ข้ามไปเนื้อหา

เคาะศ็อบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เคาะศ็อบ

خصب
เมือง
จัตุรัสใจกลางเมืองเคาะศ็อบ
จัตุรัสใจกลางเมืองเคาะศ็อบ
แผนที่
เคาะศ็อบตั้งอยู่ในโอมาน
เคาะศ็อบ
เคาะศ็อบ
ที่ตั้งของเคาะศ็อบในประเทศโอมาน
เคาะศ็อบตั้งอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย
เคาะศ็อบ
เคาะศ็อบ
ที่ตั้งของเคาะศ็อบในอ่าวเปอร์เซีย
พิกัด: 26°11′N 56°15′E / 26.183°N 56.250°E / 26.183; 56.250
ประเทศธงของประเทศโอมาน โอมาน
เขตผู้ว่าราชการมุซันดัม
ประชากร
 (2003)
 • ทั้งหมด17,730 คน
เขตเวลาUTC+4 (GST)

เคาะศ็อบ (อาหรับ: خَصَب, อักษรโรมัน: Ḫaṣab; อังกฤษ: Khasab) เป็นเมืองหลวงของเขตผู้ว่าราชการมุซันดัมซึ่งเป็นดินแดนส่วนแยกของประเทศโอมานติดต่อกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เคาะศ็อบตั้งอยู่ที่ปลายคาบสมุทรมุซันดัมใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ เคาะศ็อบได้รับฉายาว่าเป็น "นอร์เวย์แห่งอาระเบีย" เนื่องจากมีชายฝั่งลึกเว้าที่คล้ายกับฟยอร์ด[1][2][3][4]

ตัวเมืองเคาะศ็อบถูกล้อมรอบโดยรุอูซุลญิบาลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหัจญัรตะวันตก[5] ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวโอมานจากแผ่นดินใหญ่ และมักจะมีนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เนื่องจากสามารถเดินทางเข้าถึงได้ทางถนน นอกจากนี้ยังมีแพขนานยนต์ให้บริการโดยรัฐบาลโอมานด้วย[6]

ประวัติศาสตร์

[แก้]
พื้นที่อาณานิคมของจักรวรรดิโปรตุเกสในอ่าวเปอร์เซียระหว่างศตวรรษที่ 16 และ 17 (สีม่วง) แสดงเมืองหลัก เมืองท่า และเส้นทางเดินทาง

จักรวรรดิโปรตุเกสสร้างเมืองเคาะศ็อบในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นช่วงที่อิทธิพลของโปรตุเกสในบริเวณอ่าวเปอร์เซียเจริญถึงขีดสุด อ่าวธรรมชาติป้องกันภัยจากคลื่นลมได้ดี เมืองนี้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นแหล่งจ่ายน้ำและอินทผลัมสำหรับเป็นเสบียงให้เรือของโปรตุเกสที่เดินทางผ่านช่องแคบฮอร์มุซ ในปัจจุบันเคาะศ็อบมีเขื่อนขนาดใหญ่สามเขื่อนเพื่อป้องกันน้ำท่วม[7]

เศรษฐกิจ

[แก้]
ปราสาทเคาะศ็อบ

แต่เดิมเคาะศ็อบไม่สามารถเข้าถึงได้ทางถนน จนกระทั่งมีการก่อสร้างถนนเชื่อมไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งทำให้ชาวเอมิเรตส์เดินทางมาท่องเที่ยวในเคาะศ็อบเป็นจำนวนมาก ถนนสายเดียวกันนี้ยังเชื่อมต่อกับหมู่บ้าน Tawi ซึ่งมีภาพวาดก่อนประวัติศาสตร์รูปเรือ สัตว์ และนักรบบนหน้าผาหินด้วย[7] เคาะศ็อบยังมีย่านการค้าสมัยใหม่มากมาย ซึ่งนำเข้าสินค้าจากประเทศอิหร่านและจำหน่ายเครื่องปั้นดินเผาท้องถิ่น และยังมีโรงแรมสำคัญหลายแห่ง[1]

เคาะศ็อบยังเป็นแหล่งการค้าของเถื่อนที่สำคัญเนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับชายฝั่งประเทศอิหร่านที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านส่งแกะและแพะเข้ามาทางท่าเรือเคาะศ็อบก่อนจะนำขึ้นรถบรรทุกส่งไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และซาอุดีอาระเบีย และในเที่ยวกลับรถบรรทุกดังกล่าวจะนำสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และบุหรี่จากสหรัฐกลับมาขึ้นเรือเดินทางกลับไปยังอิหร่าน เรือสินค้าจะมาถึงท่าเรือเคาะศ็อบหลังดวงอาทิตย์ขึ้นและออกจากท่าเรือก่อนดวงอาทิตย์ตกตามกฎหมายของโอมาน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการค้าขายดังกล่าวผิดกฎหมายอิหร่าน ทำให้คนขับเรือข้ามช่องแคบต้องระวังหน่วยยามฝั่งของอิหร่าน เรือขนสินค้าข้ามช่องแคบยังมีความเสี่ยงอีกเนื่องจากเรือเหล่านี้บรรทุกสินค้าจนเพียบและต้องหลบหลีกเรือบรรทุกน้ำมันและเรือสินค้าลำอื่น ๆ ที่เดินทางผ่านช่องแคบฮอร์มุซด้วย[7] การที่สหรัฐใช้นโยบายคว่ำบาตรกับอิหร่านทำให้การลักลอบขนส่งสินค้าผ่านทางเคาะศ็อบมีปริมาณสูงขึ้น[8]

