคณะได้แก่ คณะเจ้าผู้คัดเลือก, คณะเจ้าราชรัฐ และคณะนคร เจ้าผู้คัดเลือกส่วนใหญ่นอกจากอยู่ในเจ้าผู้คัดเลือกแล้ว ยังอยู่ในคณะเจ้าราชรัฐ ด้วยมีอำนาจปกครองดินแดน
การคัดเลือกจักรพรรดิ
[แก้]การคัดเลือกมีชื่อว่า เคอนิชส์วาล (Königswahl) ที่แปลว่า "การเลือกกษัตริย์" เมื่อตำแหน่งจักรพรรดิว่างลง อัครมุขนายกแห่งไมนทซ์จะส่งหมายเรียกประชุมเจ้าผู้คัดเลือกภายในหนึ่งเดือน โดยกำหนดวันประชุมภายในสามเดือนนับแต่วันออกหมายเรียก ซึ่งในช่วงที่ไม่มีจักรพรรดิ อำนาจของจักรพรรดิจะถูกใช้โดยอุปราชจักรวรรดิ (Reichsvikar) ซึ่งมีอยู่สองคนได้แก่ เจ้าผู้คัดเลือกแห่งซัคเซิน สำหรับอาณาเขตที่ใช้กฎหมายซัคเซิน (ซัคเซิน, เว็สท์ฟาเลิน, ฮันโนเฟอร์ และเยอรมนีตอนเหนือ) และเจ้าผู้คัดเลือกแห่งฟัลทซ์ สำหรับอาณาเขตที่เหลือของจักรวรรดิ (ฟรังเคิน, ชวาเบิน, ลุ่มแม่น้ำไรน์, และเยอรมนีตอนใต้)
ในตอนแรก เจ้าผู้คัดเลือกมีเพียงเจ็ดคน ได้แก่
- ฝ่ายศาสนา
- ฝ่ายฆราวาส
ต่อมามีการแต่งตั้งเพิ่มเติม ได้แก่:
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 211
- Bryce, J. (1887). The Holy Roman Empire, 8th ed. New York: Macmillan.
- "Germany." (1911). Encyclopædia Britannica, 11th ed. London: Cambridge University Press.
- บทความนี้เรียบเรียงจาก “สารานุกรม หรือ พจนานุกรมสมบูรณ์เกี่ยวกับศิลปะ และ วิทยาศาสตร์” ฉบับ ค.ศ. 1728 ซึ่งในปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The Avalon Project. (2003). "The Golden Bull of the Emperor Charles IV 1356 A.D." เก็บถาวร 2004-06-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Oestreich, G. and Holzer, E. (1973). " Übersicht über die Reichsstände." In Gebhardt, Bruno. Handbuch der Deutschen Geschichte, 9th ed. (Vol. 2, pp. 769-784). Stuttgart: Ernst Ketler Verlag. เก็บถาวร 2004-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Velde, F. R. (2003). "Royal Styles."
- Velde, F. R. (2004). "The Holy Roman Empire."