เคียวนัง

พิกัด: 35°07′N 139°50′E / 35.117°N 139.833°E / 35.117; 139.833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เคียวนัง

鋸南町
สำนักงานเมืองเคียวนัง
สำนักงานเมืองเคียวนัง
ธงของเคียวนัง
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของเคียวนัง
ตรา
ที่ตั้งของเคียวนังในจังหวัดชิบะ (เน้นสีเหลือง)
ที่ตั้งของเคียวนังในจังหวัดชิบะ (เน้นสีเหลือง)
เคียวนังตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
เคียวนัง
เคียวนัง
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 35°07′N 139°50′E / 35.117°N 139.833°E / 35.117; 139.833
ประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันโต
จังหวัดชิบะ
อำเภออาวะ
พื้นที่
 • ทั้งหมด45.16 ตร.กม. (17.44 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (31 ธันวาคม 2020)
 • ทั้งหมด7,409 คน
 • ความหนาแน่น160 คน/ตร.กม. (420 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
สัญลักษณ์ 
- ต้นไม้คาร์มีเลีย
- ดอกไม้นาร์ซิสซัส
โทรศัพท์0470-55-2111
ที่อยู่3458 Sakuma, Kyonan-machi, Awa-gun, Chiba-ken 299-2115
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

เคียวนัง (ญี่ปุ่น: 鋸南町โรมาจิKyonan-machi) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในจังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2020 เมืองนี้มีประชากรประมาณ 7,409 คน 3,543 ครัวเรือน ความหนาแน่นประชากร 160 คนต่อตารางกิโลเมตร[1] และมีพื้นที่ทั้งหมด 45.16 ตารางกิโลเมตร (17.44 ตารางไมล์)

ภูมิศาสตร์[แก้]

ทิวทัศน์ของโฮตะมองจากเขาโนโกงิริ

เคียวนังตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรโบโซ ห่างจากนครชิบะ เมืองหลวงของจังหวัดชิบะ ประมาณ 60 กิโลเมตร และห่างจากใจกลางโตเกียว 60 ถึง 70 กิโลเมตร เคียวนังติดกับชายฝั่งอ่าวโตเกียว พื้นที่ตอนในมีสภาพเป็นภูเขาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาโบโซ ทางใต้สุดเป็นแหลมนิชิงาซากิ ซึ่งยื่นเข้าไปในช่องอูรางะ ชายฝั่งทะเลมีลักษณะเป็นก้อนหิน และมีท่าเรือประมง เช่น ท่าเรือยาซูดะ และท่าเรือคัตสึยามะ นอกจากนี้ยังมีเกาะและแนวหินจำนวนมาก เมืองนี้ทอดตัวจากตะวันออกไปตะวันตกประมาณ 10.75 กิโลเมตร และจากเหนือไปใต้ประมาณ 7.3 กิโลเมตร พื้นที่บริเวณชายฝั่งของเมืองนี้อยู่ในอาณาเขตของกึ่งอุทยานแห่งชาติมินามิโบโซ

เทศบาลข้างเคียง[แก้]

ภูมิอากาศ[แก้]

เคียวนังมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Köppen Cfa) โดยมีฤดูร้อนที่อบอุ่นและฤดูหนาวที่อากาศเย็นสบายและมีหิมะตกเล็กน้อย อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีในเคียวนังคือ 15.2 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1804 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่ฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิจะสูงสุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 26.1 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ 5.4 °C[2]

สถิติประชากร[แก้]

จากข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[3] จำนวนประชากรของเคียวนังค่อย ๆ ลดลงในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1920 12,977—    
1930 13,094+0.9%
1940 12,574−4.0%
1950 16,508+31.3%
1960 15,131−8.3%
1970 13,316−12.0%
1980 12,843−3.6%
1990 11,696−8.9%
2000 10,521−10.0%
2010 8,953−14.9%

ประวัติศาสตร์[แก้]

พื้นที่ของเคียวนังในปัจจุบันเดิมเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโบราณที่ชื่อ แคว้นอาวะ หมู่บ้านคัตสึยามะและหมู่บ้านโฮตะได้ก่อตั้งขึ้น โดยจัดตั้งเป็นระบบเทศบาลในยุคใหม่เมื่อวันที่ 1 เมษายน 1889 คัตสึยามะได้รับการยกฐานะเป็นเมืองในเดือนมกราคม 1896 และเช่นเดียวกับโฮตะในเดือนมกราคม 1897 เมืองเคียวนังเกิดจากการรวมกันของเมืองคัตสึยามะและเมืองโฮตะเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 1959 เนื่องด้วยการก่อตั้งนครมินามิโบโซในปี 2006 ทำให้เหลือเมืองเคียวนังเพียงเมืองเดียวที่ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของอำเภออาวะ

การปกครอง[แก้]

เคียวนังมีการปกครองรูปแบบสภา–นายกเทศมนตรี โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภาประเภทสภาเดี่ยวที่มีสมาชิกจำนวน 12 คน เมืองเคียวนัง รวมทั้งนครมินามิโบโซ ประกอบกันเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดชิบะจำนวน 1 คน ในแง่ของการเมืองระดับชาติ เมืองนี้เป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 12 ของจังหวัดชิบะในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรแห่งรัฐสภาญี่ปุ่น

เศรษฐกิจ[แก้]

เคียวนังมีบทบาทเป็นศูนย์กลางการค้าในพื้นที่โดยรอบของจังหวัดชิบะทางตะวันตกเฉียงใต้และตอนกลาง อุตสาหกรรมหลักคือการประมงเชิงพาณิชย์และการเกษตร (ข้าวและดอกไม้) พื้นที่บนเขาซางะถูกใช้ในการเพาะปลูกดอกนาร์ซิสซัสมาตั้งแต่ยุคเอโดะปี 1603-1868 เป็นอย่างน้อย และเคียวนังยังคงเป็นหนึ่งในผู้ผลิตดอกไม้รายใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น[4] อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบของเศรษฐกิจในท้องถิ่นที่กำลังเติบโตขึ้น

การศึกษา[แก้]

เคียวนังมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลเมือง ได้แก่ โรงเรียนประถม 1 แห่ง โรงเรียนมัธยมต้น 1 แห่ง เมืองนี้ไม่มีโรงเรียนมัธยมปลาย อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการการศึกษาจังหวัดชิบะได้เปิดดำเนินการโรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับผู้พิการ 1 แห่ง

การขนส่ง[แก้]

รถไฟ[แก้]

ทางหลวง[แก้]

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

  • ฮิชิกาวะ โมโรโนบุ (1618-1694) ศิลปินวาดภาพอูกิโยะเอะในยุคเอโดะ เกิดในหมู่บ้านโฮโดมูระซึ่งในปัจจุบันคือเมืองเคียวนัง ครอบครัวฮิชิกาวะได้ฝึกฝนการย้อมสีและงานเย็บปักด้ายสีทองและสีเงินในบริเวณนี้ อนุสรณ์สถานฮิชิกาวะ โมโรโนบุ สร้างขึ้นในเมืองเคียวนังเพื่อเป็นการรำลึกถึงชีวิตและผลงานของเขา[5]

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

พระใหญ่วัดนิฮนจิ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Kyonan town official statistics" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan.
  2. Kyonan climate data
  3. Kyonan population statistics
  4. 嵯峨山(ในภาษาญี่ปุ่น)
  5. 菱川師宣記念館 เก็บถาวร 2012-01-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน(ในภาษาญี่ปุ่น)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]