กรวยภูเขาไฟสลับชั้น
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
กรวยภูเขาไฟสลับชั้น หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ภูเขาไฟชนิดประกอบ[1] ความสูงของภูเขาไฟทรงกรวยก่อขึ้นโดยชั้นหินซึ่งเกิดจากการแข็งตัวของหินหลอมเหลวหลายชั้น, เทพรา, หินภูเขาไฟ และเถ้าภูเขาไฟ สิ่งที่ทำให้กรวยภูเขาไฟสลับชั้นแตกต่างจากภูเขาไฟรูปโล่คือ กรวยภูเขาไฟสลับชั้นถูกจำแนกโดยลักษณะที่สูงชัน และรอบของการปะทุที่จะสลับไปมาระหว่างการปะทุแบบระเบิดรุนแรงและการปะทุแบบต่อเนื่อง ถึงแม้กรวยภูเขาไฟสลับชั้นบางลูกจะมีแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาดที่เกิดจากการถล่มลงมาของปากปล่องภูเขาไฟก็ตาม หินหลอมเหลวที่ไหลจากกรวยภูเขาไฟสลับชั้นมักจะเย็นตัวลงและแข็งตัวก่อนที่จะแพร่กระจายไปไกลเนื่องจากมีความหนืดสูง หินหนืดที่เป็นส่วนประกอบของหินที่หลอมเหลวนี้ส่วนมากมักจะก่อตัวเป็นหินเฟลสิก ซึ่งมีส่วนประกอบของธาตุซิลิก้าในปริมาณกลางถึงสูง (เช่นเดียวกับในหิน ไรโอไลต, ดาไซต์ หรือแอนเดไซต์) และมีหินเมฟิกที่มีความหนืดต่ำน้อยกว่า การไหลของหินหนืดประเภทหินเฟลสิกที่ครอบคลุมระยะทางไกลนั้นเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก การครอบคลุมระยะทางไกลที่สุดคือ 15 กม. หรือ 9.3 ไมล์