ข้ามไปเนื้อหา

เกออร์ค วิลเฮ็ล์ม ฟรีดริช เฮเกิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกออร์ค วิลเฮ็ล์ม ฟรีดริช เฮเกิล
เกิด27 สิงหาคม ค.ศ. 1770(1770-08-27)
ชตุทท์การ์ท เวือร์ทเทิมแบร์ค
เสียชีวิต14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1831(1831-11-14) (61 ปี)
เบอร์ลิน  ปรัสเซีย
สัญชาติเยอรมัน
ยุคปรัชญาคริสต์ศตวรรษที่ 19
แนวทางปรัชญาตะวันตก
สำนักจิตนิยมเยอรมัน
ปรัชญาเฮเกเลียน (Hegelianism)
ประวัติศาสตร์นิยม (historicism)
ความสนใจหลัก
ตรรกศาสตร์ · จริยศาสตร์ · ศาสนา
ปรัชญาประวัติศาสตร์
อภิปรัชญา · ญาณวิทยา
ปรัชญาการเมือง
แนวคิดเด่น
จิตนิยมสัมบูรณ์ · วิภาษวิธี
วิภาษวิธีของนายกับทาส · Sublation
ถิ่นพำนักเยอรมนี
ลายมือชื่อ

เกออร์ค วิลเฮ็ล์ม ฟรีดริช เฮเกิล (เยอรมัน: Georg Wilhelm Friedrich Hegel, ออกเสียง: [ˈɡeɔɐ̯k ˈvɪlhɛlm ˈfʁiːdʁɪç ˈheːɡəl]; 27 สิงหาคม ค.ศ. 1770 – 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1831) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมันสำนักคิดจิตนิยม (idealism) ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญของสำนักคิดจิตนิยมเยอรมัน แนวคิดของเฮเกิลเป็นแนวคิดพื้นฐานของปรัชญาตะวันตกและการขยายขอบเขตการศึกษาปรัชญาร่วมสมัยทั้งในด้านสุนทรียศาสตร์ ภววิทยา และ การเมืองการปกครอง

ผลงานสำคัญของเฮเกิลคือการพัฒนาแนวคิดจิตนิยม [บ้างเรียกว่าจิตนิยมสัมบูรณ์ (absolute idealism)] ปรัชญาเรื่องจิตของเฮเกิลส่งอิทธิพลต่อกรอบความคิดในเรื่องจิตวิทยา รัฐ ประวัติศาสตร์ ศิลปะ ศาสนา และปรัชญา ผลงานเรื่องวิภาษวิธีของนายกับทาส (master–slave dialectic) ของเขามีความสำคัญอย่างมากต่อความคิดของปัญญาชนฝรั่งเศสในคริสต์ศตววรษที่ 20 ใจความสำคัญของปรัชญาแบบเฮเกิลคือความคิดเรื่องจิตหรือจิตวิญญาณ (Geist หรือบางครั้งแทนด้วยคำว่า mind) ในฐานะที่จิตวิญญาณจะแสดงตัวตนออกในรูปของประวัติศาสตร์ ทุกสิ่งดำเนินการไปบนหลักการของวิภาษวิธีหรือหลักคิดที่เชื่อว่าทุกสิ่งมีความขัดแย้งระหว่างบทตั้งต้น (thesis) กับบทแย้ง (antithesis) อันจะนำไปสู่ผลลัพธ์ใหม่หรือบทสรุป (synthesis)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]