รัฐผู้คัดเลือกไมนทซ์
ราชรัฐอัครมุขนายกไมนทซ์ | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 780–ค.ศ. 1803 | |||||||||||||||||
![]() ตำแหน่งอัครมุขนายกไมนทซ์ ค.ศ. 1729 | |||||||||||||||||
สถานะ | รัฐในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ | ||||||||||||||||
เมืองหลวง | ไมนทซ์ | ||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | เยอรมัน | ||||||||||||||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก | ||||||||||||||||
การปกครอง | รัฐศาสนจักร | ||||||||||||||||
เจ้าชายอัครมุขนายก | |||||||||||||||||
• ค.ศ. 754–786 | นักบุญลัลลุส (องค์แรก) | ||||||||||||||||
• ค.ศ. 1802–1803 | คาร์ล เทโอดอร์ ฟ็อน ดาลแบร์ค (องค์สุดท้าย) | ||||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | |||||||||||||||||
• ได้รับดินแดน, ยกฐานะเป็นอัครสังฆมณฑล | ค.ศ. 780 ค.ศ. 780 | ||||||||||||||||
ค.ศ. 983 | |||||||||||||||||
ค.ศ. 1251 | |||||||||||||||||
ค.ศ. 1242–1462 | |||||||||||||||||
18 มีนาคม – 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1793 | |||||||||||||||||
17 ตุลาคม ค.ศ. 1797 | |||||||||||||||||
ค.ศ. 1803 ค.ศ. 1803 | |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ![]() |
รัฐผู้คัดเลือกไมนทซ์ (เยอรมัน: Kurfürstentum Mainz หรือ Kurmainz) หรือ ราชรัฐอัครมุขนายกไมนทซ์ (เยอรมัน: Erzbistum Mainz) เป็นราชรัฐอัครมุขนายกที่สำคัญในคริสตจักรและเป็นเขตปกครองทางการเมืองของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ระหว่างปี 780 หรือ 782 ถึง 1802 ตามลำดับชั้นบังคับบัญชาในคริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่าพระอัครสังฆราชแห่งไมนทซ์เป็น "primas Germaniae" หรือผู้แทนของพระสันตะปาปาบริเวณทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ นอกจากกรุงโรม ก็มีเพียงมุขมณฑลโรมันคาทอลิกไมนทซ์เท่านั้นที่เรียกว่า "สันตะสำนัก"
ราชรัฐอัครมุขนายกแห่งนี้ถือเป็นราชรัฐคริสตจักรที่มีความสำคัญต่อจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ มีพื้นที่รวมทั้งดินแดนต่าง ๆ ที่บางดินแดนก็ไม่มีอาณาเขตติดต่อกันที่รวมทั้ง บริเวณไม่ไกลจากไมนทซ์ทั้งทางฝั่งซ้ายและขวาของแม่น้ำไรน์ อาณาบริเวณตามแม่น้ำไมน์เหนือแฟรงก์เฟิร์ต (รวมทั้งอชัฟเฟินบวร์ค) แคว้นไอชส์เฟ็ลท์ในนีเดอร์ซัคเซินและทือริงเงิน และดินแดนบริเวณแอร์ฟวร์ทในทือริงเงิน นอกจากนั้นพระอัครสังฆราชแห่งไมนทซ์ยังมีตำแหน่งเป็นเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นสมาชิกของคณะผู้คัดเลือกจักรพรรดิ (electoral college) ตามทฤษฎีตั้งแต่ปี 1251 และอย่างเป็นการถาวรตั้งแต่ปี 1263 ถึง 1803
ประวัติ
[แก้]
หลังจากสนธิสัญญาสันติภาพเว็สท์ฟาเลิน อัครสังฆมณฑลแห่งไมนซ์ยังคงเป็นอัครสังฆมณฑลที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมนี โดยครอบคลุมสังฆมณฑลภายใต้การปกครองจำนวน 10 แห่ง โดยทั่วไปแล้วอาณาเขตของสังฆมณฑลและอัครสังฆมณฑล (ทางศาสนจักร) นั้นมีขนาดใหญ่กว่าอาณาเขตของเจ้าชายมุขนายกและอัครมุขนายก/รัฐผู้คัดเลือก (archbishoprics/electorates) (ทางอาณาจักร) ซึ่งปกครองโดยบุคคลคนเดียวกัน สังฆมณฑลไมนซ์ถูกก่อตั้งขึ้นตั้งแต่สมัยโรมโบราณ ในเมืองไมนซ์ซึ่งเดิมเคยเป็นเมืองหลวงของมณฑลโรมันที่เรียกว่า โมกุนทิอาคุม รายชื่อพระสังฆราชองค์แรก ๆ ก่อนศตวรรษที่ 4 เป็นเพียงตำนาน โดยเริ่มจากนักบุญเครสเซนส์ ส่วนพระสังฆราชคนแรกที่ได้รับการยืนยันในประวัติศาสตร์คือมาร์ตินุสใน ค.ศ. 343 ความสำคัญของไมนซ์ทั้งในแง่ศาสนาและทางโลกเริ่มขึ้นเมื่อนักบุญโบนิเฟซได้รับตำแหน่งพระอัครสังฆราชในปี 747 เดิมทีโบนิเฟซเป็นอัครสังฆราชโดยไม่มีเขตปกครองที่แน่นอน และสถานะดังกล่าวไม่ได้ถูกโอนไปยังสังฆมณฑลไมนซ์ในทันที จนกระทั่งในสมัยของผู้สืบตำแหน่งต่อจากเขาคือนักบุญลัลลุส ไมนซ์จึงได้รับสถานะเป็นอัครสังฆมณฑลในปี 781[1] อีกหนึ่งพระสังฆราชที่มีบทบาทในยุคแรกคือ นักบุญออเรอุสแห่งไมนซ์