ภูมิอากาศ

[แก้]

ตามหลักการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน เคาะศ็อบจัดอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (BWh) ซึ่งฤดูร้อนจะอากาศร้อนและชื้นในขณะที่ฤดูหนาวจะมีอากาศเย็น มีฝนตกน้อยและมักตกระหว่างเดือนธันวาคมและเดือนมีนาคม

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 2011 สถิติอุณหภูมิกลางวันที่สูงที่สุดเท่าที่วัดได้ถูกบันทึกที่ท่าอากาศยานเคาะศ็อบ โดยวัดได้ 41.2 °C ก่อนที่หุบเขามรณะในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐจะทำลายสถิติเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 (วัดได้ 41.7 °C)[9] ต่อมาเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2017 สถิติอุณหภูมิกลางคืนที่สูงที่สุดถูกบันทึกที่เคาะศ็อบโดยวัดได้ 44.2 °C[10]

ข้อมูลภูมิอากาศของเคาะศ็อบ
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 30.8
(87.4)
32.0
(89.6)
37.5
(99.5)
43.0
(109.4)
46.2
(115.2)
49.0
(120.2)
47.7
(117.9)
47.5
(117.5)
44.0
(111.2)
41.4
(106.5)
36.0
(96.8)
31.0
(87.8)
49
(120.2)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 24.4
(75.9)
24.9
(76.8)
28.0
(82.4)
33.5
(92.3)
37.8
(100)
39.2
(102.6)
39.8
(103.6)
38.6
(101.5)
37.2
(99)
34.5
(94.1)
30.2
(86.4)
25.9
(78.6)
32.83
(91.1)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 20.2
(68.4)
20.8
(69.4)
23.8
(74.8)
28.7
(83.7)
32.8
(91)
34.4
(93.9)
35.3
(95.5)
34.7
(94.5)
33.1
(91.6)
30.1
(86.2)
25.7
(78.3)
21.7
(71.1)
28.44
(83.2)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 15.6
(60.1)
16.2
(61.2)
19.4
(66.9)
23.9
(75)
27.9
(82.2)
30.0
(86)
31.3
(88.3)
31.1
(88)
29.3
(84.7)
25.5
(77.9)
20.9
(69.6)
17.3
(63.1)
24.03
(75.26)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 10.5
(50.9)
10.0
(50)
10.0
(50)
15.5
(59.9)
21.5
(70.7)
25.0
(77)
23.8
(74.8)
27.0
(80.6)
22.0
(71.6)
16.0
(60.8)
12.0
(53.6)
8.4
(47.1)
8.4
(47.1)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 44.8
(1.764)
49.1
(1.933)
46.3
(1.823)
8.8
(0.346)
1.9
(0.075)
0.0
(0)
0.8
(0.031)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.0
(0)
2.9
(0.114)
32.1
(1.264)
186.7
(7.35)
ความชื้นร้อยละ 63 66 62 53 60 63 66 70 69 63 61 62 63.2
แหล่งที่มา: NOAA (1961-1990) [11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Karim, Rose Yasmin (February 21, 2009), "Fjords & flippers", The Star, สืบค้นเมื่อ November 11, 2009
  2. Khasab, Oman Air, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-31, สืบค้นเมื่อ November 11, 2009
  3. Musandam is a glimpse of the real Arabia, Travel Weekly, September 28, 2006, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-25, สืบค้นเมื่อ November 11, 2009
  4. A Mountain Of Thirst, Outlook, February 2, 2004, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-21, สืบค้นเมื่อ November 11, 2009
  5. Lancaster, Fidelity; Lancaster, William (2011). Honour is in Contentment: Life Before Oil in Ras Al-Khaimah (UAE) and Some Neighbouring Regions. Berlin, New York: Walter de Gruyter. pp. 3–598. ISBN 978-3-1102-2339-2.
  6. "Fleet". National Ferries Company. สืบค้นเมื่อ 11 July 2019.
  7. 7.0 7.1 7.2 Wells, Rhona (February 1, 2004), The Norway of Arabia, The Middle East, สืบค้นเมื่อ November 11, 2009
  8. Al Shaibany, Saleb (November 1, 2009). "US sanctions help Omani fishermen survive as smugglers". The National. สืบค้นเมื่อ November 11, 2009.
  9. June 2011 Global Weather Extremes Summary, Weather Underground, September 8, 2011, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-01, สืบค้นเมื่อ September 8, 2011
  10. Masters, Jeff (22 June 2017). "A World Record Low Humidity? 116°F With a 0.36% Humidity in Iran". Weather Underground. สืบค้นเมื่อ 29 June 2017.
  11. "Khasab Climate Normals 1961-1990". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ January 15, 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]