เกาลูน
เกาลูน 九龍 | |
---|---|
เกาลูนมองจากเกาะฮ่องกง | |
ที่ตั้งในฮ่องกง (สีเขียว) | |
พื้นที่ | |
• พื้นดิน | 67 ตร.กม. (26 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2011) | |
• ทั้งหมด | 2,108,419 คน |
• ความหนาแน่น | 43,033 คน/ตร.กม. (111,450 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+8 (เวลาฮ่องกง) |
เกาลูน | |||||||||||||||||||||
"เกาลูน" ในอักษรจีนตัวเต็ม (บน) และตัวย่อ (ล่าง) | |||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 九龍 | ||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 九龙 | ||||||||||||||||||||
ยฺหวิดเพ็ง | Gau2-lung4 | ||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | "เก้ามังกร" | ||||||||||||||||||||
|
เกาลูน (อักษรโรมัน: Kowloon; จีน: 九龍; แปลตรงตัว: "เก้ามังกร") เป็นพื้นที่ในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบด้วยคาบสมุทรเกาลูนและนิวเกาลูน ใน ค.ศ. 2006 พื้นที่นี้มีประชากร 2,019,533 คน และความหนาแน่นประชากรที่ 43,033/km2 (111,450/sq mi) เมื่อเทียบกับเกาะฮ่องกงและพื้นที่อื่นในนิวเทร์ริทอรีส์ เกาลูนเป็นพื้นที่ที่มีประชากรมากที่สุดในฮ่องกง คาบสมุทรนี้มีพื้นที่ประมาณ 47 ตารางกิโลเมตร (18 ตารางไมล์)
ชื่อ
[แก้]ชื่อเกาลูนแปลว่า "มังกรเก้าตัว" (九 เก้า 龍 มังกร) ซึ่งมีที่มาจากยอดสูง 8 ยอดที่อยู่ในบริเวณนี้และจักรพรรดิจีน 1 พระองค์ คือ: ยอดเขาเกาลูน, Tung Shan, Tate's Cairn, Temple Hill, Unicorn Ridge, Lion Rock, Beacon Hill, Crow's Nest และจ้าว ปิ่ง[1] ข้อมูลในคริสต์ศตวรรษที่ 19 บางส่วนสะกดชื่อเมืองในอักษรโรมันเป็น 'Kawloong'[2]
ประวัติศาสตร์
[แก้]เกาลูนตกเป็นของอังกฤษเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2403 ตามสนธิสัญญาปักกิ่งที่จักรพรรดิเสียนเฟิงจำต้องลงนามเพื่อยุติสงครามกับอังกฤษ นับเป็นดินแดนส่วนที่ 2 ที่จีนต้องเสียให้แก่อังกฤษในสงครามฝิ่น
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เขตการปกครอง
[แก้]เกาลูนเป็นที่ตั้งของเขตการปกครองของฮ่องกง 5 เขตด้วยกัน
- เก๋าหล่งเส่ง (九龍城, Kowloon city)
- กุ๊นถ่อง (觀塘, Kwun Tong)
- ซั้มโสยโป่ว (深水埗, Sham Shui Po)
- หว่องต่ายซิ้น (黃大仙, Wong Tai Sin)
- เหย่าจิ๊มหว่อง (油尖旺, Yau Tsim Mong)
ประชากร
[แก้]ข้อมูลเมื่อ 2011[update] มีประชากรที่อาศัยอยู่ในเกาลูน 2,108,419 คน[3] ประมาณ 86% ของพลเมืองใช้ภาษากวางตุ้งเป็นภาษาหลัก ส่วน 2.3% ใช้ภาษาอังกฤษ และ 1.2% ใช้ภาษาจีนกลาง[3]
สถานที่สำคัญ
[แก้]- จิ๊มซ้าโจ๋ย ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานสำคัญหลายแห่ง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Fallon, Steve. (2006) Hong Kong and Macau. Lonely Planet Publishing. ISBN 981-258-246-0
- ↑ "KAWLOONG FERRY STATION: Hong Kong postcard (C48147)". eBay. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-12. สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
- ↑ 3.0 3.1 District Profiles, Hong Kong Census, 2011, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กันยายน 2013, สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2013
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Kowloon
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Kowloon West