อาณาเขตของรัฐผู้คัดเลือกไมนทซ์ประกอบด้วยดินแดนที่ไม่ติดกันหลายแห่ง ได้แก่ ดินแดนใกล้เมืองไมนซ์ ทั้งสองฝั่งแม่น้ำไรน์รวมถึงพื้นที่ตามแนวแม่น้ำไมน์เหนือแฟรงก์เฟิร์ต (รวมถึงเขตอชัฟเฟินบวร์ค) ไอชส์เฟลด์ ในเนีดอร์ซัคเซินและทือริงเงินและดินแดนรอบเมืองแอร์ฟวร์ทในทือริงเงิน
เช่นเดียวกับในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์โดยทั่วไป ดินแดนที่ปกครองโดยเจ้าชายมุขนายกหรืออัครมุขนายกจะแตกต่างจากอาณาเขตของสังฆมณฑลหรืออัครสังฆมณฑล ซึ่งมีลักษณะเป็นการปกครองทางศาสนาเท่านั้น ในยุคต้นของสมัยใหม่ อัครสังฆมณฑลไมนทซ์เป็นรสังฆมณฑลที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมนีโดยครอบคลุมเมืองไมนซ์และมี 10 สังฆมณฑลภายใต้การปกครอง[2]
ใน ค.ศ. 1802 ไมนซ์สูญเสียสถานะอัครสังฆมณฑล เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วง ไรชส์เดพูตาซีโยนส์เฮาพท์ชลุสส์ (การปฏิรูปดินแดนในเยอรมนี) ใน ค.ศ. 1803 ที่ทำให้เกิดการยึดและปรับเปลี่ยนอาณาเขตของรัฐศาสนา เจ้าผู้เลือกตั้งแห่งไมนทซ์ คาร์ล เทโอดอร์ ฟ็อน ดาลแบร์ค ต้องย้ายที่ราชสำนักไปยังเรเกินส์บวร์ค อาณาเขตฝั่งซ้ายของแม่น้ำไรน์ตกเป็นของฝรั่งเศส ขณะที่ดินแดนฝั่งขวาตามแนวแม่น้ำไมน์ (ด้านล่างแฟรงก์เฟิร์ต) ตกเป็นของเฮสเซิน-ดาร์มสตัดท์และราชวงศ์นัสเซาส่วนไอชส์เฟลด์และแอร์ฟวร์ทถูกผนวกโดยปรัสเซีย ดาลแบร์กยังคงปกครองดินแดนอชัฟเฟินบวร์คต่อไปและก่อตั้งราชรัฐอชัฟเฟินบวร์ค จนกระทั่งใน ค.ศ. 1810 เขาได้รวมอชัฟเฟินบวร์ค แฟรงก์เฟิร์ต เว็ทซ์ลาร์ ฮาเนา และฟุลดาเข้าเป็นแกรนด์ดัชชีแฟรงก์เฟิร์ต
ดาลแบร์กสละตำแหน่งใน ค.ศ. 1813 และใน ค.ศ. 1815 ที่การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา ได้แบ่งอาณาเขตของเขาออกเป็นส่วน ๆ โดยถูกผนวกเข้าไปในราชอาณาจักรบาวาเรีย รัฐผู้คัดเลือกเฮ็สเซิน แกรนด์ดัชชีเฮ็สเซิน และเสรีนครแฟรงก์เฟิร์ต
สังฆมณฑลไมนซ์ถูกก่อตั้งขึ้นใหม่ใน ค.ศ. 1802 แต่ไม่มีสถานะเป็นอัครสังฆมณฑลอีกต่อไปอาณาเขตทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์ตกอยู่ภายใต้ฝรั่งเศสและเป็นเพียงสังฆมณฑลภายในฝรั่งเศสเท่านั้น ต่อมาใน ค.ศ. 1814 อำนาจของสังฆมณฑลขยายครอบคลุมไปยังดินแดนเฮสเซิน-ดาร์มสตัดท์ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สังฆมณฑลไมนซ์มีพระคาร์ดินัลสององค์ และยังคงรักษาประเพณีของสภามหาวิหารผ่านความตกลงระหว่างสันตะปาปากับรัฐบาลต่าง ๆ ในยุคต่อมา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Behrends, Okko, "Die Gewohnheit des Rechts und das Gewohnheitsrecht", Die Begründung des Rechts als historisches Problem, Oldenbourg, สืบค้นเมื่อ 2025-03-25
- ↑ Michaud, Claude (2009-08-28). "Franck Lafage , Les comtes Schönborn 1642-1756. Une famille allemande à la conquête du pouvoir dans le Saint Empire romain germanique , tome I : Les fondateurs . Tome II : Les héritiers, Paris, L'Harmattan, 2008, 430 + 552 p." Dix-huitième siècle. n° 41 (1): CXLII–CXLII. doi:10.3917/dhs.041.0695el. ISSN 0070-6760.