เขาคากาโบราซี
คากาโบราซี | |
---|---|
พม่า: ခါကာဘိုရာဇီ | |
ภาพแพนโครมาติก จากดาวเทียมแลนด์แซต 8 (29 กันยายน ค.ศ. 2015) | |
จุดสูงสุด | |
ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล | 5,881 เมตร (19,295 ฟุต) [1] |
รายชื่อ | จุดสูงสุดของประเทศ |
พิกัด | 28°19′42″N 97°32′08″E / 28.32833°N 97.53556°E |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | |
เทือกเขา | หิมาลัย |
การพิชิต | |
พิชิตครั้งแรก | 15 กันยายน ค.ศ. 1996[1] |
เส้นทางง่ายสุด | ปีนเขา (หิมะ/น้ำแข็ง) |
คากาโบราซี (พม่า: ခါကာဘိုရာဇီ; อังกฤษ: Hkakabo Razi; จีนตัวย่อ: 开加博峰; จีนตัวเต็ม: 開加博峰; พินอิน: Kāijiābó Fēng) มีความสูง 5,881 เมตร (19,295 ฟุต) เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากระดับน้ำทะเล ตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือของประเทศพม่า ในเมืองปูดาโอ รัฐกะชีน เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัยทางด้านตะวันออก ติดกับพรมแดนประเทศจีน สถานะยอดเขาที่สูงที่สุดในภูมิภาคกำลังได้รับการท้าทายจากการสำรวจเขากานลานราซี (Gamlang Razi) ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งมีความสูง 5,870 เมตร อาจมีขนาดสูงกว่าเขาคากาโบราซี[2][3]
นิรุกติศาสตร์
[แก้]คากาโบราซี มีรากศัพท์มาจากกลุ่มภาษาทิเบต โดย คา (ཁ) แปลว่า หิมะ, กาโบ (དཀར་པོ།) แปลว่า สีขาว และ Kàgvbù rvzì เป็นคำของชาวเรอหวั่ง ในรัฐกะชีน โดย kàgvp แปลว่า การพูดคุย, rvzì แปลว่า ภูเขา[4] คำประสมจึงมีความหมายว่า "ภูเขาที่ส่งเสียง"
ภูมิศาสตร์
[แก้]เขาคากาโบราซีเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติคากาโบราซี อุทยานมีลักษณะสภาพเป็นภูเขาและป่าฝนเขตร้อนเขียวชอุ่มตลอดทั้งปี และมีความหนาแน่นที่ระดับความสูง 8,000 ถึง 9,000 ฟุต (2,400–2,700 เมตร) มีอาณาเขตเป็นบริเวณกว้าง ถัดมาจึงเป็นป่าไม้กึ่งประเภทผลัดใบ สูงสุดของเขตป่าคือบนพื้นที่สูงกว่า 11,000 ฟุต (3,400 เมตร) เป็นบริเวณที่มีหิมะตก จึงทำให้เชิงเทือกเขาภายในอุทยานมีชนิดของป่าและชีวภาพที่หลากหลาย สูงขึ้นไปประมาณ 15,000 ฟุต (4,600 เมตร) เป็นภูมิประเทศหนาวเย็นแห้งแล้งมีลมแรง มีหิมะและธารน้ำแข็งแบบถาวร ที่ความสูงประมาณ 17,500 ฟุต (5,300 เมตร) มีช่องธารน้ำแข็งขนาดใหญ่หลายแห่ง[5][6]
เขาคากาโบราซีมีสภาพเป็นหิมะและน้ำแข็งหนาวเย็นตลอดทั้งปี ทำให้มีทัศนียภาพสวยงาม แปลกตาไปจากยอดเขาหรือเทือกเขาอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่กลับแลดูคล้ายยอดเขาในทวีปยุโรป เมื่อถึงฤดูร้อนน้ำแข็งและหิมะจะละลายทำให้เกิดเป็นทะเลสาบบนภูเขาและธารน้ำแข็งจำนวนมาก อีกทั้งยังมีความหลากหลายทางชีวภาพแตกต่างไปจากยอดเขาหรือเทือกเขาอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน จึงทำให้เป็นที่นิยมของนักวิทยาศาสตร์ที่เข้ามาศึกษาเกี่ยวกับพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่นี่ และยังเป็นสถานที่ยอดนิยมสำหรับการปีนเขา โดยเขาคากาโบราซีได้ถูกปีนพิชิตเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1996 โดยนักปีนเขาชาวญี่ปุ่นและชาวพม่า[1] โดยใช้เวลาประมาณ 30 วัน[7][8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Tamotsu Nakamura (2015). "Veiled Mountains in North Myanmar" (PDF). Japanese Alpine News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 ธันวาคม 2017.
- ↑ Kayleigh Long (19 กันยายน 2013). "Gamlang Razi expedition reaches summit". The Myanmar Times.
Trevor Brown (29 มกราคม 2014). "Gamlang Razi – Setting the Elevation Straight". Get Rugged. - ↑ Kelley McMillan (16 มกราคม 2015). "On Myanmar's Mystery Peak, Drama and a Challenge Like No Other". National Geographic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มกราคม 2015.
- ↑ Nanyang Technological University (2016). "Rawang Dictionary". Webonary.org. SIL International.
- ↑ "Khakaborazi National Park". protectedplanet.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มีนาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2018.
- ↑ "Khakaborazi national park (Kachin state - northern Myanmar)". Asterism Travels & Tours.
- ↑ ข่าวฟ้ายามเย็น 08 10 57 เบรก4. ฟ้าวันใหม่. 8 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2014.
- ↑ Klieger, P. Christiaan (2006). "A Tale of the Tibeto-Burman 'Pygmies'". ใน P. Christiaan Klieger (บ.ก.). Proceedings of the Tenth Seminar of the IATS, 2003. Volume 2. Tibetan Borderlands. Leiden: Brill Academic Press. ISBN 978-90-04-15482-7.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Ministry of Ecotourism, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ตุลาคม 2002
- "Site with photographs", MYITKYINA, Goldenlandpages, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-03-14, สืบค้นเมื่อ 2018-02-27
- Mt. Hkarkaborazi (Highest Mountain Peak in SE Asia) Part-1, 28 กันยายน 2010