เขาเซอเมรู
เขาเซอเมรู | |
---|---|
จุดสูงสุด | |
ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล | 3,676 เมตร (12,060 ฟุต) [1] |
รายชื่อ | จุดสูงสุดของเกาะ อันดับที่ 12 อัลตรา รีบู |
พิกัด | 08°06′28″S 112°55′19″E / 8.10778°S 112.92194°E |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
ข้อมูลทางธรณีวิทยา | |
ประเภทภูเขา | กรวยภูเขาไฟสลับชั้น |
แนวโค้ง/เข็มขัดภูเขาไฟ | วงแหวนไฟ/Sunda Arc |
การปะทุครั้งล่าสุด | 4 ธันวาคม ค.ศ. 2022 (ยังครุกครุ่นอยู่) [2] |
การพิชิต | |
พิชิตครั้งแรก | ไม่ทราบ |
เส้นทางง่ายสุด | ปีน |
เขาเซอเมรู (อินโดนีเซีย: Gunung Semeru; ชวา: ꦒꦸꦤꦸꦁꦱꦼꦩꦺꦫꦸ (อักษรเปโกน: ڮنڠ سمَيرو, อักษรโรมัน: Gunung Semeru)X เป็นภูเขาไฟที่มีพลังในจังหวัดชวาตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย ถือเป็นภูเขาที่สูงสุดในเกาะชวา ตั้งอยู่ในเขตที่แผ่นอินเดีย-ออสเตรเลียมุดตัวลงในแผ่นยูเรเชีย[3] ชื่อ "เซอเมรู" มาจากคำว่าเขาพระสุเมรุ ภูเขาใจกลางโลกในศาสนาฮินดูและพุทธ กรวยภูเขาไฟสลับชั้นนี้มีอีกชื่อว่า มหาเมรุ หมายถึง "ภูเขาไฟที่ยิ่งใหญ่" ในภาษาสันสกฤต[4][1]
ธรณีวิทยา
[แก้]ภูเขาไฟเซอเมรูเป็นภูเขาที่สูงและชันมากเหนือที่ราบชายฝั่งตะวันออกของเกาะชวา Maar ประกอบด้วยทะเลสาบปล่องภูเขาไฟเป็นเส้นตรงไปจนถึงยอดของภูเขาไฟ ภูเขาไฟลูกนี้ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของแอ่งยุบปากปล่องอาเจ็ก-อาเจ็กและจัมบากัน ซึ่งทับกันอยู่[5]
ประวัติศาสตร์การปะทุ
[แก้]มีการปะทุของภูเขาไฟเซอเมรูอยู่จำนวนหลายครั้ง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1818 ได้มีการบันทึกการปะทุอย่างน้อย 55 ครั้ง (ซึ่งทำให้เสียชีวิตทั้งหมด 10 ครั้ง) ซึ่งประกอบด้วยทั้งการไหลของลาวาและการไหลของไพโรคลาสติกการปะทุในประวัติศาสตร์ทั้งหมดมีค่าดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟเท่ากับ 2 หรือ 3[6] ภูเขาไฟเซอเมรูอยู่ในสถานะของการปะทุใกล้คงที่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967 ถึงปัจจุบัน[7]
มีนักท่องเที่ยวปีนเขาเซอเมรูอยู่เสมอ โดยมักจะเริ่มจากหมู่บ้านรานูปาเนไปทางทิศเหนือ[ต้องการอ้างอิง] ถึงแม้ว่าทางวิชาการจะสามารถเกิดอันตรายได้ ซู ฮก กี นักกิจกรรมทางการเมืองชาวอินโดนีเซียในคริสต์ทศวรรษ 1960 เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1969 จากการสูดดมก๊าซพิษขณะปีนขึ้นภูเขาไฟเซอเมรู[8]
การปะทุใน ค.ศ. 2021
[แก้]ปรัมปราวิทยา
[แก้]เขาเซอเมรูตั้งชื่อตามเขาพระสุเมรุ ภูเขาตรงกลางโลกในศาสนาฮินดู ตามตำนานระบุว่า ภูเขาลูกนี้ย้ายมาจากอินเดียเพื่อสร้างเกาะชวา ส่วนเรื่องราวในตันตูปาเงอลารัน ผลงานชวาตะวันออกในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ระบุว่า เดิมทีเขาเซอเมรูตั้งอยู่ทางตะวันตกของเกาะ แต่ภูเขานี้ทำให้เกาะหงาย ดังนั้น บรรดาเทพเจ้าจึงเคลื่อนย้ายภูเขาไปทางตะวันออก โดยระหว่างทางส่วนของภูเขาไฟไหลลงจากขอบล่าง ก่อให้เกิดภูเขาลาวู, วีลิซ, เกอลุด, กาวี, อาร์จูโนกับเวอลีรัง ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตีนเขาทำให้เขาเซอเมรูสั่นสะเทือน และยอดเขาก็หลุดออกและก่อให้เกิดเปอนังกูงันเช่นกัน[9] ชาวฮินดูในอินโดนีเซียมีความเชื่อว่าภูเขานี้เป็นที่ประทับของพระศิวะในเกาะชวา[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Global Volcanism Program | Semeru". Smithsonian Institution | Global Volcanism Program (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-29.
- ↑ Associated Press (4 December 2022). "Residents are evacuating as Mount Semeru, Indonesia's highest volcano, has erupted". สืบค้นเมื่อ 4 December 2022.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Mount Semeru".
- ↑ "Indonesia: Death toll rises to 14 after eruption of Semeru volcano". TheGuardian.com. 5 December 2021.
- ↑ "Semeru: Summary". Global Volcanism Program. Smithsonian Institution.
- ↑ "Semeru: Eruptive History". Global Volcanism Program. Smithsonian Institution.
- ↑ "Volcano erupts in Indonesia". www.abc.net.au (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2009-03-06. สืบค้นเมื่อ 2020-11-06.
- ↑ "Birth of Soe Hok Gie". Viva News. December 17, 2008.
- ↑ Soekmono (1973). Pengantar Sejarah Kebudayaan Indonesia 2. Yogyakarta, Indonesia: Penerbit Kanisius. p. 119. ISBN 979-413-290-X.
- ↑ Larasati, Ayu Utami (6 December 2021). "Legenda Gunung Semeru yang Melekat di Masyarakat". Tagar.id (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 25 May 2022.
ข้อมูลทั่วไป
[แก้]- "Semeru". Global Volcanism Program. Smithsonian Institution.
- Holt, Claire. Art in Indonesia: Continuities and Change. Ithaca: Cornell University Press, 1967. Page 36 explains the mythological aspect of the mountain.